วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540)


       กระบวนการทั้งหลายเหล่านี้เป็นกระบวนการสำคัญที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) ได้กำหนดไว้ในหลายๆส่วนรวมทั้งโดยเฉพาะในหมวด 10 อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ "การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ" ความจำเป็นของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐนั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว ประสบการณ์ในระบอบประชาธิปไตยของเราแสดงให้เห็นถึง "การกระทำ" หลายๆอย่างที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเข้ามา "ใช้อำนาจรัฐ" ไม่ว่าจะโดยฝ่ายการเมืองหรือฝ่ายประจำก็ตาม บางครั้งบางกรณีก็เกิดการใช้อำนาจดังกล่าวเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ทำให้มีผู้พยายาม "เข้าสู่ตำแหน่ง" กันมากขึ้นเพราะความหอมหวนของอำนาจเป็นที่มาของหลายๆสิ่ง ที่ผ่านมา กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐแม้จะมีอยู่แต่ก็ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งคือ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จึงได้วางกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเสียใหม่เพื่อให้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมีประสิทธิภาพและครบถ้วนยิ่งขึ้น
       บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อ "นำเสนอ" กลไกและกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างสังเขปเพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมทั้งระบบของกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยผู้เขียนจะขอนำเสนอบทความนี้ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันตามขั้นตอนของการดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง ระหว่างการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง
       1. ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเข้าสู่ตำแหน่งได้ก็แต่โดยการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง ในบทความนี้จะไม่ขอกล่าวถึงระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้พยายามที่จะวางกลไกเพื่อให้คนที่สุจริตและมีความสามารถเข้าสู่ระบบการเมืองได้มากขึ้น แต่จะขอกล่าวถึงกระบวนการตรวจสอบเมื่อผ่านพ้นการเลือกตั้งและ "ได้ตัว" ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆแล้ว
       "การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน" เป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน ของคู่สมรส และของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมืองก็คือเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานทางการเมืองของนักการเมืองโดยการแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินจะชี้ให้เห็นว่า "คุณมีอยู่เท่าไหร่" เมื่อเข้ามา "เล่น" การเมือง และ "คุณมีอยู่เท่าไหร่" เมื่อ "ออกจาก" การเมือง
       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) ได้กำหนดไว้ในมาตรา 291 ให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่น รวมทั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งของตนเอง ของคู่สมรสและของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง โดยในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินนั้นต้องเป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดพร้อมด้วยเอกสารประกอบซึ่งเป็นสำเนาหลักฐานที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินรวมตลอดถึงสำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมาด้วย เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นบัญชีฯแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็จะดำเนินการลงลายมือชื่อกำกับไว้ในบัญชีทุกหน้า โดยบัญชีฯของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีนั้นจะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนทราบโดยเร็วภายใน 30 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดที่ต้องยื่นบัญชีฯ ส่วนบัญชีฯ ของผู้ดำรงตำแหน่งอื่นห้ามเปิดเผยเว้นแต่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีหรือการวินิจฉัยชี้ขาด และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับการร้องขอจากศาลหรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และนอกจากนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังต้องตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินตามบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นไว้ด้วย หากตรวจสอบพบความผิดปกติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 295 แห่งรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งและต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
       2. ระหว่างการดำรงตำแหน่ง รัฐธรรมนูญได้วางกลไกในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้หลายประการด้วยกัน คือ
                2.1          การตรวจสอบคณะรัฐมนตรีโดยรัฐสภา หากไม่นับรวมการซักถามและอภิปรายนโยบายของคณะรัฐมนตรี การพิจารณาร่างกฎหมายประเภทต่างๆและการพิจารณาพระราชกำหนดแล้ว รัฐสภาสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของคณะรัฐมนตรีได้โดย
                (ก) ตั้งกระทู้ถาม ตามมาตรา 183 และมาตรา 187 แห่งรัฐธรรมนูญซึ่งแยกได้เป็นสองประเภทคือ การตั้งกระทู้ถามทั่วๆไปที่รัฐมนตรีสามารถตอบในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือตอบในราชกิจจานุเบกษาได้ กับการตั้งกระทู้ถามสดที่จะต้องถามและตอบด้วยวาจาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร อนึ่ง สมาชิกวุฒิสภาสามารถตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีได้เช่นกันโดยผู้ถามจะต้องแสดงความประสงค์ว่าจะให้ตอบในราชกิจจานุเบกษาหรือจะให้ตอบในที่ประชุมวุฒิสภา
                (ข) การเปิดอภิปรายทั่วไป มีอยู่ 2 กรณี คือ กรณีตามมาตรา 185 วรรคแรก เพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี การเสนอญัตติตามมาตรา 186 วรรคแรก เพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
                (ค) คณะกรรมาธิการ คณะกรรมมาธิการมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบการดำเนินการของฝ่ายบริหารโดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ในมาตรา 189 ให้มีหน้าที่กระทำการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใดๆอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา คณะกรรมาธิการมีทั้งของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
       2.2   การถอดถอนจากตำแหน่ง เป็นกลไกในการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงว่ามีความเหมาะสมหรือสมควรที่จะให้ผู้นั้นดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่ต่อไปหรือไม่

                  
                (ก) เหตุในการถอดถอน ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย (มาตรา 303 แห่งรัฐธรรมนูญ)
                (ข)           ตำแหน่งที่ถูกถอดถอน ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (มาตรา 303 แห่งรัฐธรรมนูญ) รวมทั้งตำแหน่งผู้พิพากษา ตุลาการ พนักงานอัยการหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 คือ รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร รองอัยการสูงสุด และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงอันได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม ทบวง หรือกระทรวง สำหรับข้าราชการพลเรือน ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเหล่าทัพหรือผู้บัญชาการทหารสูงสุดสำหรับข้าราชการทหาร ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หัวหน้าหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งตามที่กฎหมายอื่นบัญญัติ
                (ค)          กระบวนการถอดถอน มีขั้นตอนดังนี้
                (ค.1)       สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรร้องขอต่อประธานวุฒิสภาหรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน เข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตาม (ข) หรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภาเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาผู้หนึ่งผู้ใดออกจากตำแหน่ง
                (ค.2)       ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวน
                (ค.3)       เมื่อไต่สวนเสร็จ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะส่งเรื่องกลับไปยังวุฒิสภา ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหาใดมีมูล ผู้ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ อนึ่ง ในกรณีดังกล่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องส่งรายงานดังกล่าวให้อัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย
                (ค.4)       การถอดถอนโดยวุฒิสภาจะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
                (ง)           ผลของการถอดถอน ผู้ถูกวุฒิสภาถอดถอนจะต้องพ้นจากตำแหน่งหรือถูกถอดถอนออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนและผู้นั้นจะถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี
                2.3          การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นกระบวนการสำคัญอีกกระบวนการหนึ่งในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่รัฐธรรมนูญ (พ.ศ.2540) กำหนดไว้ โดยมุ่งที่จะตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ทำผิดตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด คือ จะต้องถูกตรวจสอบโดยองค์กรพิเศษเพื่อให้ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง โดยมีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ ดังนี้คือ
                (ก)          คดีที่อยู่ในอำนาจการพิจารณา ได้แก่
                (ก.1)       คดีที่มี่มูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหานายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
                (ก.2)       คดีที่มีมูลแห่งคดีเป็นการกล่าวหาบุคคลตาม (ก.1) หรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดทางอาญาตาม (ก.1)
                (ก.3)       คดีซึ่งประธานวุฒิสภาส่งคำร้องให้ศาลพิจารณาพิพากษาข้อกล่าวหาว่ากรรมการ ป.ป.ช. ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
                (ก.4)       คดีที่ร้องขอให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมืองอื่น ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นตามกฎหมายที่บัญญัติตกเป็นของแผ่นดิน
                (ข)           องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาคดี ได้แก่ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จัดตั้งขึ้นโดยหมวด 10 ส่วนที่ 4 มาตรา 308 ถึงมาตรา 311 แห่งรัฐธรรมนูญ
                (ค)          กระบวนพิจารณาคดี เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่าคดีตามข้อ (ก.1) (ก.2) และ (ก.4) มีมูลพอที่จะดำเนินคดี คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องส่งรายงานเอกสาร และพยานหลักฐาน พร้อมทั้งความเห็นไปยังอัยการสูงสุดเพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่วนกรณีตามข้อ (ก.3) นั้น ประธานวุฒิสภาสามารถส่งคำร้องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้โดยตรง
                เมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ประธานศาลฎีกาต้องเรียกประชุมใหญ่ศาลฎีกาเพื่อเลือกผู้พิพากษาศาลฎีกาให้มาเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542

                  
                ในการพิจารณาคดี ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานต่อเนื่องไปทุกวันทำการจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา
                (ง)           ผลการพิจารณาคดี ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองสามารถสั่งลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญา สั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะเหตุร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินผิดปกติ รวมทั้งสามารถสั่งให้มีการดำเนินคดีต่อกรรมการ ป.ป.ช.ที่ร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอีกด้วย
       3.     การพ้นจากตำแหน่ง การตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมิได้มีเฉพาะที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่ง ผู้นั้นก็จะถูกตรวจสอบอีกด้วยการที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเพื่อ "พิสูจน์" ให้เห็นว่า ตนมีทรัพย์สินและหนี้สินเพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าเมื่อตอนเข้าสู่ตำแหน่งหรือไม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้ คือ
                3.1          การพ้นจากตำแหน่งปกติ ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งหลายที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ 1. พ้นจากตำแหน่ง ต้องยื่นบัญชีฯ ภายใน 30 วันนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง และหากผู้นั้นเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องยื่นบัญชีฯ อีกครั้งหนึ่งภายใน 30 วันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี
                3.2          การพ้นจากตำแหน่งในกรณีตาย ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางเมืองตายในระหว่างดำรงตำแหน่งหรือก่อนยื่นบัญชีหลังพ้นจากตำแหน่ง ทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ในวันที่ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นตายภายใน 90 วันนับแต่วันที่ผู้ดำรงตำแหน่งตาย
      
                เมื่อยื่นบัญชีฯ แล้ว กระบวนการและผลก็เป็นเช่นเดียวกับการยื่นบัญชีฯ เมื่อเข้าสู่ตำแหน่ง ดังกล่าวมาแล้วในหัวข้อ 1.
              สรุป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) ได้วางกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไว้หลายกระบวนการ โดยแต่ละกระบวนการก็เป็นกระบวนการที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจอาจนำไปสู่กระบวนการถอดถอนและถูกลงโทษทางอาญาโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ เป็นต้น กระบวนการเหล่านี้ แม้จะเพิ่งเกิดขึ้นมาในระยะเวลาไม่นานมานี้เองแต่ด้วย "ความสามารถ" ของบรรดากลไกในการตรวจสอบทั้งหลายทำให้สามารถ "คาดเดา" ได้ว่า ในวันข้างหน้าด้วยกลไกทั้งหลายที่มีอยู่จะทำให้ประเทศไทย "สะอาด" และ "ปราศจาก" ผู้ที่เข้ามาฉกฉวยและหาประโยชน์จากการใช้อำนาจรัฐ

