วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเลือกตั้งนายกเทศมนตรี

การเลือกตั้งนายกเทศมนตรี: มิติใหม่เทศบาล
          การแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ.๒๕๔๖ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ฉบับกฤษฏีกา เล่มที่ ๑๒๐ ตอนที่ ๑๒๔ ก  วันที่ ๒๒  ธันวาคม  พ.ศ.๒๕๔๖ มีผลบังคับโดยตรง         เช่นเดียวกับเทศบาลเมืองและเทศบาลนครที่จัดให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ตั้งแต่          พ.ศ.๒๕๔๓  ตาม พ.ร.บ. เทศบาล (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๔๓ แล้ว

โครงสร้างองค์ประกอบของเทศบาล

          เทศบาล ประกอบด้วย สภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี ซึ่งต่างฝ่ายต่างมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
โครงสร้างเทศบาล[๑]







โครงสร้างเทศบาล ตาม พ.ร.บ. เทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ.๒๕๔๖[๒]
นายกเทศมนตรี
มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้ง
บุคคลประกอบด้วย
สภาเทศบาล
สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
-    เทศบาล         มีสมาชิกสภา  ๒๔  คน
-    เทศบาลเมือง    มีสมาชิกสภา  ๑๘  คน
-    เทศบาลตำบล   มีสมาชิกสภา  ๑๒  คน
ประธานสภาเทศบาล ๑ คน
รองประธานสภาเทศบาล ๑ คน
๑.   รองนายกเทศมนตรี
-        เทศบาลนคร แต่งตั้งรองนายกได้   ๔  คน
-        เทศบาลเมือง  แต่งตั้งรองนายกได้   ๓  คน
-        เทศบาลตำบล แต่งตั้งรองนายกได้   ๒  คน
๒.   ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานายกเทศมนตรี
-        เทศบาลนคร แต่งตั้งรวมกันได้      ๕  คน
-        เทศบาลเมือง  แต่งตั้งรวมกันได้      ๓  คน
-        เทศบาลตำบล แต่งตั้งรวมกันได้      ๒  คน
พนักงานและลูกจ้างเทศบาล
ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลเป็นผู้เลือกตั้งทั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีโดยตรงโดยบัตรเลือกตั้งมี ๒ ใบ  ใบหนึ่งเลือกนายกเทศมนตรีได้ ๑ เบอร์
และอีกใบหนึ่งเลือกสมาชิกสภาเทศบาลได้ ๖ เบอร์
 

 นายกเทศมนตรี
๑.      ที่มาของนายกเทศมนตรี นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาล มีวาระ ๔ ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน ๒ วาระไม่ได้ (แม้ดำรงตำแหน่งไม่ครบ ๔ ปี ก็นับเป็น ๑ วาระ) (ในระยะ ๔ ปีแรกหลังประกาศใช้กฎหมายเทศบาล       พ.ศ.๒๕๔๖ คุณสมบัติข้อนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้)
๒.     เขตเลือกตั้ง  เขตเลือกตั้งของนายกเทศมนตรี คือ เขตเทศบาล
๓.     คุณสมบัติของผู้สมัครนายกเทศมนตรี
          ๓.๑ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปีบริบูรณ์ ในวันเลือกตั้ง
          ๓.๒ จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าหรือเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา (ส.ส. หรือ ส.ว.)
          ๓.๓ ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่น คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการ หรือที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญา หรือกิจการที่กระทบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึง ๕ ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
          ๓.๔ มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
          ๓.๕ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๑ ปี นับถึงวันรับสมัครรับเลือกตั้ง หรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นเวลาติดต่อกัน ๓ ปีนับถึงวันรับสมัคร (การเสียภาษีครั้งเดียวเพื่อให้มีผลย้อนหลัง ๓ ปี ไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวนี้)ฅ
๔.     คุณสมบัติต้องห้าไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี
              ๔.๑ ติดยาเสพติดให้โทษ
              ๔.๒ เป็นบุคคลล้มละลาย
              ๔.๓ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
              ๔.๔ เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
              ๔.๕ อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
              ๔.๖ ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
              ๔.๗ ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป และได้พ้นโทษมายังไม่ถึง ๕ ปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
              ๔.๘ ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕ ไม่ว่าจะได้รับโทษหรือไม่ โดยพ้นโทษหรือต้องคำพิพากษายังไม่ถึง ๕ ปี นับถึงวันเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี
              ๔.๙ เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าการกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
              ๔.๑๐ เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
              ๔.๑๑ เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้วแต่กรณี มายังไม่ถึง ๕ ปี นับถึงวันเลือกตั้ง
              ๔.๑๒ อยู่ในระหว่างเสียสิทธิเพราะไม่ไปทำหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำหน่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีสิทธิ หรืออยู่ระหว่างเสียสิทธิตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
              ๔.๑๓ เคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งถูกให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากการกระทำทุจริตหรือประพฤติมิชอบ
              ๔.๑๔ เคยถูกคณะกรรมการเลือกตั้งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมายังไม่ถึง ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการกระทำการโยไม่สุจริตตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ หรือตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
              ๔.๑๕ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่
              ๔.๑๖ เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นอยู่
              ๔.๑๗ เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินประจำ
              ๔.๑๘ เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
              ๔.๑๙ เป็นกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการ ป.ป.ช. กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
              ๔.๒๐ ลักษณะอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด


