แนวคิดทางการเมืองแบบสังคมนิยม
การปกครองรัฐต่างๆสามารถปกครองได้หลากหลายรูปแบบ
ไม่ว่าจะเป็นการปกครองที่ยึดประชาชนเป็นหลัก การปกครองที่ยอมให้ประชาชานมีส่วนร่วม
หรือแม้กระทั่งการปกครองที่ยึดการตัดสินใจจากรัฐบาลส่วนกลางเป็นหลัก
ซึ่งการปกครองระบอบนี้เรียกว่า “ระบอบสังคมนิยม”
สังคมนิยม คือ ระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่รวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ของประเทศ
คือคณะรัฐบาลและประมุขของประเทศ เป็นระบอบการปกครองที่ไม่มีกษัตริย์เป็นประมุข
จึงมีลักษณะเป็นสาธารณรัฐเสมอ ทรัพย์สินส่วนใหญ่รัฐบาลจะเป็นผู้รวบรวมไว้และแจกจ่ายให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมกันที่สุด
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความไม่เท่าเทียมสังคมนิยม' เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะ คือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวน การทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม
รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
หรือที่กล่าวมารวมกันมีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม
ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต
และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม
ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้
หมายความว่า
การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง
และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน
การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (Common
physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง
ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ
ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น
วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว่า
มีผู้ให้ความหมายของสังคมนิยมไวมากมาย
เช่น สังคมนิยม หมายถึง การที่สังคมรับผิดชอบต่อสมาชิกของตนอย่างทั่วหนา ด้วยการให้สวัสดิการขั้นมูลฐานต่าง
ๆ เช่น การรักษาพยาบาล การหาที่อยู่อาศัย การให้การศึกษา การช่วยเหลือผูอื่นที่มีรายไดต่ำมาก
และผู้ที่ไม่มีงานทำ นอกจากนี้ยังหมายถึง การที่กิจกรรมต่าง ๆ ของแต่ละบุคคลและแต่ละกลุ่มจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสังคมส่วนรวม
ไมใช่เพื่อผลประโยชนสวนตน และต้องอยูภายใต้การควบคุมของสังคม สังคมในที่นี้ไมจำเป็นต้องหมายถึงสังคมระดับรัฐหรือระดับ
ประเทศแกอาจจะหมายถึงสังคมในระดับอื่น เช่น ระดับโลก ระดับท้องถิ่น ระดับกิจกรรม
(เช่นสหกรณ์) หรือระดับชุมชน เป็นต้น (ไมตรี อึ้งภากรณ์, ๒๕๑๗:
๑๗๓)
สังคมนิยม หมายถึง
ระบบเศรษฐกิจที่มีนโยบายมุ่งสนับสนุนและปรารถนาที่จะให้ชุมชน สังคม หรือส่วนรวมถือกรรมสิทธิ์
หรือควบคุมการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่สำคัญในการผิต เช่น ทุน ทรัพยากร
ที่ดิน ทั้งนี้เพื่อมุงกระจายผลประโยชนเหล่านี้ออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อประโยชนของประชาชนทั้งมวล
(สมพงศ์ เกษมสิน และจรูญ สุภาพ,
๒๕๒๐: ๘๘)
คำว่าสังคมนิยมนั้นไมรูว่าใครเป็นผู้ริเริ่มใช้เป็นคนแรก
ทั้งนี้เพราะสังคมนิยมมีหลายแบบ บางท่านกล่าวว่าสังคมนิยมมาจาก เรื่องอุตมรัฐ (The
Republic) ของPlato เพราะไดกำหนดให้ผู้ปกครองไม่มีทรัพย์สินเป็นของตนเองและให้ทุกคนใช้ชีวิตร่วมกัน
ถือว่าทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของส่วนรวม แต่อย่างไรก็ตามสังคมนิยมเป็นอุดมคติที่มีผู้ยอมรับกันมากทั้งในประเทศประชาธิปไตยและมิใช่ประชาธิปไตย
และลักษณะของสังคมนิยมนั้นจะมีลักษณะกว้าง ๆ คือ ลักษณะที่รัฐเป็นเจาของกิจกรรมผลิต
รัฐให้สวัสดิภาพแกประชาชนโดยจัดระบบสวัสดิการ สองลักษณะนี้ไมจำเป็นต้องมีทั้งคู
อาจจะมีเพียงลักษณะเดียว สวนลักษณะที่สามซึ่งเป็นแกนของสังคมนิยม ไดแก ความหลุดพ้นจากการเป็นทาสของวัตถุ ลักษณะสำคัญมีดังต่อไปนี้