       หมายเหตุ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจาก "สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540)" ที่จัดทำโดยสถาบันพระปกเกล้า

เทศบาล




เทศบาลถือว่าเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จัดตั้งขึ้นในเขตชุมชนที่มีความเจริญและใช้ในการบริหารเมืองเป็นหลัก ซึ่งหลายประเทศประสบความสำเร็จในการใช้ เทศบาลเป็นเครื่องมือที่สำคัญใน การปกครองประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย สำหรับสังคมไทยเทศบาลเป็นรูปแบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในเขตชุมชนเมืองที่ใช้มาตั้งแต่ พ.. 2476 จนถึงปัจจุบัน (.. 2542) เกือบ 66 ปีแล้ว
ความเป็นมา
..2476 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2476 และกำหนดให้เทศบาลเป็นองค์กรบริหารรูปหนึ่งของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.. 2476 ขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายฉบับแรกว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารปกครองตนเองของเทศบาล
..2478ได้มีการจัดตั้งเทศบาลเป็นครั้งแรก ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล   พ.. 2476 โดยการยกฐานะสุขาภิบาลที่มีอยู่เดิม 35 แห่งขึ้นเป็นเทศบาล และได้มีการปรับปรุงกฎหมาย ดังกล่าวอยู่เป็นระยะ เช่น ในปี พ.. 2481 และ พ.. 2483
..2496ได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ขึ้นใช้แทนกฎหมายเก่าทั้งหมด และได้มีการใช้กฎหมาย พ...เทศบาล พ.. 2496 (โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมอยู่เป็นระยะ) จนถึงปัจจุบัน (2541) ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติหมวดว่าด้วยการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540
     .. 2542ได้มีการปรับปรุงแก้ไข พ... เทศบาล (ฉบับที่ 10) .. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2542*
หลักเกณฑ์การจัดตั้งเทศบาล
               พระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดตั้งท้องถิ่นใดขึ้นเป็นเทศบาลไว้ 3 ประการ ได้แก่
1.    จำนวนของประชากรในท้องถิ่นนั้น
2.    ความเจริญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยพิจารณาจากการจัดเก็บรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด และงบประมาณรายจ่ายในการดำเนินกิจการของท้องถิ่น
3.    ความสำคัญทางการเมืองของท้องถิ่น โดยพิจารณาถึงศักยภาพของท้องถิ่นนั้นว่าจะสามารถพัฒนาความเจริญได้รวดเร็วมากน้อยเพียงใด
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น กฎหมายได้กำหนดให้จัดตั้ง
เทศบาลขึ้นได้ 3 ประเภท ดังนี้
1.    เทศบาลตำบล  กระทรวงมหาดไทยได้กำหนด
หลักเกณฑ์การจัดตั้งเทศบาลตำบลไว้อย่างกว้างๆ ดังนี้
1.1     มีรายได้จริงโดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ ผ่านมา ตั้งแต่
12,000,000 บาท ไปขึ้น
   1.2   มีประชากรตั้งแต่ 7,000 คนขึ้นไป
   1.3   ความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 1,500 คน ต่อ
1 ตร.กม.ขึ้นไป
   1.4ได้รับความเห็นชอบจากราษฎรในท้องถิ่นนั้น
               สำหรับในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น การควบคุมการก่อสร้างอาคาร การแก้ปัญหาชุมชนแออัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาท้องถิ่นหรือการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล กระทรวงมหาดไทยจะสั่งให้ดำเนินการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลเฉพาะแห่งได้ หรือกรณีที่จังหวัดเห็นว่าสุขาภิบาลใดมีความเหมาะสม สมควรยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลได้ ก็ให้จังหวัดรายงานไปให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาสั่งให้ดำเนินการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลได้ โดยให้จังหวัดชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น พร้อมทั้งส่งข้อมูลความเหมาะสมไปให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาด้วย
2.    เทศบาลเมือง  มีหลักเกณฑ์การจัดตั้งดังนี้
2.1     ท้องที่ที่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดทุกแห่ง ให้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองได้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงหลักเกณฑ์อื่นๆ ประกอบ
2.2     ส่วนท้องที่ที่มิใช่เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจะยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง ต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
(1)    เป็นท้องที่ที่มีพลเมืองตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป
(2)    มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้
(3)    มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นเทศบาลเมือง
3.    เทศบาลนครมีหลักเกณฑ์การจัดตั้งดังนี้
3.1     เป็นท้องที่ที่มีพลเมืองตั้งแต่ 50,000 คน ขึ้นไป
3.2     ราษฎรอยู่กันหนาแน่นไม่ต่ำกว่า 3,000 คน
3.3     มีรายได้พอแก่การปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามที่
กฎหมายกำหนดไว้
3.4     มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลนคร
              
ในปี พ.. 2542 ก่อนมีการยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล มีจำนวนเทศบาลทั้งสิ้นจำนวน 149 แห่ง แบ่งเป็น
1.     เทศบาลนคร      จำนวน 12 แห่ง
2.     เทศบาลเมือง     จำนวน 86 แห่ง
3.     เทศบาลตำบล    จำนวน 51 แห่ง
(ข้อมูลจากสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง
จนถึงเดือนตุลาคม 2541)

แผนภูมิ : เงื่อนไขในการจัดตั้งเทศบาลและประเภทของเทศบาล
  

หมายเหตุ  ได้มี พ..บ เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล พ.. 2542 ทำให้สุขาภิบาลที่เคยมีอยู่เดิมจำนวน 981 แห่ง (ก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 )  ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลโดยปริยาย นอกเหนือเงื่อนไขการการจัดตั้งเทศบาลตำบลดังกล่าวข้างต้น

โครงสร้างเทศบาล

               พระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ได้แบ่งโครงสร้างของเทศบาลออกเป็น 2 ส่วน คือ สภาเทศบาล และคณะเทศมนตรี
               สำหรับการปฏิบัติงานในหน้าที่ประจำในเทศบาล จะมีโครงสร้างทางเจ้าหน้าที่อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า พนักงานเทศบาล
1.    สภาเทศบาล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งคอยควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหารอันเป็นวิถีทางแห่งการถ่วงดุลอำนาจ กำหนดให้สภาเทศบาลประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง
จากประชาชน และสมาชิกสภาเทศบาลนี้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี (ปัจจุบันมีการแก้ไขให้อยู่ในวาระคราวละ  4 ปี) ทั้งนี้จำนวนสมาชิกสภาเทศบาล จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของเทศบาล ดังนี้
1.1      สภาเทศบาลตำบล มีสมาชิก ทั้งหมด  12 คน
1.2      สภาเทศบาลเมือง  มีสมาชิก ทั้งหมด  18 คน
1.3      สภาเทศบาลนคร   มีสมาชิก ทั้งหมด  24 คน
              
               สภาเทศบาลนั้นมีประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาคนหนึ่งโดยให้ผู้ว่าราชการแต่งตั้งมาจากสมาชิกสภาเทศบาลตามมติของสภาเทศบาล กล่าวคือ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้เรียกประชุมสภา เทศบาลครั้งแรกภายใน 90 วัน นับแต่การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเสร็จสิ้นแล้ว ให้สมาชิกสภาเทศบาลประชุมเลือกกันเองจากสมาชิกด้วยกันจะเลือกบุคคลอื่นนอกจากสมาชิกสภาเทศบาลไม่ได้ ประธานสภามี หน้าที่ดำเนินกิจการของสภาเทศบาลให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการประชุมเทศบาลควบคุมบังคับบัญชารักษาความสงบ และเป็นตัวแทนสภาในกิจการภายนอก
2.    คณะเทศมนตรี
                   ฝ่ายบริหารกิจการของเทศบาล ได้แก่ คณะเทศมนตรี ซึ่งอำนาจในการบริหารงานอยู่ที่     คณะเทศมนตรี โดยคณะเทศมนตรีเลือกมาจากสมาชิกสภาเทศบาลที่สมาชิกสภาเทศบาลมีมติเห็นชอบ       ซึ่งประกอบด้วยนายกเทศมนตรี และเทศมนตรี อีก 2-4 คน ตามฐานะเทศบาล คือ
ก.    กรณีที่เป็นเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล ให้มีเทศมนตรีได้ 2 คนซึ่งเมื่อรวม
นายกเทศมนตรีเป็นคณะเทศมนตรีแล้ว มีจำนวน 3 คน
ข.    กรณีที่เป็นเทศบาลนคร ให้มีเทศมนตรีได้ 4 คน ซึ่งเมื่อรวมนายกเทศมนตรีเป็น
คณะ เทศมนตรีแล้วมีจำนวน 5 คน สำหรับเทศบาลเมืองที่มีรายได้จากการจัดเก็บปีละ 20 ล้านบาทขึ้นไป ให้มี    เทศมนตรีเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน

3.    พนักงานเทศบาลพนักงานเทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของเทศบาลที่ปฏิบัติงานอันเป็นภารกิจประจำสำนักงานหรืออาจจะนอกสำนักงานก็ได้ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างใกล้ชิด เพราะหน้าที่ของเทศบาลนั้นต้องติดต่อและให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในเรื่องงานการทะเบียน การสาธารณูปโภค การศึกษา การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนับว่าเป็นภาระหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นมากซึ่งต่างกับคณะเทศมนตรีที่ว่าคณะเทศมนตรีรับผิดชอบและภารกิจในลักษณะของการ ทำอะไรส่วนการ ทำอย่างไรก็จะเป็นหน้าที่ของพนักงานเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้รับผิดชอบ
               พนักงานเทศบาลจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของงาน ส่วนการบรรจุแต่งตั้งการให้ความดีความชอบตลอดจนการออกจากตำแหน่งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีการะเบียบพนักงานเทศบาล พ.. 2519 เป็นสำคัญ
               พนักงานเทศบาลเป็นเจ้าหน้าที่ประจำ มีการแบ่งหน่วยงานของเทศบาลออกเป็น  ส่วน(ระเบียบคณะกรรมการพนักงานเทศบาล(..)ว่าด้วยการกำหนดส่วนการบริหารของเทศบาล การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของพนักงานเทศบาล พ.. 2519)เพื่อที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้ดังนี้สำนักปลัดเทศบาล ที่หน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบแบบแผนและนโยบายของเทศบาลทั้งที่หน้าที่เป็นเลขานุการของสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรีเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานนิติการ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานทะเบียน ตลอดจนงานอื่นๆที่มิได้กำหนดไว้เป็นงานของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ เช่น สถานธนานุบาลของเทศบาล (โรงรับจำนำ)