๕.     ทีมบริหารของนายกเทศมนตรี
๕.๑ รองนายกเทศมนตรี
     ๕.๑.๑ นายกเทศมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีที่ไม่ใช่สมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) เป็นผู้ช่วยในการบริหารราชการของเทศบาล โดย
            เทศบาลตำบล  นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายกฯ ได้ไม่เกิน ๒ คน
            เทศบาลเมือง    นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายกฯ ได้ไม่เกิน ๓ คน
            เทศบาลนคร    นายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายกฯ ได้ไม่เกิน ๔ คน
     ๕.๑.๒ คุณสมบัติของรองนายกเทศมนตรี กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีจะต้องไม่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล และต้องมีคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามเหมือนกับผู้ที่จะสมัครนายกเทศมนตรี
๕.๒ ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรี
      กฎหมายกำหนดให้นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีได้ โดย
                 เทศบาลตำบล  ให้แต่งตั้งรวมกันได้ไม่เกิน ๒ คน
                 เทศบาลเมือง    ให้แต่งตั้งรวมกันได้ไม่เกิน ๓ คน
                 เทศบาลนคร    ให้แต่งตั้งรวมกันได้ไม่เกิน ๔ คน[๓]
๖.     อำนาจหน้าที่นายกเทศมนตรี
     ๖.๑ ก่อนเข้ารับหน้าที่นายกเทศมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลโดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสมาชิกสภาเทศบาลทุกคน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาลเป็นประจำทุกปี
     ๖.๒ มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตร ๔๘ เตรส ดังนี้
          ๖.๒.๑ กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ และนโยบาย
          ๖.๒.๒ สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับข้าราชการของเทศบาล
          ๖.๒.๓ แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
          ๖.๒.๔ วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
          ๖.๒.๕ รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
          ๖.๒.๖ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น
     ๖.๓ ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาล และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาล
     ๖.๔ เป็นผู้เสนอร่างเทศบัญญัติ
     ๖.๕ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาในการปฏิบัติหน้าที่
     ๖.๖ มีสิทธิเข้าประชุมสภาเทศบาล และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
     ๖.๗ ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาเทศบาลให้ทันท่วงทีมิได้ นายกเทศมนตรีอาจออกเทศบัญญัติชั่วคราวได้ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด และเมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลแล้ว ก็ใช้บังคับได้
     ๖.๘ กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภาเทศบาล หรือสภาเทศบาลถูกยุบ หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่วงด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นนานไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายกเทศมนตรีจะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้
     ๖.๙ เมื่อพ้น ๑ ปี นับแต่วันประกาศยกฐานะท้องถิ่นใดเป็นเทศบาลเมืองเทศบาลนครแล้วให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่หรือกฎหมายอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเทศบาลตำบลที่ยังคงมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลหรือสารวัตรกำนันอยู่ ให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับอำนาจหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
๗.     การพ้นจากตำแหน่งของนายกเทศมนตรี
              ๗.๑ ถึงคราวออกตามวาระ
              ๗.๒ ตาย
              ๗.๓ ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
              ๗.๔ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา ๔๘ เบญจ (หัวข้อที่ ๓ ของเรื่องนายกเทศมนตรีนี้)
              ๗.๕ กระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๔๘ จตุทศ คือ
                   ๗.๕.๑ ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เว้นแต่ตำแหน่งที่ดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                   ๗.๕.๒ รับเงินหรือรปะโยชน์ใดๆ เป็นพิเศษจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ นอกเหนือไปจากที่ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติกับบุคคลในธุรกิจการงานตามปกติ
                   ๗.๕.๓ เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลนั้น หรือที่เทศบาลนั้นจะกระทำ
              ๗.๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
              ๗.๗ ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
              ๗.๘ ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลมีจำนวนไม่น้อยกว่า สามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนน เห็นว่านายกเทศมนตรีไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