๑. รัฐเป็นเจาของกิจการผลิต
สังคมนิยมยอมรับการผลิตแบบนายทุน คือการใช้เครื่องจักรช่วยเพิ่มผลผลิตว่าเป็นสิ่งที่ดี
แต่ไมเห็นด้วยกับวิธีกระจายรายได ซึ่งเป็นผลจากการใช้แรงงานโดยเห็นว่าความไมยุติธรรมในการกระจายรายไดเกิดขึ้นก็เพราะการมีทรัพย์สินส่วนตัว
หากสังคมไมปล่อยให้คนมีทรัพย์สินตัวแลว ปัญหาการกระจายรายไดจะไมเกิดขึ้น
หลักการสำคัญประการหนึ่งของสังคมนิยมจึงไดแกการที่สังคมเป็นเจาของและควบคุมปัจจัยการผลิตที่สำคัญ
ๆ วิธีที่จะทำให้ปัจจัยการผลิตมาเป็นของสังคมมี ๒ แบบ ใหญ่ ๆ คือ แบบแรกไดแกการโอนกิจการผลิตเป็นของรัฐ
ในประเทศ คอมมิวนิสต เจาของกิจการที่ถูกโอนมักไมไดรับค่าตอบแทนเพราะรัฐบาลถือว่า
การผลิตเป็นของผู้ใช้แรงงาน เจาของกิจการเป็นผู้ใช้ปัจจัยการผลิตขูดรีดผู้ใช้แรงงาน
จึงไมควรไดรับค่าตอบแทน สวนในประเทศที่มิใช่คอมมิวนิสตมักมีการจ่ายค่าตอบแทนตามสมควร
อีกแบบหนึ่งสังคมนิยมใช้วิธีการของประเทศแถบสแกนดิเนเวีย คือ ใช้ระบบสหกรณ์ อันไดแกกิจการที่มีกลุ่มคนร่วมกันเป็นเจ้าของ
โดยทำงานร่วมกันและแบ่งปันผลผลิต กันในหมูสมาชิก ซึ่ง มัก
ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดำเนินกิจการ ทำให้บริโภคสินค้าได้ในราคาถูกลง การที่สหกรณ์เกิดขึ้นเช่นนี้ก็เพราะมีปัญหาในการโอนกิจการเป็นของรัฐ
เพราะเมื่อกิจการเป็นของรัฐแล้วการดำเนินการก็เป็นไปโดยอาศัยเจาหน้าที่ของรัฐซึ่งมักทำงานตามที่ไดรับมอบหมายมากกว่าจะมีความคิดริเริ่ม
ไมสนใจความต้องการของประชาชนและความเปลี่ยนแปลงของตลาด กิจการบางอย่างจึงเลวลงกว่าเมื่อเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ
การสหกรณเป็นวิธีประนีประนอมระหว่างผลประโยชนจากการรวมกลุ่ม และแรงจูงใจส่วนบุคคลที่ทำให้เกิดความขยันขันแข็งเพราะสมาชิกมีโอกาสไดรับผลประโยชนมากขึ้นเมื่อกิจการเจริญ
ระบบสหกรณ์ใช้ไดกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก สวนอุตสาหกรรมหนักและกิจการระดับชาติ
เช่น การสาธารณูปโภคนั้น การโอนกิจการเป็นของรัฐเป็นวิธีเหมาะสมกว่า กิจการสำคัญ ๆ
เช่น การผลิตอาวุธ การคมนาคมสื่อสารก็ใหญ่เกินกว่าจะใช้วิธีการ สหกรณ์ เหตุผลอีกประการหนึ่งในการโอนกิจการเป็นของรัฐก็คือ
เพื่อค้ำจุนเศรษฐกิจของรัฐเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำในกรณีเช่นนี้แม้พวกอนุรักษ์นิยมก็ยอมรับ
เช่น การที่รัฐซื้อหุ้นกิจการที่จำเป็นแกประเทศ ซึ่งเป็นกิจการที่กำลังจะล้มละลาย
เป็นต้น
ในปัจจุบันประเทศสังคมนิยมทั่วไปเห็นว่ากิจการสำคัญบางอย่างควรปล่อยให้เป็นของเอกชนดีกว่า
เช่น เกษตรกรรมหัตถกรรม อุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางการค้า ภายในประเทศ เป็นต้น
๒.
รัฐให้สวัสดิภาพแกประชาชนโดยการจัดรัฐสวัสดิการ ลัทธินายทุนถือว่าทรัพยสินสวนตัวเปนรางวัลอันเกิดจากการผลิตไดสัมฤทธิผลคนรวยซึ่งไดแกผูประสบความสําเร็จในการผลิตจึงควรไดรับความยกยองมาก
สังคมแบบนี้จึงไมคอยสนใจคนจน และถือวาคนจนคือผูที่ขาดความสามารถ สังคมนิยมโจมตีการไมเหลียวแลคนจนและผูทุกขยากของระบบนายทุน
แตสังคมนิยมบางระบบก็เห็นวาการโอนกิจการทั้งหมดเปนกิจการของรัฐก็เปนอันตรายพอ
ๆ กับที่ปลอยใหอยูในมือคนเพียงสองสามคม การกระจายความมั่งคั่งอีกวิธีหนึ่ง
คือการจัดสวัสดิการสังคมโดยวิธีเก็บภาษีเงินไดภาษีมรดก รางวัลตาง ๆ
ในอัตราสูงเพื่อนํามาใชจายในการใหการศึกษา บริการดานสาธารณสุข ชวยคนตกงาน
คนกลุมนอย คนชรา และสตรีเปนตน ระบบนี้มิได มุงจะใหเกิดความเทาเทียมกัน แตมุงทําใหชองวางระหวางคนรวยกับคนจนแคบเขา
นักสังคมนิยมสวนมาก ยอมรับความแตกตางทางฐานะเชนนี้เพราะถือวาคนเราฉลาดและขยันขันแข็งไมเทากัน
คนขยันจึงควรไดรับรางวัลในสวนที่เขาขยันและสามารถเปนพิเศษ ในสังคมนี้คนจึงร่ำรวยได
แตไมมีคนที่จนมาก ๆ การโอนกิจการผลิตเปนของรัฐ และการจัดรัฐสวัสดิการนั้นไมจะเปนตองมีควบคุมกันเสมอไป
รัฐอาจโอนกิจการผลิตเปนของรัฐโดยไมจัดสวัสดิการและรัฐสวัสดิการอาจไมเปนสังคมนิยมทางเศรษฐกิจคือไมโอนกิจการผลิตเปนของรัฐก็ได