1.     สำนักปลัดเทศบาล ที่หน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไป
ตามกฎหมายระเบียบแบบแผนและนโยบายของเทศบาลทั้งที่หน้าที่เป็นเลขานุการของสภาเทศบาลและคณะเทศมนตรีเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานนิติการ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย งานทะเบียน ตลอดจนงานอื่นๆที่มิได้กำหนดไว้เป็นงานของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ เช่น สถานธนานุบาลของเทศบาล (โรงรับจำนำ)
2.    ส่วนคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินและการบัญชี การ
จัดเก็บภาษีต่างๆ เช่น ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ภาษีป้าย ฯลฯ งานจัดทำงบประมาณ งานผลประโยชน์ของเทศบาล ควบคุมดูแลพัสดุและทรัพย์สินของเทศบาลตลอดจนงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเงินที่มิได้กำหนดไว้เป็นงานของส่วนใดหรือตามที่ได้รับมอบหมาย
3.    ส่วนสาธารณะสุข มีหน้าที่แนะนำช่วยเหลือด้านการ
เจ็บป่วยของประชาชนการป้องกันและระงับโรค การสุขาภิบาล การรักษาความสะอาดงานสัตว์แพทย์ ตลาดสาธารณะ สุสาน และฌาปนสถานสาธารณะ ตลอดจนการควบคุมการประกอบอาชีพเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน เช่น การแต่งผม การจำหน่ายอาหาร เป็นต้นซึ่งรวมเรียกว่าการประกอบการค้าอันอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนรวมทั้งงานสาธารณสุขอื่นๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายหรืองานที่ได้รับมอบหมายเทศบาลแห่งที่มีรายได้เพียงพอก็จะตั้งโรงพยาบาลขึ้นเอง เช่น โรงพยาบาลของเทศบาลนครเชียงใหม่ นอกจากนี้แล้วเทศบาลเล็กๆก็จะจัดให้มีสถานีอนามัยศูนย์บริการสาธารณสุข
4.     ส่วนช่าง มีหน้าที่ดำเนินเกี่ยวกับงานโยธางานบำรุงรักษาทางบก ทางระบายน้ำ
สวนสาธารณะ งานสถาปัตยกรรม และผังเมืองและสาธารณูปโภค งานควบคุมการก่อสร้างอาคารเพื่อเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง งานเกี่ยวกับไฟฟ้าหรืองานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
5.     ส่วนการประปา มีหน้าที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการให้บริการ และจำหน่ายน้ำสะอาด
ตลอดจนจัดเก็บผลประโยชน์ในการนี้
6.     ส่วนการศึกษา มีหน้าที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในด้านการศึกษาระดับ
ประถมศึกษาของเทศบาล งานด้านการสอน การนิเทศ การศึกษา งานสวัสดิการสังคมและนันทนาการ ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
               ส่วนต่างๆ เหล่านี้อาจจัดให้มีฐานะเป็นสำนัก กอง ฝ่าย แผนก หรืองานก็ได้ โดยคำนึงถึงลักษณะงานในหน้าที่และความรับผิดชอบ ปริมาณ และคุณภาพของงานได้ตามความเหมาะสมของแต่ละเทศบาล แต่หากงานใดยังไม่มีความจำเป็นจะต้องแยกจัดเป็นส่วนงานบริหารงานต่างหาก ก็ให้รวมกิจการนั้นเข้ากับส่วนอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้ หรือเทศบาลใดมีงานเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ และไม่อาจรวมไว้กับส่วนใดก็อาจจัดเป็นส่วนต่างหากก็ได้ตามหลักเกณฑ์ข้างต้นโดยอนุโลม

อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล
               ปกติสภาเทศบาลจะทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้







1.    อำนาจในการตราเทศบัญญัติ
เทศบัญญัติ คือ กฎข้อบังคับของท้องถิ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับได้เฉพาะในเขตเทศบาลนั้นๆ เท่านั้น โดยสภาเทศบาลเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อตัวบทกฎหมาย ในกรณีต่อไปนี้
ก.    เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล
ข.    เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้อำนาจตราเทศบัญญัติเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนั้นๆ
               สำหรับการพิจารณาตราเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี ถือว่าเป็นการใช้อำนาจสูงสุดในการควบคุม ถ้าหากร่างดังกล่าวไม่ได้รับการเห็นชอบจากสภาเทศบาลแล้ว นั่นหมายถึงว่าคณะเทศมนตรีสิ้นสุดในหน้าที่ (เพราะการไม่เห็นด้วยของเทศบาลมีความหมายถึงการไม่ยอมรับของประชาชนในท้องถิ่นด้วย) โดยมีเงื่อนไขที่น่าสังเกตว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเห็นชอบด้วย และในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยนั้น การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง มหาดไทยว่าจะดำเนินการอย่างไร
                   ส่วนในการตราข้อบัญญัติทั่วไปจะมีหลักการคล้ายกัน แต่ต่างกันตรงที่ว่าร่างดังกล่าวจะได้รับการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วย
2.    อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร
               สภาเทศบาลมีอำนาจในการควบคุมคณะเทศมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนและนโยบายที่กำหนดไว้ โดยมีมาตรการควบคุมที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการ
2.1    การตั้งกระทู้ถาม
สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิที่จะตั้งกระทู้ถามคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีในข้อความใดๆ ที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้ ถ้าหากสมาชิกสภาเกิดสงสัยหรือมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรี หรือเมื่อเล็งเห็นว่าการกระทำใดๆ ของฝ่ายบริหารอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อท้องถิ่นหรือประชาชนในท้องถิ่นนั้น ทั้งนี้นายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรีนั้นๆ จะต้องตอบกระทู้ถามให้สมาชิกสภาหายข้องใจ แต่ฝ่ายบริหารมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามก็ได้ ถ้าเห็นว่ายังไม่สมควรตอบเพราะถ้าหากตอบไปแล้วจะเกิดความไม่ปลอดภัยหรือเสียประโยชน์ที่สำคัญของเทศบาล
2.2    การเปิดอภิปราย
กฎหมายว่าด้วยเทศบาลได้ให้สิทธิแก่สมาชิกสภาเทศบาล ขอเปิดอภิปรายต่อคณะ เทศมนตรีหรือเทศมนตรีคนใดคนหนึ่งได้ ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการที่กำหนดไว้ เช่น มีข้อกล่าวหาคณะเทศมนตรีว่าปฏิบัติงานไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่และมีความประพฤติเสื่อมเสียแก่ศักดิ์ตำแหน่ง ฯลฯ
2.3    การอนุมัติงบประมาณประจำปี
ก่อนที่จะมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในรอบปีต่อไป คณะเทศมนตรีจะต้องเสนอ    งบประมาณประจำปีเพื่อขออนุมัติต่อสภาเทศบาลเสียก่อน และเมื่อสภาได้อนุมัติแล้ว จึงจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ การที่กำหนดให้ต้องเสนอขออนุมัติงบประมาณก่อนนั้น เพื่อที่สภาเทศบาลซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นนั้น สามารถควบคุมการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินของฝ่ายบริหารให้เป็นไปอย่าง  ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของท้องถิ่น และในกรณีที่สภาเทศบาลพิจารณาแล้ว ลงมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปีที่คณะเทศมนตรีเสนอแล้ว ไม่ว่าจะต้องเหตุผลใดก็ตามจะมีผลทำให้คณะเทศมนตรีชุดนั้นต้องพ้นจากตำแหน่งไป

3.    อำนาจในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะเทศมนตรี
บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเทศบาล ได้กำหนดเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะเทศมนตรีไว้ว่า   ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
กล่าวโดยสรุป คือ อำนาจในการเห็นชอบแต่งตั้งคณะเทศมนตรี โดยสภาเทศบาลจะเสนอการเห็นสมควรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง มีข้อสังเกตว่าในปัจจุบันมีการจัดกลุ่มในลักษณะพรรคการเมืองขึ้น  ดังนั้นกลุ่มที่ได้รับเลือกตั้งเป็นฝ่ายเสียงข้างมากจะมีโอกาสสูงที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นฝ่ายบริหาร (คณะเทศมนตรี)
4.    อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาเทศบาล
เพื่อที่จะให้การดำเนินงานต่างๆ ของสภาเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สภาเทศบาลมีอำนาจที่จะตั้งคณะ กรรมการเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่มอบหมายให้ทำ  ซึ่งคณะกรรมการที่            สภาเทศบาลจะแต่งตั้งนี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
4.1     คณะกรรมการสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งได้รับเลือกจากสภาเทศบาล และกระทรวง มหาดไทยได้ออกระเบียบให้มีคณะกรรมการสามัญประจำสภาเทศบาลได้ไม่เกิน 2 คณะ โดยเทศบาลนครให้มีกรรมการในคณะหนึ่งๆ ไม่เกิน 5 นาย ส่วนเทศบาลเมืองและเทศบาลตำบลให้มีกรรมการในคณะหนึ่งๆ ได้ไม่เกิน 3 นาย
4.2     คณะกรรมการวิสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบ ด้วยสมาชิกสภาเทศบาลหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกที่มิได้เป็นสมาชิกซึ่งได้รับเลือกจากสภาเทศบาล โดยอาจมีจำนวนและองค์ประกอบของคณะกรรมการได้เช่นเดียวกับคณะกรรมการสามัญดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
อำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรี
               คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่สำคัญๆ อาจกล่าวโดยสรุปได้ 3 ประการ ดังนี้
1.    อำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลและรับผิดชอบในการบริหารงานโดยทั่วไปของเทศบาลตามที่เทศบาลกำหนดไว้
2.    อำนาจหน้าที่ในการเปรียบเทียบคดีที่ละเมิดต่อเทศบัญญัติ โดยเทศมนตรีคนใดคนหนึ่งมีอำนาจเปรียบเทียบปรับในคดีที่มีการละเมิดต่อเทศบัญญัติได้ และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อประโยชน์แห่งการนี้ นายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรีมีอำนาจที่จะเรียกผู้กระทำความผิดและพยานมาบันทึกถ้อยคำเพื่อประกอบการพิจารณาได้ด้วย
3.    อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ กล่าวคือ คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในการปฏิบัติงานต่างๆ ในเขตเทศบาล ตาม    บทบัญญัติของกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ หรือกฎหมายอื่นใดที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและได้กำหนดไว้โดยกฎกระทรวง
เพื่อให้การใช้อำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรีดังกล่าวมาแล้วข้างต้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้มีการแบ่งอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยปัญหาและการสั่งการระหว่างนายกเทศมนตรีกับเทศมนตรีไว้ดังนี้*[1]นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยสั่งการและบริหารงานในเรื่องต่อไปนี้
1.1     เรื่องเกี่ยวกับสภาเทศบาลหรือสมาชิกสภาเทศบาล
1.2     เรื่องที่ต้องรายงานอำเภอหรือจังหวัด หรือกระทรวงไทยแล้วแต่กรณี
1.3     เรื่องที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับระบุให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะเทศมนตรี
1.4     เรื่องที่เกี่ยวกับการออกเทศบัญญัติหรือยกเลิกแก้ไขเพิ่มเติมเทศบัญญัติอยู่แล้ว
1.5     เรื่องที่ดำริขึ้นใหม่ ซึ่งอาจต้องมีโครงการหรือแผนงานหรือระเบียบการขึ้นใหม่
1.6     เรื่องที่ปลัดเทศบาลเห็นเป็นปัญหา หรือกรณีพิเศษที่ควรได้รับการวินิจฉัยจากนายก   เทศมนตรี
1.7     เรื่องซึ่งนายกเทศมนตรีมีอำนาจสั่งการโดยเฉพาะ
1.8     เรื่องที่ปลัดเทศบาลเห็นสมควรเสนอเพื่อทราบ
2.    เทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยสั่งการหรือบริหารงานในเรื่องต่อไปนี้
2.1     เรื่องที่คณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรีมอบหมายให้เป็นอำนาจหน้าที่ของเทศมนตรี
2.2     เรื่องที่ต้องรายงานนายกเทศมนตรี
2.3     เรื่องที่กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับระบุไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่
อนึ่ง ในกรณีที่นายกเทศมนตรีไม่อยู่ หรือไม่สามารถบริหารกิจการได้ ให้นายกเทศ มนตรีตั้งเทศมนตรีผู้หนึ่งทำงานแทน และจะต้องแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ
อำนาจหน้าที่ของเทศบาล
พระราชบัญญัติเทศบาล พ..2496 กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติหรือหน้าที่บังคับให้ปฏิบัติ และอำนาจหน้าที่ที่จะเลือกปฏิบัติ นอกจากนั้นยังมีอำนาจตามที่กฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนด ทั้งยังได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในฐานะระดับต่างๆ ไว้ เช่น เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และ เทศบาลนคร ไว้แตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดกล่าวคือ
1.    หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ*[2]
สรุปแบ่งหน้าที่ตามฐานะของเทศบาลไว้ดังนี้
เทศบาลตำบล
เทศบาลเมือง
เทศบาลนคร