สภาเทศบาล

          สภาเทศบาล (Kommunfullmäktige) คือ หน่วยงานที่มีอำนาจตัดสินใจสูงที่สุดในเทศบาล.ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เลือกตั้งขึ้นจากประชาชน ทุกๆ ๔ ปี. ประชาชนสามารถขอเข้าร่วมฟังการประชุมสภาเทศบาลได้.
          สภาเทศบาลประกอบด้วย สมาชิกสภาเทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น โดยจำนวนของสมาชิกสภาเทศบาลขึ้นอยู่กับประเภทของเทศบาล คือ
                   เทศบาลตำบล          มีสมาชิกสภาได้ ๑๒ คน
                   เทศบาลเมือง           มีสมาชิกสภาได้ ๑๘ คน
                   เทศบาลเมืองนคร      มีสมาชิกสภาได้ ๒๔ คน[๔]
๑.      เขตเลือกตั้งของสมาชิกสภาเทศบาล
๑.๑ เทศบาลตำบล ให้แบ่งเขตเทศบาลออกเป็นเขตเลือกตั้ง ๒ เขต และมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลได้เขตละ ๖ คน รวม ๑๒ คน
๑.๒ เทศบาลเมือง ให้แบ่งเขตเทศบาลออกเป็นเขตเลือกตั้ง ๓ เขต และมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลได้เขตละ ๖ คน รวม ๑๘ คน
๑.๓ เทศบาลนคร ให้แบ่งเขตเทศบาลออกเป็นเขตเลือกตั้ง ๔ เขต และมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลได้เขตละ ๖ คน รวม ๒๔ คน
๒.     คุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาล
๒.๑ มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
๒.๒ ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการ หรือที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญา หรือกิจการที่กระทำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังไม่ถึง ๕ ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
๒.๓ มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
๒.๔ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๑ ปี นับถึงวันรับสมัครรับเลือกตั้ง หรือได้เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นเวลาติดต่อกัน ๓ ปีนับถึงวันรับสมัคร (การเสียภาษีครั้งเดียวเพื่อให้มีผลย้อนหลัง ๓ ปี ไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวนี้)
๓.     คุณสมบัติต้องห้ามไม่มีสิทธิสมัคร
              ๓.๑ ติดยาเสพติดให้โทษ
              ๓.๒ เป็นบุคคลล้มละลาย
              ๓.๓ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
              ๓.๔ เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
              ๓.๕ อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
              ๓.๖ ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายศาล
              ๓.๗ ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตั้งแต่ ๒ ปีขึ้นไป และได้พ้นโทษมายังไม่ถึง ๕ ปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
              ๓.๘ ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๕ ไม่ว่าจะได้รับโทษหรือไม่ โดยพ้นโทษหรือต้องคำพิพากษายังไม่ถึง ๕ ปี นับถึงวันเลือกตั้ง แล้วแต่กรณี
              ๓.๙ เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่าการกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
              ๓.๑๐ เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ
              ๓.๑๑ เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นแล้วแต่กรณี มายังไม่ถึง ๕ ปี นับถึงวันเลือกตั้ง
               ๓.๑๒ อยู่ในระหว่างเสียสิทธิเพราะไม่ไปทำหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำหน่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีสิทธิ หรืออยู่ระหว่างเสียสิทธิตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา
              ๓.๑๓ เคยถูกคณะกรรมการเลือกตั้งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมายังไม่ถึง ๑ ปี นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเลือกตั้งมีคำสั่งอันเนื่องมาจากการกระทำการโยไม่สุจริตตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๕ หรือตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
              ๓.๑๔ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่
              ๓.๑๕ เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกันหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นอยู่
              ๓.๑๖ เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินประจำ
              ๓.๑๗ เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
              ๓.๑๘ เป็นกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการ ป.ป.ช. กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
              ๓.๑๙ ลักษณะอื่นที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
๔.     อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล
              ๔.๑ เลือกประธานสภาเทศบาล และรองประธานสภาเทศบาล เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งหรือมีมติให้ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง มีมติเลือกเลขานุการสภาเทศบาล
              ๔.๒ เลือกสมาชิกสภาเทศบาล? ตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภาเทศบาล และเลือกตั้งบุคคลผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาล ตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภาเทศบาล
              ๔.๓ รับทราบนโยบายของนายกเทศมนตรี ก่อนนายกเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่และรับทราบรายงานการแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายกเทศมนตรีได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาลเป็นประจำทุกปี
              ๔.๔ อนุมัติวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนา ๓ ปีของเทศบาล
              ๔.๕ ให้ความเห็นชอบการตราข้อบัญญัติท้องถิ่น ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของเทศบาล
              ๔.๖ ในที่ประชุมสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกเทศมนตรี หรือรองนายกเทศมนตรี เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติ
              ๔.๗ ในกรณีกิจการอื่นใด อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของเทศบาล หรือประชาชนในท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ หรือนายกเทศมนตรีสามารถเสนอต่อประธานสภาเทศบาล เพื่อให้มีการออกเสียงประชามติได้ และประกาศให้ประชาชนทราบผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ การออกเสียงประชามตินี้ให้มีผลเป็นเพียงการให้คำปรึกษาแก่สมาชิกสภาเทศบาล หรือนายกเทศมนตรีในเรื่องนั้น
๕.     สมัยประชุมของสภาเทศบาล
              ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาลมาประชุมสภาครั้งแรกภายใน ๑๕ วันนับตั้งแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลครบตามจำนวน และให้มีการเลือกประธานสภา ๑ คน และรองประธานสภา ๑ คน ซึ่งประธานสภาและรองประธานสภานี้จำดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภาเทศบาล
              ในกรณีที่สภาเทศบาลไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ตามกำหนดเวลาคือ ๑๕ วัน ดังกล่าว หรือมีการประชุมแต่ไม่อาจเรียกประธานสภาเทศบาลได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีคำสั่งยุบสภาเทศบาล
              ในปีหนึ่งให้สภาเทศบาลมีสมัยประชุมสามัญ ๔ สมัย สมัยหนึ่งๆ ไม่เกิน ๓๐ วัน แต่อาจขยายเวลาออกได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด วันเริ่มประชุมสมัยสามัญประจำปีให้สภาเทศบาลกำหนด
              นอกจากสมัยประชุมสามัญ เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของเทศบาลประธานสภา หรือนายกเทศมนตรี หรือสมาชิกสภาจำนวนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ อาจทำคำร้องอื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้เปิดประชุมวิสามัญ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรก็ให้เรียกประชุมวิสามัญได้
              สมัยประชุมวิสามัญมีกำหนดไม่เกิน ๑๕ วัน แต่จะขยายออกได้อีกต้องได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด


อำนาจหน้าที่ของเทศบาล

๑.      อำนาจหน้าที่ของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง           ฉบับที่ ๑๒  พ.ศ. ๒๕๔๖
              ๑.๑ มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
                   เทศบาลตำบล
                   ๑.๑.๑  รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
                   ๑.๑.๒ ให้มีและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ
                   ๑.๑.๓ รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
                   ๑.๑.๔  ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
                   ๑.๑.๕  ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
                   ๑.๑.๖  ให้ราษฎรได้รับการศึกษา
                   ๑.๑.๗  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี   เด็ก  เยาวชน  ผู้สูงอายุและผู้พิการ
                   ๑.๑.๘  บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                   ๑.๑.๙  หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
                   เทศบาลเมือง
                   มีหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตำบล และมีหน้าทีเพิ่มอีกดังนี้
                   ๑.๑.๑๐  ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
                   ๑.๑.๑๑  ให้มีโรงฆ่าสัตว์
                   ๑.๑.๑๒  ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
                   ๑.๑.๑๓  ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
                   ๑.๑.๑๔  ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
                   ๑.๑.๑๕  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
                   ๑.๑.๑๖  ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
                   เทศบาลนคร
                   มีหน้าที่เช่นเดียวกันกับเทศบาลเมืองและมีหน้าที่เพิ่มอีกดังนี้
                   ๑.๑.๑๗  ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
                   ๑.๑.๑๘  กิจการอื่นซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
                   ๑.๑.๑๙  การควบคุมสุขลักษณะและอนามัยในร้านจำหน่ายอาหาร  โรงมหรสพและสถานบริการอื่น
                   ๑.๑.๒๐  จัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและการปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม
                   ๑.๑.๒๑  จัดให้มีและควบคุมตลาด  ท่าเทียบเรือ  ท่าข้ามและที่จอดรถ
                   ๑.๑.๒๒  การวางผังเมืองและควบคุมการก่อสร้าง
                   ๑.๑.๒๓  การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว
              ๑.๒ มีหน้าที่อาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
                   เทศบาลตำบล
                   ๑.๒.๑  ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
                   ๑.๒.๒  ให้มีโรงฆ่าสัตว์
                   ๑.๒.๓  ให้มีตลาด  ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
                   ๑.๒.๔  ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
                   ๑.๒.๕  บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
                   ๑.๒.๖  ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
                   ๑.๒.๗  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
                   ๑.๒.๘  ให้มีและบำรุงระบายน้ำ
                   ๑.๒.๙  เทศพาณิชย์   
                   เทศบาลเมือง
                   ๑.๒.๑๐  ให้มีตลาด  ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
                   ๑.๒.๑๑  ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
                   ๑.๒.๑๒  บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
                   ๑.๒.๑๓  ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
                   ๑.๒.๑๔  ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
                   ๑.๒.๑๕  ให้มีสาธารณูปการ
                   ๑.๒.๑๖  จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
                   ๑.๒.๑๗  จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา        
                   ๑.๒.๑๘  ให้และบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
                   ๑.๒.๑๙  ให้และบำรุงสวนสาธารณะ  สวนสัตว์  และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
                   ๑.๒.๒๐  ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมและรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
                   ๑.๒.๒๑  เทศพาณิชย์
                   เทศบาลนคร
                   อาจจัดทำกิจการอื่นๆ เช่นเดียวกับเทศบาลเมือง
๒.     อำนาจหน้าที่ของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒
              ๒.๑ เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
                   ๒.๑.๑  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
                   ๒.๑.๒  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
                   ๒.๑.๓  การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
                   ๒.๑.๔  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ๒.๑.๕การสาธารณูปการ
                   ๒.๑.๖  ส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
                   ๒.๑.๗  การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน๒.๑.๘ส่งเสริมการท่องเที่ยว
                   ๒.๑.๙  การจัดการศึกษา
                   ๒.๑.๑๐  การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
                   ๒.๑.๑๑  การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                   ๒.๑.๑๒  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย                                   ๒.๑.๑๓ การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ      
                   ๒.๑.๑๔  การส่งเสริมกีฬา
                   ๒.๑.๑๕  การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
                   ๒.๑.๑๖  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
                   ๒.๑.๑๗  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
                   ๒.๑.๑๘  การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย๒.๑.๑๙สาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
                   ๒.๑.๒๐  การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
                   ๒.๑.๒๑  การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
                   ๒.๑.๒๒  การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
                   ๒.๑.๒๓  การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น 
                   ๒.๑.๒๔  การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม     
                   ๒.๑.๒๕  การผังเมือง
                   ๒.๑.๒๖  การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
                   ๒.๑.๒๗  การดูแลรักษาที่สาธารณะ
                   ๒.๑.๒๘  การควบคุมอาคาร
                   ๒.๑.๒๙  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                   ๒.๑.๓๐  การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                   ๒.๑.๓๑  กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด[๕]
              ๒.๒ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามข้อ ๑ต้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
              ๒.๓ การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของอเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาเทศบาลกับนายกเทศมนตรี

          ฝ่ายนายกเทศมนตรี
๑.      ก่อนนายกเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่ นายกเทศมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี แต่สภาเทศบาลไม่สามารถลงมติใดๆ ในการแถลงนโยบายดังกล่าว โดยการแถลงนโยบายของนายกเทศมนตรีต้องกระทำอย่างเปิดเผย และนายกเทศมนตรีต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์แจกให้สมาชิกสภาเทศบาลทุกคนที่มาประชุม
              กรณีที่นายกเทศบาลไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลได้ ให้นายกเทศมนตรีจัดทำนโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้สมาชิกสภาเทศบาลทุกคนภายใน ๗ วัน โดยให้นำวิธีการแจ้งคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีนี้ให้ถือว่านายกเทศมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลแล้ว
๒.      นายกเทศมนตรีต้อจัดทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาลเป็นประจำทุกปี
๓.      นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี หรือผู้ซึ่งนายกเทศมนตรีมอบหมายมีสิทธิเข้าประชุมสภาเทศบาลและมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริง ตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
๔.      เมื่อเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งเทศบาลนายกเทศมนตรีอาจทำคำร้องยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้เปิดประชุมวิสามัญได้
๕.      ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาเทศบาลให้ทันท่วงทีไม่ได้ นายกเทศมนตรีอาจออกเทศบัญญัติชั่วคราวได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดและเมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานเทศบาลแล้วให้ใช้บังคับได้ และในการประชุมสภาเทศบาลคราวต่อไปให้นำเทศบัญญัติชั่วคราวนั้นเสนอต่อสภาเทศบาลเพื่ออนุมัติ ถ้าสภาเทศบาลอนุมัติแล้ว เทศบัญญัติชั่วคราวก็เป็นเทศบัญญัติต่อไป แต่ถ้าสภาเทศบาลไม่อนุมัติ เทศบัญญัติชั่วคราวดังกล่าวก็จะตกลงไป ทั้งนี้ไม่กระทบถึง กิจการที่ได้เป็นไประหว่างมีการใช้เทศบัญญัติชั่วคราวนั้น คำอนุมัติและไม่อนุมัติของสภาเทศบาลดังกล่าวให้ทำเป็นเทศบัญญัติ
๖.      ความสัมพันธ์ของนายกเทศมนตรีกับสภาเทศบาล ในกรณีการเสนอเพื่อขออนุมัติร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
          ฝ่ายสภาเทศบาล :
๑.      ในที่ประชุมสภาเทศบาล สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรีในข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่นายกเทศมนตรีหรือรองนายกเทศมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบ เมื่อเห็นข้อความนั้นๆ ยังไม่ควรเปิดเผย เพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของเทศบาล
๒.      สภาเทศบาลมีอำนาจเลือกสมาชิกสภาเทศบาลตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภาเทศบาล และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นหรือไม่ได้เป็นสมาชิกสภาตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภาเทศบาล เพื่อกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆ อันเอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล แล้วรายงานต่อสภาเทศบาล ในการตั้งคณะกรรมการวิสามัญดังกล่าว นายกเทศมนตรีมีสิทธิเสนอชื่อบุคคลผู้เป็นหรือไม่เป็นสมาชิกสภา เพื่อให้สภาเทศบาลตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญได้ไม่เกิน ๑ ใน ๔ ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
๓.      สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกสภาที่มีอยู่ มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมสภาเทศบาล เพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการเทศบาลโดยไม่มีการลงมติ การเสนอญัตติให้ยื่นต่อประธานสภาเทศบาล และให้ประธานสภากำหนดวันสำหรับการอภิปรายทั่วไปซึ่งต้องไม่เร็วกว่า ๕ วัน และไม่ช้ากว่า ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับญัตติ แล้วแจ้งให้นายกเทศมนตรีทราบ
๔.      สภาเทศบาลเป็นฝ่ายพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างแผนพัฒนาเทศบาล ร่างเทศบัญญัติ ร่างเทศบัญญัติงบประมาณจ่ายประจำปี ร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมและอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งนายกเทศมนตรีเป็นผู้เสนอ
๕.      สภาเทศบาลไม่สามารถลงมติใดๆ เพื่อให้นกยกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาเทศบาลกับนายกเทศมนตรี ในการพิจาณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

          ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้นายกเทศมนตรีเสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณแก่สภาเทศบาล ในกรณีที่สภาเทศบาลรับหลักการและลงมติเห็นชอบกับร่างข้อบัญญัติ ให้สภาเทศบาลส่งร่างข้อบัญญัติให้นายอำเภอในกรณีเทศบาลตำบลแล้วให้นายอำเภอส่งร่างต่อไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือในกรณีของเทศบาลเมืองและเทศบาลนครให้ส่งร่างไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องพิจารณาร่างให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕ วัน (ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาไม่แล้วเสร็จใน ๑๕ วัน ให้ถือว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบ) ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติ ให้ส่งร่างนั้นไปให้นายกเทศมนตรีเพื่อลงนามมีผลบังคับใช้ แต่ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบ ให้ส่งร่างนั้นพร้อมเหตุผลไปให้สภาเทศบาลพิจารณาใหม่ โดยสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จใน ๓๐ วัน โดยหาดสภาเทศบาลยืนยันมติเดิมด้วยเสียง ๒ ใน ๓ ของสมาชิกที่มีอยู่ ให้ประธานสภาเทศบาลส่งร่างข้อบัญญัตินั้นให้แก่นายกเทศมนตรีเพื่อลงนามมีผลบังคับใช้ต่อไป และให้แจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ แต่ถ้าหากสภายืนยันด้วยเสียงไม่ถึง ๒ ใน ๓ หรือพิจารณาไม่แล้วเสร็จใน ๓๐ วัน ให้ร่างข้อบัญญัตินั้นตกไป
          ในกรณีที่นายกเทศมนตรีเสนอร่างข้อบัญญัติเข้าสู่สภาเทศบาล แล้วสภาเทศบาลไม่รับหลักการหรือลงมติไม่เห็นชอบกับร่างข้อบัญญัติรายจ่ายงบประมาณ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วยกรรมการจำนวน ๑๕ คน โดย ๗ คนมาจากสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งสภาเทศบาลเป็นผู้เสนอ และอีก ๗ คน เป็นผู้ซึ่งนายกเทศมนตรีเป็นผู้เสนอซึ่งต้อไม่ใช่สมาชิกสภาเทศบาล แล้วให้คณะกรรมการทั้ง ๑๔ คนไปหาคนซึ่งไม่ใช่นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลคนหนึ่ง มาเป็นประธานคณะกรรมการ โดยคณะกรรมการ ๑๕ คนนี้ต้องตั้งให้เสร็จภายใน ๗ วัน นับตั้งแต่วันที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการโดยคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาหาข้อขัดแย้งโดยแก้ไข ปรับปรุง หรือยืนยันสาระสำคัญในร่างข้อบัญญัตินั้นโดยต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน ๑๕ วัน แล้วรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
          จากนั้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งร่างที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการให้นายกเทศมนตรีโดยเร็ว แล้วให้นายกเทศมนตรีเสนอร่างดังกล่าวต่อสภาเทศบาลภายใน ๗ วัน ถ้านายกเทศมนตรีไม่เสนอร่างภายในเวลาดังกล่าว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
          ให้สภาเทศบาลพิจารณาร่างที่ปรับปรุงแก้ไขโดยคณะกรรมการที่ได้รับจากนายกเทศมนตรีให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน หากสภาพิจารณาไม่เสร็จใน ๓๐ วัน หรือสภามีมติไม่เห็นชอบ ให้ร่างเทศบัญญัตินั้นตกไป และให้ใช้เทศบัญญัติรายจ่ายของปีงบประมาณปีที่แล้วไปพลางก่อน กรณีนี้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้ยุบสภาเทศบาล
          กลไกความสัมพันธ์ดังกล่าวพิจารณาได้จากแผนภาพต่อไปนี้