๓.จุดมุงหมายของสังคม
เรื่องที่นับวาเปนแกนของสังคมนิยมไดแก จุดมุงหมาย
จุดมุงหมายของสังคมนิยมไดแกการทําใหคนหลุดพนจากการเปนทาสวัตถุซึ่งพันธนามนุษยมาตั้งแตโบราณ
สังคมนิยมฝนถึงสภาวะเมื่อผลผลิตของสังคมเพิ่มขึ้นจนเพียงพอสําหรับทุกคน
การเปลี่ยนความประพฤติทัศนคติและความเชื่อของมนุษยจะทําใหเขาถึงสภาวะดังกลาวไดสังคมนิยมคิดวาในสมัยโบราณ
ความลําบากยากเข็ญทําใหมนุษยตองแขงขันกันจึงตองปฏิบัติตอกันอยางปาเถื่อนเพื่อเอาตัวรอด
การขัดแยงกันทําใหคนไมอาจพัฒนาลักษณะที่สูงสงของตนขึ้นได สวนในปจจุบันเทคโนโลยีเจริญกาวหนาจนกระทั่งสามารถผลิตสิ่งที่ตองการขั้นพื้นฐานไดอยางพอเพียง
คนจึงสามารถสรางสังคมใหมซึ่งมีคุณคาและความประพฤติอยางใหม การแขงขันซึ่งเปนสิ่งจําเปนแตทําลายมนุษยจําสําคัญนอยลงกวาการรวมมือกัน
การรวมมือกันจะทําใหผลผลิตยิ่งเพิ่มขึ้นทําใหชีวิตของมนุษยดีขึ้น
เมื่อสภาวะทางวัตถุดีขึ้นความแตกตางกันของคนในแงวัตถุจะลดลง การเอาทรัพยสินเปนเครื่องวัดคาของคนโดยที่มีบางคนรวยมาก
บางคนจนมากจะหมดไป สังคมใหมซึ่งทุกคนเทาเทียมกันจะเกิดขึ้น ความแตกตางทางชนชั้นจะหมดไป
ความวุนวายในสังคมก็จะไมมี สังคมจึงสงบและเปนสุข พวกสังคมนิยมโดยทั่วไปเชื่อวา
ความสัมพันธทางสังคมและการเมืองก็คือความสัมพันธทางวัตถุ
เมื่อกําจัดความยากลําบากทางวัตถุได สังคมและการเมืองก็จะดีขึ้นไดเอง จุดมุงหมายของสังคมนิยม
คือความเทาเทียมกันทางเศรษฐกิจหรือเรียกไดวาเปนประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจเสียกอน
เพราะเงินเปนที่มาของอํานาจทางการเมือง ถาไมมีความเทาเทียมกันทางเศรษฐกิจก็ไมมีความเทาเทียมกันทางการเมือง
สังคมนิยมลดความแตกตางทางวัตถุระหวางบุคคลลงจึงทําใหเกิดประชาธิปไตยทางการเมือง
จุดมุงหมายดังกลาวนี้ไมมีในอุดมคติแบบฟาสซิสตและคอมมิวนิสต แมจะมีการพูดถึงอยูบาง
แตในทางปฏิบัติจริงก็เปนเพียงการเปลี่ยนแปลงชนชั้นปกครองเทานั้น ความสัมพันธของมนุษยอยางที่สังคมนิยมตองการมิไดเกิดขึ้นเลยในการปกครองสองแบบนั้น
(ปรีชา ชางขวัญยืน, ๒๕๓๘:)
ระบบสังคมนิยมที่มีบางประเทศนํามาเปนรูปแบบในการปกครองประเทศนั้น
จะเปนระบบเศรษฐกิจของประเทศที่มีความเกี่ยวกันกับระบบสังคมนิยมดวย
ระบบสังคมนิยมโดยทั่วไปที่สําคัญมีอยู ๓ ประเภท คือ
๑. สังคมนิยมสมบูรณแบบตามแนวอุดมคติ (Utopian
Socialism)
๒. สังคมนิยมแบบวิทยาศาสตร์ (Socialism
Scientific)
๓. สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย(Socialism
Democratic)
๑.๓.๑ สังคมนิยมสมบูรณแบบตามแนวอุดมคติ
(Utopian
Socialism)
สังคมนิยมยูโทเปียน (Utopian Socialism) หรือสังคมนิยมอุดมคติ
พวกนี้มีความเห็นว่า โครงสร้างสังคม ระเบียบประเพณีที่เป็นอยู่
ทำให้คนที่แข็งแรงกว่ากดขี่คนที่อ่อนแอกว่า พวกนี้เสนอแนวความคิดให้จัดตั้งประชาคมขึ้นมากใหม่
คำนึงถึงสังคมส่วนรวมให้มากขึ้น ลดการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้รัดกุม
นักคิดที่สำคัญที่เสนอแนวทางสังคมนิยมแนวนี้ เช่น โรงเบิร์ตโอเวน (Robert
Owen) ได้เสนอให้มีการจัดตั้งประชาชนแบบสหกรณ์ขึ้นและได้รับสมญาว่า “บิดาแห่งการสหกรณ์”
สังคมนิยมสมบูรณแบบตามแนวอุดมคติลักษณะของสังคมนิยมนี้จะหมายถึงระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เปนไปตามจินตนาการบางครั้งก็จะเปนชุมชนทางเศรษฐกิจ
หรือแมแตบางครั้งมักจะหมายถึงชุมชน เล็ก ๆ ซึ่งอาจจะเรียกวา คิบบุทซ (Kibbutz)
หรือหมูบานสหกรณเปนการจัดชุมชนแบบรวมกลุมของหมูบานในอิสราเอล
โดยตั้งขึ้นมาเพื่อแกไขความบกพรองตาง ๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมและใหมีการชวยเหลือรวมกันในการหาเลี้ยงชีพ
แบงปนประโยชนกัน ไมกดขี่ขมเหงระหวางสมาชิกมีการแบงปนประโยชนตาง ๆ อยางทั่วถึงเทาเทียมกันและยุติธรรม
แนวคิดอุดมคติสังคมนิยม (Socialist)
เป็นอุดมการณ์ต่อสู้ของประชาชนที่รักความเป็นธรรม
ที่เอาผลประโยชน์ของสังคมเป็นที่ตั้ง