1.    รักษาความสงบเรียบร้อยของ    ประชาชน
2.    ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
3.    รักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูล
4.    ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
5.    ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
6.    ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
7.    หน้าที่อื่นๆ ซึ่งมีคำสั่งกระทรวงมหาดไทย หรือกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
มีหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตำบล  ตามข้อ 1-7 และมีหน้าที่เพิ่มอีกดังนี้
1.   ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

2.   ให้มีโรงฆ่าสัตว์

3.   ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษา


4.   ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
5.   ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
6.   ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
7.   ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
มีหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลเมือง   ตามข้อ 1-12 และมีหน้าที่เพิ่มอีกดังนี้
1.   ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
2.   กิจการอย่างอื่น ซึ่งจำเป็นเพื่อการ สาธารณสุข

หมายเหตุ  โปรดดูรายละเอียด พ..บ เทศบาล มาตรา 50 มาตร 53และมาตรา 56 ประกอบ





2.    อำนาจหน้าที่ที่จะเลือกปฏิบัติ(โปรดดูรายละเอียดมาตรา 51,54 และ 57)
เทศบาลตำบล
เทศบาลเมือง
เทศบาลนคร
1.    ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
2.    ให้มีโรงฆ่าสัตว์
3.    ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
4.    ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
5.    บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
6.    ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
7.    ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าและแสงสว่างโดยวิธีอื่น
8.    ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
9.    เทศพาณิชย์
1.   ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
2.   ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
3.   บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
4.   ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
5.   ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
6.   ให้มีการสาธารณูปการ
7.   จัดทำกิจกรรม ซึ่งจำเป็นเพื่อการ  สาธารณสุข
8.   จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
9.   ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
10.  .ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
11.  ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมและรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
12.  เทศพาณิชย์
มีหน้าที่เช่นเดียวกันกับเทศบาลเมืองตามข้อ 1-12





3.    อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนด
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 กำหนดไว้ แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น
(1)      พระราชบัญญัติป้องกันภยันตรายอันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พุทธศักราช 2464
(2)      พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475
(3)      พระราชบัญญัติสาธารณสุข พุทธศักราช 2535
(4)      พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระทำปุ๋ย พุทธศักราช 2490
(5)      พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.. 2493
(6)      พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.. 2495
(7)      พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.. 2498
(8)      พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.. 2534
(9)      พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.. 2502
(10)  พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.. 2535
(11)  พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.. 2518
(12)  พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. 2522
(13)  พระราชบัญญัติป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ.. 2522
(14)  พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.. 2523
ฯลฯ
การบริหารงานของเทศบาล
การบริหารงาน ประกอบด้วย คณะเทศมนตรี จะทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายแนวทางการปฏิบัติงานในการพัฒนาท้องถิ่น จึงเห็นได้ว่าหน้าที่สำคัญในการวางแผนดำเนินงาน ก็คือคณะเทศมนตรี  เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมจัดทำให้เป็นไปตามแผนนั้น จึงเท่ากับว่าคณะเทศมนตรีรับผิดชอบในด้านการวาง นโยบายนั่นเอง เมื่อเปรียบเทียบกับการบริหารงานของรัฐบาลแล้ว คณะเทศมนตรีก็เช่นเดียวกับคณะรัฐมนตรี ซึ่งบริหารราชการด้านนโยบาย ส่วนงานประจำทั้งหมดย่อมอยู่ในความรับผิดชอบของปลัดเทศบาลหรือคล้ายกับปลัดกระทรวง
สำหรับสภาเทศบาล จะทำหน้าที่การตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งกับตัวบทกฎหมาย ซึ่งใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปในเขตเทศบาล หรือปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาล และตามที่กฎหมายบัญญัติและให้อำนาจไว้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในกรณีหลังนี้กฎหมายได้ให้อำนาจแก่สภาเทศบาลมากในการวางนโยบายและการควบคุมการบริหารงานของคณะเทศมนตรี การใช้อำนาจที่นับว่าสำคัญที่สุดของสภาเทศบาลในกรณีนี้คือ การพิจารณาตราเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี นับว่าสภาเทศบาลได้ใช้อำนาจอย่างสูงสุดในการบริหาร และควบคุมคณะเทศมนตรี

การบริหารบุคคล
ระบบการบริหารงานบุคคลของเทศบาลไทยเป็นระบบที่ให้มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลในระดับชาติของรัฐบาลเป็นผู้วางหลัก และควบคุมการดำเนินงานต่างๆเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของเทศบาลทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้โดยคาดหวังที่จะให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงในการบริหารการปกครองประเทศเป็นสำคัญ ส่วนในระดับที่ต่ำกว่าลงไปนั้น ให้มีการจัดตั้งอนุกรรมการบริหารงานบุคคลลดหลั่นการลงไป
จึงจะเห็นได้ว่าองค์กรบริหารบุคคลของเทศบาลตั้งแต่ในระดับชาติ ที่มีคณะกรรมการพนักงานเทศบาล(..)และคณะอนุกรรมการพนักงานเทศบาลประจำจังหวัด(.กท.)ในระดับจังหวัด ประกอบไปด้วย คณะ กรรมการหรืออนุกรรมการที่ประกอบด้วยข้าราชการประจำของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะข้าราชการจากกระทรวงมหาดไทย
การบริหารการคลัง
          กีรติพงศ์  แนวมาลี และ วิน พรหมแพทย์ได้สรุปการบริหารการคลังไว้ดังนี้
การที่เทศบาลจะดำเนินการต่างๆได้ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีรายได้มาเป็นของตนเอง
          ในการดำเนินงานของเทศบาล การจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายจะถูกควบคุมกำหนดโดยตรงจากรัฐบาล โดยรัฐบาลจะกำหนดว่า จะมีรายได้กี่ประเภท มีอะไรบ้าง และจะได้มาอย่างไรบ้าง เช่น ภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ฯลฯ และอัตราในการจัดเก็บภาษีรวมทั้งการแบ่งรายได้เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ประเภทภาษีให้แก่เทศบาล ส่วนกลางก็เป็นผู้กำหนดอีกด้วย
          เมื่อเทศบาลมีรายได้แล้วก็จำเป็นจะต้องกำหนดแนวทางในการใช้จ่ายในรูปเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี โดยความเห็นชอบจากสภาเทศบาลเสียก่อน และการตรวจสอบบัญชีจะเป็นการควบคุมสุดท้ายเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
          อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันปัญหาสำคัญด้านการคลังของเทศบาลก็คือ รายได้ไม่เพียงพอเนื่องจากว่าหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้เทศบาลทำนั้นมากเกินกว่าความสามารถในการหารายได้ของเทศบาลเอง รวมทั้งการแบ่งสรรภาษีที่รัฐจัดเก็บจากจังหวัด(เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต)ก็มีจำนวนน้อยเช่นกัน
          การที่ท้องถิ่นต้องประสบปัญหาเงินไม่เพียงพอ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออย่างมากโดยเฉพาะกรณี เงินอุดหนุนเทศบาลโดยในปีงบประมาณ 2538-2539 อัตรา 120 บาทต่อประชากร 1 คน ปี 2540 เพิ่มเป็น 150 บาทต่อประชากร 1 คน ส่วนในปี 2541 เหลือ 110 บาทต่อประชากร 1 คน*[3]
          ในปัจจุบัน ประเด็นของเงินอุดหนุนได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเพราะการที่รัฐบาลมุ่งเน้นช่วยเหลืออย่างข้างต้นนี้ นอกจากจะไม่ช่วยให้รัฐบาลพัฒนาการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นการสร้างพันธะอันหนาแน่นระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นให้มากขึ้นไปอีกและการให้เงินอุดหนุนเป็นรายหัวก็มีลักษณะที่ไม่ยุติธรรม กล่าวคือ ควรพิจารณาช่วยเหลือจากสภาพความเจริญ คือถ้ามีความเจริญน้อย ก็ควรให้ความช่วยเหลือมากกว่าท้องถิ่นที่เจริญมากกว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลางกับเทศบาล
          ตามปกติความสัมพันธ์อยู่ในรูปแบบการควบคุมกำกับดูแลโดยส่วนกลางใช้อำนาจนิติบัญญัติออกกฎหมายบังคับใช้ ซึ่งโดยสรุปความสัมพันธ์แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การกำกับดูแลการกระทำของเทศบาลและการกำกับดูแลองค์กรและบุคคลโดยหลักการนั้นการควบคุมกำกับดูแลจากส่วนกลางต้องเป็นการควบคุมในทางความชอบทางกฎหมายเท่านั้น
แผนภูมิ:ขั้นตอนกระบวนการงบประมาณของเทศบาล
หน่วยงาน




ปลัดเทศบาลจัดทำงบประมาณที่
หน่วยงานต่างๆเสนอมา




พิจารณาโดยคณะเทศมนตรี




เสนอสู่การพิจารณาขออนุมัติโดยสภาเทศบาล
ในรูปเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี




สภาเทศบาลอนุมัติและเสนอต่อ ผวจ




ฝ่ายบริหารนำเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีมาบริหาร ภายใต้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างเทศบาลกับหน่วยปกครองของอำเภอ
          ความสัมพันธ์ระหว่างเทศบาลกับอำเภอเป็นความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด จะเห็นได้ว่าเขตของเทศบาลนั้นซ้อนอยู่กับเขตการปกครองของอำเภอ ซึ่งหมายถึงว่าเขตการปกครองของเทศบาลอาจทับเขตการปกครองของอำเภอทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ แต่อย่างไรก็ดี การปกครองของอำเภอก็ยังมิหายไปแต่ยังคงทำหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติตาม
นโยนายเพื่อให้เกิดเทศบาลขึ้นในพื้นที่ของตน ฉะนั้น การจัดตั้งเทศบาลตำบลซึ่งเป็นก้าวแรกนั้น จะสำเร็จหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับอำเภอเป็นสำคัญ
          นอกเหนือจากความสัมพันธ์ในด้านนโยบายแล้ว พ... เทศบาล พ.. 2496 กำหนดให้นายอำเภอใช้มาตรการในการกำกับดูแลการกระทำของเทศบาลใน 2 ลักษณะ คือ
1.       การเพิกถอนหรือระงับการกระทำ ได้แก่ การสั่งยกเลิกการ
กระทำที่เทศบาลตำบลหรือกรณีทีคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีกระทำการของเทศบาลตำบลไปในทางที่อาจเสียหายแก่เทศบาล หรือแก่ราชการซึ่งก่อนการเพิกถอน นายอำเภอต้องชี้แจงแนะนำหรือตักเตือนก่อน
2.       การชี้แจง แนะนำ หรือตักเตือน เป็นมาตรการก่อนใช้มาตรการ
เพิกถอนหรือระงับการกระทำของเทศบาลตำบล ในกรณีที่พบคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีกระทำไปทางที่อาจเสียหายแก่เทศบาล หรือแก่ราชการ
การกำกับดูแลการกระทำของเทศบาล






การปรับปรุงแก้ไขกฎตามหมายเทศบาลตาม พ..บ เทศบาล (ฉบับที่ 10) ..2542
มีการเคลื่อนไหวการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย(... เทศบาล  พ..2496)เพื่อให้สอดคลองกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2540 ซึ่งได้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่11 ตุลาคม พ.. 2540 และมีประเด็นที่กฎหมายเทศบาล (... เทศบาล พ..2496)ไปขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญสำหรับประเด็นที่มีการปรับปรุงแก้ไข ได้มีการออกเป็น พ... เทศบาล(ฉบับที่10) ..2542 มีผลบังคับใช้เมื่อ 11 มีนาคม 2542 มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.       แก้ไขวางระการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลจาก 5 ปี เป็น 4 ปี
2.       เพิ่มอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในด้านบำรุงรักษาศิลป์วัฒนธรรมจารีตประเพณี ภูปัญญา
ท้องถิ่น
การศึกษา และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับเทศบาลนคร ได้เพิ่มอำนาจในด้านผังเมือง การควบคุมการก่อสร้าง การสาธารณสุข และการท่องเที่ยว
3.       เพิ่มอำนาจราษฎรในการถอดถอนกรรมการบริหารหรือสมาชิกสภาและไห้ราษฎรมีสิทธิ
ร้องขอ ต่อประธานสภาให้พิจารณาออกข้อบังคับ
4.       เพิ่มเติมกรณีเทศมนตรีทั้งคณะออกจากตำแหน่งให้ผู้ว่าราชการ จังหวัดแต่งตั้งสมาชิก
สภาเทศบาลด้วยความเห็นชอบของสภาเป็น คณะเทศมนตรีชั่วคราว
5.       เพิ่มเติมกรณีคณะเทศมนตรีหรือหรือเทศมนตรีถูกสั่งพักระหว่างถูกสอบสวน ให้ผู้ว่า
ราชการจังหวัดแต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ด้วยความเห็นชอบของสภาเป็นคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีชั่วคราว
6.       เพิ่มเติมลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาเทศบาลจะต้องไม่มีส่วนได้เสียทั้งทางตรง
ทางอ้อมในสัญญาหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับเทศบาล
7.       แก้ไขการพ้นจากสมาชิกภาพสมาชิกสภาเทศบาล โดยสภาเทศบาลมีมติ 3 ใน 4 ให้ออก
จากตำแหน่งได้ หากเห็นว่าประพฤติเสื่อมเสีย ก่อความไม่สงบเรียบร้อยแก่เทศบาล หรือกระทำการเสื่อมเสียประโยชน์สภาเทศบาล
8.       เพิ่มเติมสิทธิราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนและผู้บริหารท้องถิ่นพ้นตำแหน่ง
ได้
9.       เพิ่มเติมกรณีเทศมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง แล้วไม่อาจตั้งคณะเทศมนตรีได้โดยมี
สาเหตุจากสภาเทศบาล จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภาเทศบาล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานท้องถิ่นในจังหวัดนั้นเป็นคณะเทศมนตรีชั่วคราว
10.   กรณีไม่มีคณะเทศมนตรีให้ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวเท่าที่จำเป็นได้
11.   แก้ไขเพิ่มเติมในกรณีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ประชาชนในเขตเทศบาลหรือของประเทศ
โดยส่วนรวมผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งยุบสภาเทศบาลได้
โฉมหน้าเทศบาลในยุค 2000(2543)
               พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11) .. 2543 ได้กำหนดโครงสร้างเทศบาลให้มีองค์ประกอบ ดังนี้
1.    โครงสร้างให้เลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงจากประชาชนในเขตเทศบาลนคร และเทศบาลเมือง ภายหลังที่สมาชิกสภาเทศบาลนครหรือเทศบาลเมืองครบตามวาระ หรือมีเหตุต้องยุบสภาไป
2.    เทศบาลตำบล ให้มีทางเลือกว่า เทศบาลแห่งใดจะมีการบริหารในรูปแบบคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรี ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาลแต่ละแห่ง
              
               จึงกล่าวได้ว่า เทศบาลใดจะใช้โครงสร้างแบบคณะเทศมนตรี ก็จะมีโครงสร้างดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น แต่หากเทศบาลใดใช้โครงสร้างแบบนายกเทศมนตรี นายกเทศมนตรีก็จะมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และคณะผู้บริหารจะประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ที่มาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรีตามจำนวน ดังนี้
               เทศบาลตำบล           ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 2 คน
               เทศบาลเมือง            ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 3 คน
               เทศบาลนคร             ให้มีรองนายกเทศมนตรีได้ไม่เกิน 4 คน
               และกฎหมายได้ให้อำนาจนายกเทศมนตรีแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีอีกด้วย
               อย่างไรก็ตาม พ...เทศบาล (ฉบับที่ 11) .. 2543 ระบุว่า วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป ก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงทุกแห่งหรือจะใช้โครงสร้างแบบให้สมาชิกสภาเทศบาลเป็นผู้เลือกคณะเทศมนตรี ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนโดยการลงประชามติ
               การลงประชามติดังกล่าว กฎหมายกำหนดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนั้น ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในเขตเทศบาลนั้น ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้จัดให้มีการลงประชามติ ทั้งนี้ การยื่นคำร้องดังกล่าวต้องดำเนินการภายใน 360 วัน ก่อนครบวาระของสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ขณะนั้น และจะกระทำในวาระของสภาเทศบาลนั้นได้เพียงครั้งเดียว
บทวิเคราะห์เทศบาล
               ธเนศวร์  เจริญเมืองได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของเทศบาลไว้ ดังนี้
               60 กว่าปีที่ผ่านมา จากผลการศึกษาจำนวนไม่มากนัก เราพอจะประมวลปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของเทศบาลได้ดังนี้
               ประการแรก เทศบาลถูกแทรกแซงและควบคุมโดยรัฐบาลกลางมากเกินไป โดยเฉพาะทางด้านกฎหมาย ทำให้เทศบาลมีอำนาจจำกัด แต่มีหน้าที่มาก มีงบประมาณไม่เพียงพอ
แผนภูมิ: เทศบาลตำบล ตาม พ... เทศบาล (ฉบับที่ 11) .. 2543


 





แผนภูมิ:โครงสร้างเทศบาล ... เทศบาล (ฉบับที่ 11) 2543





มาตรการที่รัฐบาลกลางใช้แทรกแซงและควบคุมเทศบาลมี 3 ด้าน คือ ด้านการปกครอง ด้านการคลัง และด้านการบริหาร
1.      ในด้านการปกครอง  รัฐบาลกลางสามารถยุบสภาเทศบาล ปลดฝ่ายบริหาร ปลดสมาชิก
สภาเทศบาลแต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ควบคุมพนักงานของเทศบาล และเป็นผู้อนุมัติเทศบัญญัติหรือข้อบังคับต่างๆทั้งๆเทศบัญญัติเป็นการกำหนดข้อบังคับภายใต้กรอบกฎหมายระดับชาติ
          ที่ผ่านมา รัฐบาลกลางได้เข้าแทรกแซงเทศบาลหลายครั้งและหลายรูปแบบในทุกจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการยึดอำนาจ ล้มระบบรัฐสภา เช่นที่เทศบาลนครเชียงใหม่มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในปี พ..2496-2501และ 2501-2517และการยุบสภาพร้อมกับแต่งตั้งคนจำนวนหนึ่งเป็นสมาชิกสภาทั้งหมดในปี พ..2517 แทนที่จะให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้ง
          ตามกฎหมายเทศบาล ปลัดเทศบาลเป็นข้าราชการของรัฐบาลกลาง มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานของเทศบาลหลายระดับ ส่วนผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งกลับไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชาปลัดเทศบาลและพนักงานของเทศบาลตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไป ผลก็คืออำนาจของผู้ที่มาจากการเลือกตั้งโดยคนในท้องถิ่นมีจำกัด อำนาจการบริหารเทศบาลส่วนหนึ่งอยู่ในมือของรัฐบาลกลางมาโดยตลอด โดยผ่านทางปลัดเทศบาล เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังตั้งคณะกรรมการบริหาร งานบุคคลของข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือคณะกรรมการพนักงานเทศบาล(..)และกรรมการส่วนใหญ่เป็นข้าราชการของรัฐบาลกลางทำให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่นฟังรัฐบาลกลางแทนที่จะรับฟังและปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้บริหารในท้องถิ่น ฯลฯ