แผนภาพ    :    แสดงกลไกการคานอำนาจระหว่างสภาเทศบาลกับนายกเทศมนตรี ในการเสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี


  

 









ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอรัฐมนตรีสั่ง        ให้นายกฯพ้นจากตำแหน่ง
 




*** หมายถึง จุดเริ่มต้น

ตารางเปรียบเทียบประเด็น                                                                      ระหว่าง พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.๒๕๔๓                                    กับ พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ.๒๕๔๖

ประเด็น
ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๖ – ๒๕๔๓
ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๔๖
๑.   ที่มา                 ของนายกเทศมนตรี
เทศบาลเมืองกับนครมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงจากประชาชนส่วนเทศบาลตำบลต้องรอถึง พ.ศ.๒๕๕๐ แล้วให้ทำประชามติถามประชาชนว่าจะเลือกใช้รูปแบบใดระหว่างผู้บริหารมาจากมติสภาเทศบาลกับรูปแบบผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
เทศบาลทุกระดับมีการเลือกตั้งผู้บริหารโดยตรงจากประชาชน
๒.   คุณสมบัติ
ของนายกเทศมนตรี

ไม่กำหนดวุฒิการศึกษา
๑.   สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นหรือ ส.ส.  ส.ว.
๒.   ไม่เป็นผู้ที่พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่นหรือที่ปรึกษาหรือเลขานุการ ผู้บริหารท้องถิ่น เพราะเหตุมีส่วนได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่กระทำกัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่ถึง ๕ ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง


ประเด็น
ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๖ – ๒๕๔๓
ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๔๖
๓.   วาระดงรงตำแหน่ง ของนายกเทศมนตรี
๑.   เทศบาลเมืองและนครที่เปลี่ยนมาใช้รูปแบบของนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนแล้ว นายกเทศมนตรีมีวาระ ๔ ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน ๒ วาระไม่ได้
๒.   เทศบาลตำบลที่นายกเทศมนตรีมาจากมติของสภาเทศบาลนายกเทศมานตีมีวาระ ๔ ปี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันกี่วาระก็ได้
เทศบาลทุกระดับนายกเทศมนตรี มีวาระ ๔ ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน ๒ วาระไม่ได้ จะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา ๔ ปี ไปแล้ว นับแต่วันที่พ้นตำแหน่ง
๔.   ที่มาของรอง
นายกเทศมนตรี
มี ๒ ระบบคือเทศบาลใดที่ใช้ระบบการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงจากประชาชนแล้ว รองนายกเทศมนตรีมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรี ส่วนเทศบาลใดที่ยังใช้ระบบนายกเทศมนตรีมาจากมติของสภาเทศบาทอยู่ เทมนตรีมาจากมติของสภาเทศบาลเช่นเดียวกับนายกเทศมนตรี
ทุกเทศบาล นายกเทศมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกสภาเทศบาลเป็นรองนายกเทศมนตรี
๕.   ที่ปรึกษา
นายกเทศมนตรีและเลขานุการนายก เทศมนตรี
ไม่มี
นายกเทศมนตรีสามารถแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีเป็นผู้ช่วยได้โดย
๑.   เทศบาลตำบล แต่งตั้ง ๒ ตำแหน่ง นี้รวมกันได้ไม่เกิน ๒ คน
๒.   เทศบาลเมือง แต่งตั้ง ๒ ตำแหน่ง นี้รวมกันได้ไม่เกิน ๓ คน