เน้นเรื่องคุณค่าของมนุษย์ที่ควรได้รับจากการจัดการของรัฐ
อุดมคตินี้ไม่ใช่เรื่องใฝ่ฝันล่องลอยไร้แก่นสาร
แต่ได้ผ่านการต่อสู้ยืนยันมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์
ในอดีต ความใฝ่ฝันถึงสังคมยูโธเปีย
หรือสังคมยุคพระศรีอาริย์ หรือสังคมคอมมูนแบบมาร์กซ
ก็เป็นสังคมนิยมพื้นฐานความใฝ่ฝันเดียวกันที่อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เท่าเทียม
เป็นธรรม แต่ในปัจจุบันระบบทุนนิยมได้สร้างสภาวะให้โลกต่างไปจากความคิดอุดมคตินั้น
จนกระทั่งความคิด ความใฝ่ฝันถึงโลกที่ร่มเย็นนั้น กลายเป็นเรื่อง “เพ้อฝัน-เป็นไปไม่ได้” ชายหนุ่ม-หญิงสาวทุกวันนี้จึงต่างก็คิดถึงแต่เรื่องของตนเอง
เพื่อความอยู่รอดในระบบทุนนิยมภายหลังจากที่รัฐสังคมนิยมในหลายประเทศได้ล้มครืนลง
ความเชื่อ ความใฝ่ฝันของอุดมการณ์สังคมนิยมก็ลดลงในหมู่นักนิยมสังคมนิยม
แต่บางส่วนก็ยังเชื่อมั่นตามทฤษฎี วิทยาศาสตร์สังคมที่คาร์ล มาร์กซ
ได้ยืนยันผ่านทฤษฎีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ที่เน้นมุมมองมนุษย์และสังคมผ่านความสัมพันธ์ทางการผลิต
และความสัมพันธ์นี้ได้เปลี่ยนฐานะสังคมในแต่ละยุค
จากยุคบุรพกาลที่มนุษย์มีความสัมพันธ์แบบเท่าเทียมกันในชาติวงศ์
มาสู่ยุคทาส-นายทาส สู่ยุคศักดินา จนถึงทุนนิยมในปัจจุบัน
และจะไปถึงสังคมยุคสังคมนิยมอย่างแน่นอนเพราะเงื่อนไขความขัดแย้งการถือครองปัจจัยการผลิตความใฝ่ฝันความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์แบบ
“จากทุกคนตามความสามารถ แด่ทุกคนตามความจำเป็น” ของคาร์ล มาร์ก ก็ยังอยู่มาจนทุกวันนี้
นักสังคมนิยมย่อมคาดหวังและลงมือกระทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม
มีการพูดถึงการจัดวางสังคมใหม่ที่เปลี่ยนความสัมพันธ์ทางการผลิตเสียใหม่ให้เป็นธรรมมากขึ้น
เพราะแนวความคิดเสรีนิยมและวิถีของระบบทุนนิยมที่เอา กำไรเป็นตัวตั้ง
สิ่งนี้ได้ลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ลง
เพราะเกิดการแบ่งชนชั้นตามการถือครองปัจจัยการผลิต
ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม การกดขี่ ขูดรีดและเอาเปรียบทางโครงสร้างมากมาย นักคิดหลายคนได้นำเสนอทฤษฎีต่างๆ
เพื่อกำหนดสังคมที่ยุติธรรมและเอาประโยชน์สังคมส่วนรวมเป็นที่ตั้งโดยมอบให้รัฐเป็นผู้ทำหน้าที่นั้น
ในการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดำเนินไปสู่สังคมนิยมนั้น
มีทั้งแนวทางสังคมนิยมปฏิรูป และ
การนำพามวลชนปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐของนายทุนอย่างรุนแรง ดังจะเห็นจากตัวอย่างหลายๆประเทศในประวัติศาสตร์
ปัจจุบันนี้
การต่อสู้เชิงอุดมการณ์สังคมนิยมในทางสากลนั้น
มีความแตกต่างไปตามรูปแบบของแต่ละขบวนการในแต่ละประเทศ เช่น
ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบเหมาอิสต์ จะเน้นการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธเช่น ในเนปาล
ฟิลิปปินส์ หรือกรณีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)
ในอดีตและอุดมคติแบบสังคมนิยม (Social-Democracy) จะเน้นการเคลื่อนไหวโดยการปฏิรูปทางสังคม-การเมือง
หรือการจัดตั้งพรรคการเมืองของตนเองเข้าไปต่อสู่ทางการเมืองในระบบรัฐสภา
ในปัจจุบันสังคมนิยมปฏิรูปได้มั่นคงพอสมควร ตัวอย่างเช่น ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย
ในรูปของประเทศรัฐสวัสดิการขณะเดียวกันอุดมการสังคมนิยมในทางสากล
ได้มีการปรับตัวเข้าหาสถานการณ์ทางสังคมและคลี่คลายปัญหาต่างๆตามข้อเท็จจริงมากขึ้น
ไม่ใช่มุ่งแต่จะต่อสู้ทางการเมืองอย่างเดียว เพราะอุดมคตินี้ที่แท้จริงนั้นก็คือ “ทุกอย่างที่เอาผลประโยชน์สังคมเป็นที่ตั้ง” นั่นเอง
ฉะนั้นรูปแบบของสังคมนิยมสมบูรณแบบตามแนวนี้จึงมีลักษณะ ดังนี้
ระบบการเมืองการปกครอง
|
ระบบเศรษฐกิจ
|
|
ชุมชนขนาดเล็ก
|
๑.ทรัพย์สินที่สำคัญเป็นของส่วนรวม
๒. ทำงานร่วมกัน
๓. แบ่งปันประโยชนระหว่าง กันด้วยความเป็นธรรม
|
๑.
ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน (Equity)
๒. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมใน
การปกครอง (Participation)
|
ประเทศหรือรัฐ
|
๑.เผด็จการโดยชนชั้นแรงงานมีเพียงชนชั้นเดียว
๒.ในการปฏิบัติ พรรคคอมมิวนิสต์ผูกขาดอํานาจการปกครองเพียงพรรคเดียวและเปนผูใชอํานาจสูงสุดในประเทศ
|
๑. ชนชั้นแรงงานเจ้าของงานของและควบคุมการผลิตทั้งสิ้น
๒. ในทางปฏิบัติใหพรรคคอมมิวนิสตทําหนาที่แทนชนชั้นแรงงาน
|
๑.๓.๒ แนวคิดสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ (Socialism Scientific)
สังคมนิยมวิทยาศาสตร์ได้ก่อตั้งเมื่อ ทศวรรษที่ ๔๐ แห่งศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา
ทิศทางหลักของมันก็คือผ่านจาก มาร์ซ เองเกลส์ ถึง เลนิน สตาลิน จนถึง เหมาเจ๋อตง
ถึง เติ้งเสียวผิง ซึ่งก็คือจากตะตกพัฒนาไปทางตะวันออก
ในกระบวนการพัฒนาของลัทธิสังคมนิยม
ได้ผ่านการก้าวกระโดดลักษณะประวัติศาสตร์หลายครั้งถึงแม้ในวงการวิทยาศาสตร์
จากจินตนาการ สู่วิทยาศาสตร์
จากอุดมคติกลายเป็นความจริงจากการปฏิบัติในประเทศเดียวไปสู่การปฏิบัติหลายประเทศ
จากโครงการสร้างระบบ
ที่สืบช่วงกันมาจนถึงโครงสร้างปัจจุบันอันได้ก้าวผ่านจากลัทธิสังคมนิยมในจินตนาการพัฒนามาเป็นทฤษฏีการสร้างสรรค์ลัทธิสังคมนิยมลักษณะจำเพาะของจีน
แนวคิดสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ Scientific
Socialism มองโลกแห่งวัตถุแท้จริง
มองภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เน้นความสำคัญของชนชั้นกรรมมาชีพ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้ความสำคัญกับสิ่งที่มีตัวตนหรือวัตถุ (วัตถุนิยม)
ความขัดแย้งทางชนชั้น นำอุดมการณ์สังคมนิยมเพ้อฝันมาผสมกับปรัชญาวิภาษวิธี
(มองทุกอย่างให้เป็นภาพรวมไม่ดูเฉพาะส่วนย่อย เน้นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของโลกและสังคม)
สังคมนิยมวิทยาศาสตร์เป็นญาติสังคมนิยมยูโทเปียบนระบบทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ของสังคมนิยมทฤษฎีแบบจำลองและโหมดการปฏิบัติ
สังคมนิยมวิทยาศาสตร์คือการตกผลึกของอารยธรรมมนุษย์ มาร์กซ์และเองเกิลส์ใช้คิดเชิงตรรกะในรูปแบบของวัตถุนิยมวิภาษในประวัติศาสตร์ที่สำคัญของสังคมนิยมยูโทเปียขึ้นอยู่กับมุมมองของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์และเผยให้เห็นการค้นพบกฎแห่งการพัฒนาของสังคมมนุษย์และร่วมสมัยกฎหมายเศรษฐกิจทุนนิยมของการเคลื่อนไหว
ที่เหลือ กฎหมายของมูลค่า การค้นพบมาร์กซ์ของทั้งสองกฎหมายจากสังคมนิยมยูโทเปียเป็นวิทยาศาสตร์
มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาของการต่อสู้ปลดปล่อยของกฎหมายชนชั้นแรงงานของวิทยาศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ทางการเมืองหรือเป็นวิทยาศาสตร์ทางการเมืองกว่าสังคมวิทยา
สังคมนิยมแบบมารกซิสต์ เป็นแนวคิดของคารล
มารกซ (Karl
Marx) ซึ่งเขามองระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนั้นมีการเอารัดเอาเปรียบและผูกขาดโดยที่ร่ำรวยหรือนายทุนจนทำให้บุคคลที่ใแรงงานหรือชนชั้นกรรมาชีพไดรับความเดือดร้อน
และขาดอำนาจในการปกครอง และเป็นเจาของควบคุมการผลิตทั้งหมดเพื่อขจัดหรือกำจัดการกดขี่หรือการเอกรัดเอาเปรียบจากระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่มีนายทุนเป็นผู้ที่มีอำนาจ
สังคมนิยมแบบมารกซิสตซึ่งมีรูปแบบ ดังนี้
สังคมนิยมประชาธิปไตย(Socialism
Democratic) คือรูปแบบการปกครอง
ทางการเมืองในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ
สามารถคิดค้นด้านการมีส่วนร่วมในหลายรูปแบบ ในส่วนที่เรียนรู้ปฏิบัติตาม หรือ
ลอกเรียนแบบตามกันมาคือให้มีการเลือกตั้งโดยใช้ระบบเลือกตัวแทนเข้ามาบริหารประเทศ
ส่วนรายละเอียดนั้นก็จะแตกต่างกันไป