2.      ในด้านการคลัง  รัฐบาลกลางกำหนดประเภทของภาษีอากรอัตราของภาษีอากรและ
ค่าธรรมเนียมหลายอย่าง ยังผลให้มีรายได้จำกัด ไม่สามารถหารายได้ทางอื่นที่กฎหมายมิได้กำหนด ผลก็คือ เทศบาลมีรายได้น้อยและต้องพึ่งเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางซึ่งเต็มไปด้วยเงื่อนไขผูกมัดที่รัฐบาลกำหนดไว้ การมีรายได้น้อยย่อมทำให้เทศบาลมิอาจทำงานให้ท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็เท่ากับไม่อาจสร้างความเจรินให้กับเทศบาลได้มากนัก และการรับเงินอุดหนุนยังทำให้เทศบาลขาดความเป็นอิสระในการกำหนดโครงการด้วยตนเองจากการศึกษา งบประมาณแต่ละปีเกือบ 75%ถูนำไปใช้เป็นเงินเดือนของพนักงานและการจัดซื้ออุปกรณ์ภายในเทศบาล เช่นนี้แล้วก็ยิ่งทำให้เทศบาลมีขีดกำกัดอย่างมากในการบริหารพัฒนาเมือง




3.      ในด้านการบริหาร  รับบาลกลางควบคุมการทำงานของสภาเทศบาลและฝ่ายบริหาร
ด้วยการยับยั้งร่างกฎหมายของเทศบาล (โดยผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงหมาดไทย)ผู้ว่าราชการ ฯมีอำนาจแนะนำและตรวจสอบการทำงานของเทศบาล และสามารถเพิกถอนหรือระงับการทำงานของฝ่ายบริหารเทศบาลได้ทุกเมื่อ
          ประการที่สอง ปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจนระหว่ารัฐบาลกลางกับเทศบาล ทำให้เกิดช่องว่างในการปฏิบัติ เช่น ในทางกฎหมายตัวแทนรัฐบาลมีอำนาจและหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเทศบาล แต่ในทางปฏิบัติผู้บริหารเทศบาลอาจมีความใกล้ชิดกับผู้นำของรัฐบาลกลางทำให้ข้าราชการส่วนภูมิภาคไม่กล้าตรวจสอบหรือขัดขวาง หรือข้าราชการส่วนภูมิภาคหย่อนประสิทธิภาพในการทำงานไม่ยอมตรวจสอบหรือแนะนำการทำงานของเทศบาลด้วยเหตุผลบางประการ

          ประการที่สาม  ปัญหารูปแบบของเทศบาล โครงสร้างของเทศบาลที่สภาเทศบาลเป็นผู้เลือกฝ่ายบริหารด้วยเสียงเกินครึ่งหนึ่ง โดยหลักการการทำงานของฝ่ายบริหารถูกควบคุมโดยตรงจากสมาชิกสภาฝ่ายค้าน ในแง่นี้โครงสร้างดังกล่าวย่อมหวังว่า 1) ฝ่ายบริหารจะมีคุณธรรมในการทำงาน 2) สมาชิกสภาฝ่ายค้านมีบทบาทในการตรวจสอบและควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารแต่ในทางปฏิบัติสมาชิกสภาฝ่ายค้านก็ไม่อาจทำอะไรได้มากนักเพราะฝ่ายบริหารมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ใดๆก็ได้ ส่วนการลงมติ สมาชิกฝ่ายค้านซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยก็ไม่อาจทำอะไรได้ ในเมื่อฝ่ายเสียงข้างมากมักเข้าข้างฝ่ายบริหารซึ่งเป็นพวกของตนเองในแทบทุกๆกรณี และสภาพเช่นนี้มิใช่จะเกิดขึ้นในระดับเทศบาล หากยังปรากฏเป็นข่าวเนืองๆในระดับสภาระดับชาติ
          ในภาวะดังกล่าว คำถามที่ว่าถ้าเช่นนั้นรูปแบบเทศบาล-นายกเทศมนตรีที่หลายประเทศใช้กันอยู่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร คำตอบก็คือ สมาชิกสภาไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายค้านมีคุณธรรมมากพอที่จะทำงานด้วยความรับผิดชอบต่อส่วนรวมไม่ใช่ทำเพื่อพวกพ้อง ถ้าจะถามต่อว่าคุณธรรมนั้นมาจากไหน เหตุใดนักการเมืองไทยจึงขาดคุณธรรม คำตอบก็น่าจะอยู่ที่ความเข็มแข็งของพลังฝ่ายประชาชนที่จะตรวจสอบและถอดถอนนักการเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้วมีสูงนักการเมืองในประเทศเหล่านั้นจึงไม่อาจทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือเข้าข้างพรรคพวกตนเองอย่างโจ่งแจ้ง ในกรณีที่นักการเมืองท้องถิ่นขาดคุณธรรม   รูปแบบสภา-นายกเทศมนตรีที่เอื้อประโยชน์ให้แก่เสียงข้างมากอยู่แล้วจึงยิ่งจำกัดบทบาทของฝ่ายเสียงข้างน้อยที่เป็นฝ่ายค้านและสนับสนุนให้ฝ่ายเสียงข้างมากบริหารงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีการตรวจสอบอย่างเพียงพอจากฝ่ายค้าน



ประการที่สี่  ปัญหาประชาชนขาดความสนใจทางการเมือง ขาดขาดบทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่สนใจใช้สิทธิเลือกตั้งเท่าที่ควร โดยเฉพาะในเขตเทศบาลที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีคนต่างถิ่นอพยพเข้าไปอยู่มาก ไม่สนใจติดตามการทำงานของเทศบาล และไม่มีบทบาทตรวจสอบควบคุมการทำงานของนักการเมืองท้องถิ่น
          เมื่อประชาชนมีบทบาททางการเมืองจำกัด ผลก็คือ พวกเขาไปลงคะแนนเสียงไม่มากนักผู้สมัครที่มีคะแนนจัดตั้งจึงได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อประชาชนไม่สนใจติดตามการทำงานของเทศบาล พลังของสมาชิกสภาเทศบาลฝ่ายค้านก็ยิ่งน้อยลงไปอีก ขณะเดียวกัน ก็ยิ่งเปิดโอกาสให้ฝ่ายบริหารแสวงหาประโยชน์จากการบริหารได้อย่างเต็มที่ ผลการศึกษาเรื่ององค์กรท้องถิ่นกับเทศบาลในปี พ.. 2536 โดย JurgenRutandและ ม..พันธุ์สูรย์ ลดาวัลย์ ที่ปรึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่และนครสวรรค์ได้ตอกย้ำข้อสังเกตข้างต้น โดยพบว่าองค์กรท้องถิ่นในทั้งสองเมืองมีบทบาทจำกัดในการเสริมสร้างอำนาจท้องถิ่น ยังไม่มีเทคนิคและความรู้ต่างๆในการบริหารเมืองมีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้นบ้างเมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต แต่ก็ยังมีจำกัดในปัจจุบัน

ตารางแสดงสถิติผู้มาใช้สิทธิในการเลือกตั้งในระดับประเทศและเทศบาล

วันเดือนปี
%คนเลือกสส.
%คนเลือก ส.. ทั่วประเทศ

เชียงใหม่

นครสวรรค์
2510
10 .. 2512
2517
22 เม.. 2522
2523
18 เม.. 2526
2528
24 .. 2531
2533
2 .. 2538
-
49.16
-
43.99
-
50.76
-
163.56
-
62.04
49.8
-
54.0
-
40.9
-
46.5
-
48.8
-
33.3
-
28.5
-
22.6
-
37.5
-
42.2
-
40.5
-
37.4
-
21.9
-
n.a.
-
28.3
-

บทบาทอันจำกัดของสื่อมวลชนยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมืองระดับท้องถิ่นน้อยมากเพาระหากสื่อมวลชนตกอยู่ในมือกลุ่มบางกลุ่ม หรือมุ่งแต่เสนอข่าวอาชญากรรม ภาพโป๊ และข่าวสังคมบริการ ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้กระตุ้นประชาชนให้มีความรู้ว่าองค์กรการปกครองท้องถิ่นทำอะไรบ้าง และมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร ก็เท่ากับว่าสื่อมวลชนมีส่วนในการมอมเมาประชาชนไม่ให้สนใจปัญหาต่างๆที่สำคัญในท้องถิ่นนั้นเอง
          ประการที่ห้า  การที่เทศบาลมีงบประมาณจำกัด มีอำนาจไม่เต็มที่ แต่มีภารกิจมาก และถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลางมาก ทำให้การเมืองท้องถิ่นเป็นเวทีสำหรับนักการเมืองระดับสอง เป็นสนามการเมืองแบบงานอดิเรกของข้าราชการบำนาญ และเป็นทางผ่านของนักการเมืองรุ่นใหม่ที่จะก้าวไปสู่การเมืองระดับชาติ แต่ไม่ค่อยเป็นเวทีให้ผู้มีความสามรถจริงจังมาอุทิศตน พัฒนาเมืองให้เป็นเมืองแบบอย่างให้คนทั้งประเทศได้เรียนรู้ว่าเมืองมีความสำคัญต่อชีวิตประชาชนอย่างไร 60 กว่าปีมานี้ ไม่เคยมีเขตเมืองเขตใดที่แสดงเอกลักษณ์ของเมืองหรือความงดงามน่าอยู่ที่แตกต่างไปจากเมืองอื่นๆ มีผู้นำที่มีความรู้ความสามารถ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้และได้รับการร่วมมือจากประชาชนอย่างจิงจัง เขตเมืองทุกจังหวัดกลับมีลักษณะเหมือนกันหมด เช่น มีศาลากลางจังหวัด ที่ทำการอำเภอเมืองที่มีรูปแบบเหมือนกัน อาคารที่ทำงานของเทศบาลก็หมือนกัน ทั่วประเทศ มีร้านค้าล้อมรอบตลาด มีหาบเร่แผงลอยเกะกะทางเท้าเหมือนกัน เขตเมืองไม่ค่อยมีต้นไม้หรือสวนสาธารณะเหมือนกัน ขาดโรงละคร อาคารแสดงดนตรี ไม่ค่อยมีกิจกรรมเสนอต่อประชาชน และอาคารร้านค้ามีรูปแบบเหมือนกันทั้งประเทศ อาคารบ้านเรือนเก่าๆไม่ได้รับการรักษาดูแล เป็นต้น
          ประการที่หก  คือการที่เทศบาลเป็นหน่วยงานปกครองท้องถิ่นที่กระทรวงมหาดไทยและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจน้อยที่สุดในแง่ของการปฏิรูปองค์กร เนื่องจากถูกมองมาตลอดว่าเทศบาลเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูงกว่ารูปแบบการปกครองท้องถิ่นอื่นๆและเทศบาลส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับเขตเมืองที่กำลังเติบโต คนจำนวนไม่น้อยก็เลยเข้าใจว่าเทศบาลเป็นหน่วยงานปกครองท้องถิ่นที่ไม่ค่อยมีปัญหา ฝ่ายผู้นำของกระทรวงมหาดไทยเองก็อ้างว่าต้องสร้างและพัฒนาประชาธิปไตยที่รากฐานของสังคมคือชนบท ก็เลยไม่เห็นความสำคัญของการปฏิรูปโครงสร้างเทศบาล แต่หันไปพูดเรื่องสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล และการปรับปรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้งๆที่เมืองแต่ละแห่งในสังคมไทยกำลังจะเผชิญปัญหาใหญ่ ที่สำคัญก็คือระบบเทศบาลไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีบทบาททางการเมืองมากกว่านี้ และประชาชนก็ถูกจำกัดด้วยปัจจัยอื่นๆทำให้พวกเขาไม่ให้ความสนใจในปัญหาการเมืองท้องถิ่นอย่างเพียงพอ*[4]