ประเด็น
ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๖ – ๒๕๔๓
ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๔๖


๓.   เทศบาลนคร แต่งตั้ง ๒ ตำแหน่ง นี้รวมกันได้ไม่เกิน ๕ คน
๖.   การแถลงนโยบายของนายกเทศมนตรีก่อนรับตำแหน่ง
ไม่ระบุ
นายกเทศมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี และต้องจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้รับแถลงไว้ต่อสภาเทศบาลทุกปี
๗.   ข้อต้องห้ามของคณะผู้บริหาร

ไม่ระบุ
๑.   ห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ใดในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เว้นแต่ที่ดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
๒.   ห้ามรับเงินหรือประโยชน์ใดๆ พิเศษจากส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติกับบุคคลในธุรกิจการงานตามปกติ
๓.   ห้ามเป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา หรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาล หรือ ที่เทศบาลจะกระทำ


ประเด็น
ฉบับ พ.ศ.๒๔๙๖ – ๒๕๔๓
ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๔๖
๘.   การลงมติของสภาเทศบาลที่มีผลให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
เทศบาลที่ยังใช้ระบบผู้บริหารมาจากมติของสภาเทศบาล นายกเทศมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อสภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ทุกเทศบาลนายกเทศมนตรีไม่พ้นจากตำแหน่งในกรณีที่สภาเทศบาลไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
๙.   การพ้นจากตำแหน่งของนายกเทศมนตรีเนื่องจากการยุบสภาเทศบาล
เทศบาลที่ยังใช้ระบบผู้บริหารมาจากมติของสภาเทศบาล นายกเทศมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการยุบสภาเทศบาล
ทุกเทศบาล นายกเทศมนตรียังอยู่ในตำแหน่งแม้จะมีการยุบสภาเทศบาล
๑๐.  การคงอยู่ของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลและสารวัตรกำนัน

กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน ต้องถูกยกเลิกไป เมื่อท้องถิ่นใดๆ ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาล ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลระดับใด
กำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่- บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ถูกยกเลิกเฉพาะในเทศบาลเมืองและนคร ส่วนเทศบาลตำบลยังให้มีตำแหน่งดังกล่าวต่อไป จะยกเลิกเมื่อเห็นว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศยกเลิกในราชกิจจานุเบกษา









บรรณานุกรม

ดร.บูฆะรี ยีหมะ. (๒๕๕๐). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดร.ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี. เอกสารประกอบการสอนวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น.
รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (๒๕๕๕). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ วิญญูชน จำกัด.
ศาตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์. (๒๕๔๗). การปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย (พ.ศ.๒๕๔๐). กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ วิญญูชน จำกัด.
ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์. (๒๕๕๕). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพ: สำนักพิม์ วิญญูชน
จำกัด.






















[๑] ดร.ปัณณพงศ์  วงศ์ณาศรี. เอกสารประกอบการสอนวิชาการเมืองและการปกครองท้องถิ่น. หน้า ๔๕.
[๒] รศ.ดร.โกวิทย์  พวงงาม.การปกครองท้องถิ่นไทย. (กรุงเทพ : วิญญูชน, ๒๕๕๕). หน้า ๒๒๑.
[๓] ดร.บูฆอรี  ยีหมะ.การปกครองท้องถิ่นไทย. (กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐).              หน้า ๑๓๗.
[๔] ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์  บรมานันท์. การปกครองส่วนท้องถิ่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.๒๕๔๐). (กรุงเทพ : วิญญูชน, ๒๕๔๗). หน้า ๑๔๒.
[๕] ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์  บรมานันท์. กฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2555) หน้า ๑๘๗.