ในเงื่อนไขของการพัฒนาที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศให้มากที่สุด
หลายประเทศคิดถึงระบบการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นดูแลจัดการตนเอง
ส่วนทางด้านเศรษฐกิจนั้น
ใช้รูปแบบสังคมนิยม ระบบสังคมนิยมในจินตนาการตั้งอยู่บนความคิดที่ต้องการให้ระบบเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยุติธรรม
ทุกคนร่วมกันทำงานเพื่อสร้างผลผลิตส่วนรวม และได้รับ สวัสดิการ
พยายามกระจายรายได้โดยรัฐให้ประชาชนให้ทั่วถึงทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
มีรัฐสวัสดิการที่ควรมีอยู่พอสมควร
ระบบสังคมนิยมไม่จำเป็นที่จะอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบเผด็จการหรือระบอบใดระบอบหนึ่งแต่สามารถอยู่ได้ทุกระบอบเพราะเป็นเพียงระบบเศรษฐกิจเท่านั้นไม่ใช่ระบอบการปกครองความหมาย
ธัมมิกสังคมนิยม (พุทธทาสภิกขุ)
“โลกจะต้องมีระบบการปกครองที่ไม่เห็นแก่ตัวคน
และให้ประกอบไปด้วยธรรมะ. ระบอบการปกครองในโลกที่ไม่เห็นแก่ตัวคนตัวบุคคลคือมือใครยาวสาวได้สาวเอานี้
จะเปิดโอกาสให้ระบบการปกครองนั้นประกอบอยู่ด้วยพระธรรม หรือพระเจ้า แล้วแต่จะเรียก
ไม่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ก็เรียกไว้ทีก่อนว่า ระบบธัมมิกสังคมนิยม"
สังคมนิยมเฟเบียน (Fabian
Socialism) คือสังคมนิยมแบบประชาธิปไตย ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในอังกฤษ สังคมนิยมแบบนี้มุ่งให้รัฐบาล
ดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการให้ประชาชนทุกคนโดยเสมอภาค และใช้วิถีการทางรัฐสภา
โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดชนชั้นนายทุน ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีรุนแรง
แต่สามารถปรับปรุงความเสมอภาคทางรายได้และเศรษฐกิจโดยสันติวิธี
ด้วยวิธีการทางรัฐสภา มีการออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการ
ซึ่งจะช่วยเหลือกรรมกรให้มีการกินดีอยู่ดีได้ และได้พิสูจน์ให้เห็นว่า
การต่อสู่ระหว่างชนชั้นไม่ได้เป็นไปตามคำทำนายของมาร์กซ์
คือไม่เกิดขึ้นในประเทศอุตสาหกรรมที่มีกรรมกรมากมาย เช่น อังกฤษ อเมริกา
แต่กลับไปเกิดในรัสเซีย และจีน ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม
สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย เปนระบบเศรษฐกิจที่ตอตานความบกพรองของระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่กอใหเกิดชองวางในเรื่องรายได
ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนและความเปนอยูที่เสื่อมโทรมของชนชั้นแรงงาน
ฉะนั้นสังคมนิยมแผนประชาธิปไตยจึงพยายามสรางโครงสรางทางเศรษฐกิจใหมีประสิทธิภาพโดยตระหนักถึงเสรีภาพของบุคคล
(Individual
Freedom) ในการประกอบการตาง ๆ แตอยางไรก็ตามเสรีภาพของบุคคลตองอยูในขอบเขตที่เหมาะสม
เพื่อกอใหเกิดสวัสดิการและความเปนธรรมแกสวนรวม ซึ่งกระทําไดดวยการใหรัฐบาลเขามาดําเนินดวยตนเองในกิจกรรมเศรษฐกิจที่สําคัญและกําหนดนโยบายตาง
ๆ เพื่อใหบรรลุถึงวัตถุประสงคที่สําคัญ คือเสรีภาพของบุคคลและประโยชนสวนรวม
ฉะนั้นรัฐบาลจึงจะตองมีบทบาทสรางความเปนธรรมแกสังคม รักษาผลประโยชนสวนรวมและดํารงไวซึ่งเสรีภาพของบุคคล
ตลอดจนการลดชองวางทางอํานาจและบทบาทของประชาชนที่มีฐานะดีเพื่อเปนการแบงปนผลประโยชนใหแกผูดอยโอกาสทางเศรษฐกิจ
ฉะนั้นความสําคัญของสังคมนิยมแบบนี้จึงไมใชการทําลายเสรีภาพของประชาชนผูร่ำรวยในการประกอบการทางเศรษฐกิจ
แตจะเปนการสรางกรอบใหบุคคลเหลานั้นมีเสรีภาพไดอยางถูกตองและเพื่อความเปนธรรมตอประชาชนสวนรวมโดยทั่วกันรูปแบบของสังคมนิยมแบบประชาธิปไตย
มีลักษณะดังนี้
ชุมชน
|
ระบบการเมืองการปกครอง
|
ระบบเศรษฐกิจ
|
ประเทศ
หรือรัฐ
|
๑. ให้ประชาชนมีอำนาจในการปกครองตนเอง
ไมมีการผูกขาดโดยพรรคใดพรรคหนึ่ง
๒.
ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันตลอด
๓.
ประชาชนสามารถเปลี่ยนรัฐบาลไดตามความต้องการต้องอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ
|
๑.
เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบการทางเศรษฐกิจ
๒. ผูมีรายไดมากต้องเสียภาษีมากเพราะเป็นการรับภาระตามความสามารถ
๓. รัฐบาลเข้าวางแผนและประกอบการทางเศรษฐกิจด้วยการโอนกิจการทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
เป็นของรัฐ
๔. รัฐบาลให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจและสังคมแกประชาชน
เพื่อจัดความไมเป็นธรรมและรักษาผลประโยชนสวนรวม
|
ตัวอย่างประเทศที่สามารถเรียนรู้
ที่มีการจัดรูปแบบ การปกครองที่เรียกว่า “สังคมนิยม
ประชาธิปไตย” โดยรูปแบบการจัดการ “รัฐสวัสดิการ”
ประเทศสวีเดนคือประเทศหนึ่งของหลายประเทศ
รูปแบบการปกครอง เป็นรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยทางอ้อม
โดยใช้วิธีการเลือกตั้งตัวแทนไปนั่งในสภา เป็นแบบสภาเดียว แต่ยังมีพระมหากษัตริย์
เป็นองค์พระประมุขที่อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ลักษณะหลักคิดวิธีการคล้ายประเทศไทย
ความแตกต่างคือทุกอย่างที่เป็นกฎหมายการวางกฎเกณฑ์ร่วมกัน
ที่นำไปสู่การปฏิบัติมีการกระทำอย่างเคารพ และยอมรับในกติกา ไม่มีการละเมิด
ในทุกส่วน แม้กระทั่งระดับสูงสุดคือสถาบันพระมหากษัตริย์
เพราะที่นี่เขามีกติการ่วมกันว่า กฎหมายคืออำนาจสูงสุดของประเทศที่พลเมืองพึงปฏิบัติตาม
เป็นสิทธิและหน้าที่ หัวใจของการปกครองโดยวิธีนี้ ผมวิเคราะห์ว่า
ถ้าจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อคนในสังคม ต้องมีคุณภาพ มีวินัย มีศีลธรรมจริยาธรรม
ให้เกียรติผู้คนอื่นๆ ที่สำคัญคือต้องรู้หน้าที่
เคารพกติกาที่ได้ถูกสร้างมาร่วมกัน
อำนาจที่นี่ไม่ถูกกระจุกไว้กับคนใดคนหนึ่ง
หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะความที่คนที่นี่มีกลุ่มคนที่หลากหลาย
กลุ่มความคิดที่หลากหลาย กฎหมายของเขาไม่มีเลยที่จะปิดกั้นไม่ให้คนรวมกลุ่ม
แม้แต่กลุ่มความคิดนั้นจะไม่เห็นด้วยกับภาครัฐ ไม่ห้ามตามกฎหมายแล้ว
ยังแถมมีกฎหมายให้งบประมาณการรวมกลุ่มชนด้วย
เพราะเขาถือว่าการรวมกลุ่มขึ้นมาก็เพื่อการสร้างสรรค์
สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นในสังคม การรวมกลุ่มที่จะถูกยกเว้น
คือกลุ่มองค์กรที่มีเจตนาร้าย และ
กระทำการล้มล้างผู้อื่นที่อยู่ร่วมกันในสังคมเท่านั้น
การปกครองภายใต้กฎหมายของเขานี้เมื่อเขาว่ามันคืออำนาจสูงสุดมันก็สูงสุดจริงๆ
ไม่มีใครแม้แต่จะกล้าคิดมาทำลายล้าง ความมั่นคงของสังคมเขาจึงมี และ
ก้าวไปข้างหน้าเพื่อการสร้างสรรค์ตลอดเวลา
ในปจจุบันมีประเทศตาง ๆ ที่ใชนโยบายของสังคมนิยมมาดําเนินการมากนอยแตกตางกันไป
แลวแตระบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ
รวมทั้งการจัดการศึกษาและภาวะสังคมหากจะระบุกันใหแนชัดแลว คําวาสังคมนิยมนั้นใชกับประเทศที่มีการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสตซึ่งมี
๙ ประเทศในยุโรปตะวันออก คือ อัลมาเนีย บัลกาเรีย สาธารณรัฐเชคสโลวาเนีย เยอรมันตะวันออก
(กอนที่จะรวมตัวกันกับเยอรมันตะวันตก ในปค.ศ. ๑๙๙๐) ฮังการีโปแลนด รูมาเนีย
สหภาพโซเวียต (กอนมีการลมสลายแตกออกเปนเครือจักรภพประเทศในป ค.ศ. ๑๙๙๑)