เทศบาลในอนาคต  ต้องเลือกผู้บริหารโดยตรง
          เฝ้าติดตามการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเทศบาล ในช่วงของรัฐบาลปัจจุบัน(นายชวน หลีกภัย  นายกรัฐมนตรี)แม้จะอ้างว่าเพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักการในการจัดระเบียบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2540 ก็ตาม
          แต่กลับเห็นว่า การแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเทศบาล(...เทศบาล…….)ดังกล่าวไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆให้ปรากฏ เพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆเท่านั้น
          โดยเฉพาะเมื่อได้พิจารณาจากประเด็นที่ได้ผ่านการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเทศบาล พ..2496(เดิม)ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ดังนี้
1.       แก้ไขเพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาเทศบาล
จากคราวละห้าปีเป็นคราวละสี่ปี
2.       เพิ่มเติมการกำหนดข้อห้ามไม่ให้สมาชิกสภาเทศบาลเข้ามีส่วน
ได้เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในสัญญา หรือกิจการต่างๆ ของเทศบาล
3.       แก้ไขเพิ่มเติมเหตุแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภา
เทศบาลในกรณีที่ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่ง
4.       แก้ไขเพิ่มเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งของเทศมนตรีทั้งคณะ
เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสภาเทศบาล
5.       แก้ไขเพิ่มเติมแห่งการสิ้นสุดความเป็นเทศมนตรีลงเฉพาะตัว
โดยเพิ่มการให้ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลสามารถลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งได้
6.       แก้ไขเพิ่มเติมให้เทศมนตรีซึ่งพ้นจากตำแหน่ง เพราะราษฎรผู้มี
สิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลลงคะแนนเสียงให้พ้นจากตำแหน่งไม่สามารถเป็นนายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรีได้อีกตลอดวาระของสภาเทศบาลนั้น
7.       แก้ไขเพิ่มเติมวิธีการแต่งตั้งคณะมนตรีหรือเทศมนตรีขึ้น เพื่อ
ปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวแทนคณะเทศมนตรีหรือเทศมนตรีในกรณีที่ถูกผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่
8.       แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของเทศบาลตำบลและเทศบาลนครให้
สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
9.       แก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสามารถยุบ
สภาเทศบาลได้โดยต้องเป็นไปเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตเทศบาลหรือประโยชน์ของเทศบาลและต้องแสดงเหตุผลไว้ในคำสั่งด้วย
จึงเห็นว่าแนวทางการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายเทศบาลตามประเด็นต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้น ไม่ได้แสดงถึงการแก้ไขปัญหาของเทศบาลหรือการวางแนวทางการพัฒนาเทศบาลอย่างเป็นระบบให้ก้าวไปในอนาคตมากกว่าที่เป็นอยู่อย่างปัจจุบัน
          โดยเฉพาะเมื่อลองพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและข้อเสนอแนวทางการพัฒนาเทศบาลในอนาคต และจากผลการจัดประชุมนายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาลกลุ่มภาคเหนือเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540 ซึ่งประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเทศบาลได้ตอกย้ำให้เห็นปัญหาที่เกี่ยวกับเทศบาลดังนี้
          ประการแรก  บริหารเทศบาลส่วนใหญ่ยังมีแนวความคิดพึ่งพิงกระทรวงมหาดไทยเป็นด้านหลัก ดังนั้น การคาดหวังจะให้ผู้นำหรือผู้บริหารเทศบาลต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของเทศบาลอย่างจริงจังเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้เพราะผู้นำเทศบาลส่วนใหญ่จะพยายามเอาใจกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย เพื่อหวังที่จะได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงมหาดไทยในแต่ละปีเท่านั้น
          นอกจากนั้น ตลอดเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ปัญหาที่สำคัญในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด โดยเฉพาะอำนาจของเทศบาลในการบริหารท้องถิ่น เช่น การวางผังเมือง การสร้างและดูแลถนนหนทางในเขตเมือง การจัดการศึกษา การสาธารณสุข และการจัดระบบขนส่งมวลชนยังมีขีดจำกัด เพราะแทนที่เทศบาลจะเป็นผู้ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าวโดยตรง กลับกลายเป็นว่ารัฐบาลกลางเข้ามาดำเนินงานโดยผ่านการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเสียมากกว่า
          การรวมตัวของเทศบาลในรูปของสันติบาตรเทศบาล ส่วนใหญ่มีบทบาทน้อยมากในการต่อสู้และผลักดันเพื่อผลประโยชน์ของเทศบาลเอง ในการประชุมสันนิบาตทั่วประเทศในแต่ละปี ไม่เคยสนใจในการตรวจสอบบัญชีในการจ่ายเงิน ตรวจสอบอำนาจหน้าที่และบทบาทของเทศบาลที่ควรจะมีในการบริหารและจัดการท้องถิ่น
ประการที่สอง การให้โครงสร้างผู้บริหารเทศบาล (นายกเทศมนตรี) มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม (จากมติของสมาชิกเทศบาล) นั้นทำให้ผู้บริหารเทศบาลกับประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งห่างเหินกัน ประชาชนไม่ค่อยรู้จักนายกเทศมนตรี ไม่มีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้บริหาร และไม่มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อชุมชน จึงทำให้ขาดพลังที่ต่อให้เกิดการตื่นตัวของประชาชน ทำให้ฝ่ายบริหารไม่เข้มแข็งพอ เพราะต้องฟังสมาชิกเทศบาล ที่สำคัญนายกเทศมนตรีที่มาจากมติของเสภาเทศบาล มักมีการซื้อเสียงและต่อสู้ทางการเมืองบ่อยครั้ง เพื่อจะได้ตำแหน่งนายกเทศมนตรี*[5]
ข้อเสนอแนะแนวทางของเทศบาลในอนาคตนั้น ควรปรับโครงสร้างที่มาจากผู้บริหารเทศบาล โดยกำหนดให้นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง เพื่อให้การบริหารมีความเข้มแข็งและชัดเจน สามารถบริหารงานในท้องถิ่น ได้มากกว่าเดิมและประชาชนมีความใกล้ชิดกับผู้บริหารโดยตรง นอกจากนั้นควรยกเลิกการรวมตัวของสมาชิกเทศบาลในรูปแบบสันนิบาตเทศบาล เพราะสันนิบาตเทศบาลมักจะถูกชี้นำและครอบงำของการปกครองกระทรวงมหาดไทย จึงขอเสนอแนะให้มีการทบทวนเพื่อมีการจัดตั้งขึ้นใหม่ในรูปแบบของสมาคมเทศบาลอย่างอิสระโดยตนเอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันด้วยจิตสำนึกของสมาชิกเทศบาลที่สามารถทำงานเพื่อเทศบาลได้อย่างเต็มที่และเข้มแข็ง


เทศบาล .. ๒๐๐๐ สรุปบทเรียนในอดีตและก้าวไปข้างหน้า
ขณะที่สังคมไทยและรัฐบาลยุค ค.. 1999 (นายชวน หลีกภัย) พุ่งเป้าความสนใจไปที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)กลับดูว่าละเลยความสนใจ ความสำคัญในการพัฒนาการปกครอง และการจัดการในชุมชนเขตเมือง หรือการละเลยการปกครองท้องถิ่นในเขตเมืองไปอย่างน่าเสียดายโดยเฉพาะการปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองอย่างเทศบาล
ทั้ง ๆ ที่ลักษณะความเป็นชุมชนเมืองในสังคมไทย (เขตเทศบาล) กำลังขยายตัวและเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าการขยายตัวของชุมชนในเทศบาล รวมทั้งการขยายตัวของชุมชนเมืองพิเศษต่าง ๆ เช่น ชุมชนเมืองท่องเที่ยว ชุมชนเมืองอุตสาหกรรม เมืองเกาะสมุย เมืองพัทยา และเมืองอื่นในลักษณะเดียวกัน ซึ่งควรมีความหลากหลายในมิติรูปแบบการบริหารและการจัดการเมือง
ในอนาคตอันใกล้ ค.. ๒๐๐๐ (2543) รัฐบาลไทยควรหันกลับมาทบทวนหรือสรุปบทเรียน และวางแผนอนาคตรัฐบาลให้ก้าวไปข้างหน้าควรจะทำอย่างไรให้ชุมชนเมืองน่าอยู่ น่าพักอาศัย และผู้คนมีสุขภาพชีวิตที่ดี ทั้งในการดำรงชีวิตอยู่ในบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง การจัดการสภาวะสิ่งแวดล้อม สุขภาวะอนามัย สวนสาธารณะ สนามกีฬา และสุขภาพจิตใจ
.. ๒๐๐๐ เราคงต้องสนใจว่า จะมีการบริหารจัดการอย่างไร เพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนเมืองดีขึ้น โดยเฉพาะกลไกการปกครอง บริหาร พัฒนา ซึ่งต้องรับผิดชอบเขตเมืองต่าง ๆ
การสรุปบทเรียน การเมืองการบริหารรูปแบบเทศบาล เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อการก้าวหน้า แม้ว่าปัจจุบัน(1999) จะอ้างว่าได้มีการแก้ไขกฎหมาย พ... เทศบาลไปแล้วก็ตามแต่ก็ยังเห็นว่าการแก้ไขกฎหมาย พ... เทศบาลก็มิได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาระบบเทศบาลให้พัฒนาไปทากนัก
ประการแรก การยึดรูปแบบมาตรฐาน การยึดรูปแบบให้ผู้บริหารเทศบาลมาจากมติของสภาเทศบาล ถือว่าได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดว่าก่อให้เกิดปัญหาการบริหารงาน และทำให้ขาดประสิทธิภาพในการบริหารเทศบาล และทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับฝ่ายบริหาร ทำให้มีการต่อรองผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งประชาชนมีความรู้สึกว่าไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารโดยตรง  ทั้งที่ในเขตเมืองนั้นมีความผูกพันและใกล้ชิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองค่อนข้างจะง่าย
ถึงเวลาแล้วในปี ค.. ๒๐๐๐ น่าจะให้ชุมชนเมืองเขตเทศบาลควรมีการเลือกตั้งผู้บริหารเทศบาล (นายกเทศมนตรี)โดยตรง เป็นการใช้รูปแบบผู้บริหารเข้มแข็ง (Strong Executive Form) มาใช้ ซึ่งจะเกิดผลดีมากกว่าวิธีการ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันดังนี้
1.       ทำให้มีการแบ่งงานชัดเจนระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ทำให้ฝ่ายบริหารเข้มแข็งกว่าเดิม ฝ่ายนิติบัญญัติทำงานได้มีประสิทธิภาพ และมั่นคงมากกว่า
2.       ทำให้การแข่งขันหาเสียงเข้มข้นกว่า และทำให้เกิดการแข่งขันด้านนโยบายมีมากกว่า
3.       ทำให้ประชาชนตื่นตัวสูงทางการเมืองที่จะเลือกตั้งผู้บริหารโดยตรง
4.       ระบบการเลือกตั้งโดยตรงทำให้ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบงานมากกว่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.       ระบบการเลือกตั้งจะช่วยสร้างนักการเมืองที่มีประสิทธิภาพมีคุณภาพมากขึ้น และจะทำให้การปกครองท้องถิ่น สามารถเป็นนักการเมืองสู่ระดับชาติ

              ประการที่สอง เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีปัญหาอยู่ตลอดเวลา เมื่อพิจารณาการใช้สิทธิเลือกตั้งของของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พบวามีผู้มาใช้สิทธิ 30 – 50 เท่านั้น
          ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช ปรากฏว่ามีผู้มาใช้สิทธิไม่ถึงครึ่ง กล่าวคือมีผู้มาใช้สิทธิ ร้อยละ 42 เท่านั้น ซึ่งเป็นประเด็นปัจจัยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นน้อยและขาดความผูกพัน และขาดความรู้สึกเป็นเจ้าของ เกิดความเบื่อหน่าย เพราะอาจไม่เห็นประโยชน์อะไรที่ได้จากเทศบาลมากนัก และประสบการณ์ที่ผ่านมาผู้ที่กุมอำนาจทั้งฝ่ายสภาเทศบาล และผู้บริหารเทศบาล  มักเป็นกลุ่มที่มีผลประโยชน์ ในรูปกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ และผู้มีอิทธิพลรวมตัวเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ จนทำให้ขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนที่หลากหลาย  ที่จะช่วยกันและผลักดันสร้างสรรค์เมืองให้น่าอยู่ และขาดการตรวจสอบโดยประชาชน
          ดังนั้นการรณรงค์ให้เกิดประชาคมเมือง เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงการพัฒนา และการสร้าสรรค์เมืองให้น่าอยู่น่าท่องเที่ยวมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดการเคลื่อนไหวของประชาคมเมือง ในปี ค.. ๒๐๐๐
          ประการที่สาม ต้องปลดปล่อยทรรศนะแบบอำนาจนิยม ทั้งรัฐบาลและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ เพื่อให้เทศบาลมีอิสระทางการคิด วิธีคิดของตัวเอง รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องควรเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนให้เทศบาล บริหารจัดการเมืองได้เต็มที่ มิใช่เป็นผู้ใช้อำนาจบังคับบัญชามากกว่าการกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย
          มิใช่วางกรอบความคิดให้เทศบาลหวังพึ่งพิงรัฐบาล หรือหวังจะขอเงินอุดหนุนจากรัฐบาลฝั่งเดียว
          แต่เทศบาลในปี ค.. ๒๐๐๐ ต้องคำนึงถึงการแสวงหาความร่วมมือทั้งภาครัฐเอกชน และภาคประชาคมเมือง ให้เห็นถึงประสิทธิภาพขีดจำกัด เพื่อบริหารเมืองไปสู่อนาคต ทำให้พื้นที่เขตเมืองอันเป็นเขตเทศบาลน่าอยู่ น่าอาศัยโดยโครงสร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวในลักษณะประชาคมอย่างต่อเนื่อง

ประชาคมเทศบาลต้องการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง
มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องทั้งในการประชุมสัมมนาสมาชิกสภาเทศบาล และผู้บริหารเทศบาล นายกเทศมนตรี ทั้งในระดับภาคและระดับประเทศ จำนวน 149 เทศบาล (หรือ 149 แห่ง) และยืนยันตรงกันทุกครั้งว่าต้องการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง
ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 เป็นต้นมาพบว่ายังมีกฎหมาย พ... เทศบาล พ.. 2496 ในหลายประเด็นที่ยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 ซึ่งแรงกดดันจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวและแรงกดดันจากประชาคมเทศบาลและสมาชิกสภาเทศบาล ส่งผลให้กระทรวงมหาดไทยต้องปรับบทบาทและภารกิจ โดยเฉพาะสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเพื่อต้องการผลักดันกฎหมาย พ... เทศบาล พ..2496 เพื่อการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง
ล่าสุดมีการเคลื่อนไหวจากรัฐบาลกระทรวงมหาดไทยถือเป็นการเคลื่อนไหวที่ดี ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ นั่นคือการเสนอแก้ไข พ... เทศบาล พ.. 2496 (เพิ่มเติม) ในประเด็นที่ให้เลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ซึ่งอยู่ในขั้นพิจารณาอยู่ของคณะรัฐมนตรี
เหตุผลที่มักพูดกันในการเสนอให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ก็คือ การมองว่าการบริหารของโครงสร้างบริหารของเทศบาล พ... เทศบาล พ.. 2496 กำหนดให้นายกเทศมนตรี รับผิดชอบบริหารกิจการเทศบาล โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า และเทศมนตรีเป็นผู้ร่วมในฝ่ายบริหาร ซึ่งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีต้องมาจากความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาล
มีเหตุผลที่สำคัญเห็นว่า การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ทำให้นายกเทศมนตรีต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบของประชาชนมากขึ้น ต้องรับผิดชอบนโยบายที่แถลงไว้ ต้องใกล้ชิดประชาชน ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ  และประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ทั้งนี้มีการเสนอแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงได้ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายปกครองท้องถิ่นและกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นแล้วแต่รอขั้นตอนของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น
ทราบข่าวว่ามีข้าราชการเก่าแก่และเคยคลุกคลีกับกระทรวงมหาดไทยบางราย อยู่ว่าง ๆ ก็เที่ยววิ่งเต้นเสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจเพื่อคัดค้านการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงด้วยเหตุผลเดิมๆ ว่ากลัวการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศ ซึ่งข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่าเป็นเพียงแค่เปลี่ยนระบบวิธีการเลือกตั้งเท้านั้น และในสังคมไทยก็เคยเลือกตั้งผู้บริหารโดยตรง กรณีการเลือกตั้งผู้บริหารกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นการเลือกนายกเทศมนตีโดยตรงนั่นเอง
ซึ่งหากพิจารณาในสาระรายละเอียดในยกร่างแก้ไข พ... เทศบาล ในประเด็นให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง จะประกอบด้วย

1.       การแก้ไขโครงสร้างทศบาลให้ประกอบด้วยสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี
2.       กำหนดอำนาจหน้าที่นายกเทศมนตรีไว้ให้ชัดเจนเช่นเดียวกับอำนาจของผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร
3.       ให้นายกเทศมนตรีสามารถแต่งตั้งนายกเทศมนตรี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่
นายกเทศมนตรีได้รับมอบหมายในนามนายกเทศมนตรี
4.       กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายกรัฐมนตรีกับสภาเทศบาล
5.       กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขจุดอ่อนของนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง  ซึ่ง
กฎหมาย พ... เทศบาลเพื่อเลือกตั้งนายก เทศมนตรีโดยตรง กำลังอยู่ในขั้นตอน การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
              จึงเห็นว่า หากได้มีการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ดีกว่าเดิม ประชาชนในเขตเทศบาลได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่และมีส่วนร่วม ซึ่งก็เป็นความต้องการของประชาคมเทศบาล ก็น่าจะกระทำแล้วดำเนินการให้เป็นจริงเท่านั้นเพียงแต่ว่าเมื่อจะมีการเลือกตั้งโดยตรง ก็ยังมีการถกเถียงและยังลังเลว่า จะมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเฉพาะเทศบาล ซึ่งเคยเป็นมาก่อนแล้วจำนวน 149 แห่ง หรือจะรวมถึงเทศบาลที่เพิ่งยกฐานะ มาจากสุขาภิบาล จำนวน 981 แห่งด้วย หรือจะให้ทำประชาพิจารณ์ก่อน นี่คือความกังวลใจของรัฐบาลและกระทรวง มหาดไทย
          จึงเห็นว่าเมื่อมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงแล้ว ก็ควรเลือกตั้งพร้อม ๆ กัน
          นายกเทศมนตรีเมืองมนตรีเมืองภูเก็ต (.. ภูมิศักดิ์ หงษ์หยก) พูดไว้น่าฟังว่า  การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง เท่ากับเป็นการให้ประชาชนได้คัดเลือกผู้บริหารท้องถิ่น อันจะทำให้เกิดการพัฒนาผู้บริหารในอนาคต และอาจก้าวมาสู่การเป็นผู้บริหารประเทศก็เป็นได้ในอนาคตเช่นกัน และในที่สุดอาจทำให้เรามีผู้นำประเทศขึ้นอีกในสังคม ๆ คน ซึ่งเป็นทางเลือกให้คนที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรีอีกเป็น 20 – 30 คน
          มิใช่จำกัดและปิดตายอยู่เพียง 4 -5 คนเพียงแค่นายชวน  หลีกภัย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายบรรหาร ศิลปะอาชา พ...ทักษิณ ชินวัตร และนายกร ทัพรังสี เท่านั้น หรือจะมีคนให้เลือกนายกรัฐมนตรีเท่านี้เพียงหรือ






บรรณานุกรม
กีรติพงศ์  แนวมาลี และ วิน  พรหมแพทย์,ความเข้าใจเรื่องการปกครองท้องถิ่นสำหรับเยาวชน, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สุขุม  และบุตร จำกัด, 2540),
ชูวงศ์ฉายาบุตร, การปกครองท้องถิ่นของไทย, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิฆเนศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด, 2539),
ธเนศวร์  เจริญเมือง,100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย, (กรุงเทพมหานคร :โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2440),
ประหยัด หงษ์ทองคำ,การปกครองท้องถิ่นไทย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์จำกัด, 2526),
พรชัย รัศมีพทย์,หลักกฎหมายการปกครองท้องถิ่นไทย, (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535),















[1]ประหยัด หงษ์ทองคำ,การปกครองท้องถิ่นไทย, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์จำกัด, 2526), หน้า 36–40.

[2]ชูวงศ์ ฉายาบุตร, การปกครองท้องถิ่นของไทย, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิฆเนศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด, 2539), หน้า 143 - 145.
[3]กีรติพงศ์  แนวมาลี และ วิน  พรหมแพทย์,ความเข้าใจเรื่องการปกครองท้องถิ่นสำหรับเยาวชน, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท สุขุมและบุตร จำกัด, 2540), หน้า21-22.
[4]ธเนศวร์  เจริญเมือง,100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย, (กรุงเทพมหานคร :โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2440), หน้า 122-126.
[5]พรชัย รัศมีพทย์,หลักกฎหมายการปกครองท้องถิ่นไทย, (กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535), หน้า189-190.