และยูโกสลาเวีย และอีก ๗ประเทศในแถบเอเซีย คือ สาธารณประชาชนจีนเกาหลีเหนือ
สาธารณรัฐมองโกเลีย เวียดนามเหนือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวกัมพูชา พมา
และในลาตินอเมริกา อีก ๑ ประเทศ คือ คิวบา ซึ่งประเทศเหลานี้ถือกันวาเปนประเทศขั้นต่ำของสังคมตามที่คารล
มารก ไดจําแนกความเจริญของสังคมไวเรียกวา สังคมนิยม (ทวี หมื่นนิกร,
๒๕๑๘: ๒–๓) ขั้นนี้สังคมอยูในชองที่มีการเปลี่ยนแปลง
ปรับปรุงและแกไขเพื่อมุงสูทางที่ราบรื่น ลักษณะของระบบทุนนิยมยังไมหมดสิ้นเชิง
ดวยขั้นที่สูงกวานี้เรียกวาคอมมิวนิสต เปนขั้นที่มีความอุดมสมบูรณ มีการกระจายจายปนสิ่งของเปนไปตามความจําเปน
หาใชวาเปนไปตามการงานที่ทําที่ไดมาแตฝายเดียวไม ในขั้นนี้ไมมีการใชเงิน
ไมมีกลไกของตลาด ลักษณะของระบบทุนนิยมไมมีหลงเหลืออยู ไมมีการบงการของรัฐ
สมาชิกอยูรวมกันอยางปกติสุข ไมมีการตอสูระหวางชนชั้น ทุกคนอยูรวมกันภายใตเสรีภาพ
ความเสมอภาค และภราดรภาพ (Liberty Equity and Fraternity)
ในปจจุบันรูปแบบสังคมนิยมแบบมารกซิสตจะมีอิทธิพลตอหลายๆ ประเทศและที่สําคัญมี ๔
แบบ คือ
สังคมนิยมแบบโซเวียต มีโซเวียตเปนผูนํา
ผูติดตามสําคัญไดแกบัลกาเรียเยอรมันตะวันออก (เมื่อกอน) และมองโกเลีย กลุมประเทศเหลานี้เชื่อในหลักการใหญๆ
ของมารกซิสต-เลนิน* คือการยึดทรัพยสินสวนตัวมาเปนของรัฐ การที่รัฐเปนเจาของปจจัยการผลิตการรวมศูนยอํานาจปกครองประเทศไวที่พรรคคอมมิวนิสต
ซึ่งมีสายการบังคับบัญชาอยางเครงครัด ในดานนโยบายตางประเทศเชื่อในแนวทางของการอยูรวมกันโดยสันติกับประเทศที่ตางลัทธิ
แนวทางนี้เปนเพียงเครื่องมือเทานั้นมิใชจุดหมายปลายทาง จุดมุงหมายที่แทจริง
คือ การที่คอมมิวนิสตมีอํานาจสูงสุด แตไมไดหมายความวาชนชั้นกรรมาชีพจะมีอํานาจบริหารงานหรือระบบเศรษฐกิจภายในประเทศของตน
หรือในยุโรปตะวันออกเกินความจําเปนโดยเด็ดขาด
สังคมนิยมแบบจีน
หรือ (Maoism)
จีนเชื่อวาในหลักการใหญๆ ของมารกซิมส – เลนินเหมือนโซเวียต
และไดมีนโยบายปฏิบัติคลายคลึงกัน คือมีการรวมศูนยอํานาจการปกครองประเทศไวที่พรรคคอมมิวนิสต
รัฐทําการผูกขาดเครื่องมือการผลิต ฯลฯ แตหลังจากจีนแตกแยกกับโซเวียตในทศวรรษ ๑๙๖๐
แลว จีนไดแสดงความเปนสังคมนิยมแบบเฉพาะของตนอยางเดนชัดขึ้น ไดแก การรักษาเอกลักษณและความเปนชาตินิยมแบบจีนอยางเครงครัดโดยไมยอมใหความคิดหรือแบบแผนอื่นใดมาผสม
อีกสิ่งหนึ่งซึ่งแตกตางจากโซเวียตอันเปนสาเหตุหนึ่งของความขัดแยงกันคือ
จีนยังคงชวยเหลือขบวนการปลดแอกแหงชาติในประเทศตาง ๆ อยางสม่ำเสมอ เพื่อเปนแนวทางใหทั้งโลกพนจากภัยของจักรวรรดิ์นิยม
ฉะนั้น
จีนจึงประณามโซเวียตวาเปนพวกลัทธิแก
เมื่อโซเวียตยินยอมดําเนินตามแนวทางการอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศตางระบบ
และนิยมคบหากับกลุมที่มีอํานาจเปนรัฐบาล ไมวากลุมนั้นจะเปนคอมมิวนิสตหรือไมยิ่งกวานั้นจะใหการสนับสนุนขบวนการปลดแอกของผูถูกกดขี่สวนจีนนั้นมองเห็นคุณคาของสงครามปลดแอกอยางยิ่ง
เพราะจีนเปลี่ยนมาเปนประเทศคอมมิวนิสตไดสําเร็จในป ค.ศ. ๑๙๔๙ นั้น เพราะไดทําสงครามปลดแอกจากญี่ปุนและรัฐบาลกลางของเจียงไคเชค
แตอยางไรก็ตามการชวยเหลือขบวนการปลดแอกตาง ๆ นั้นจีนไมลือที่จะเนนความสําคัญของวิธีการและอุดมการณแบบจีนแทรกซึมตามไปดวย
(เขียน ธีระวิทย์, ๒๕๔๑: ๑๑)
สังคมนิยมแบบปฏิรูป มีมากมายหลายแบบ
ตั้งแตแบบคาสโตรในคิวบาซึ่งนิยมการใชขบวนการกองโจรกอการปฏิวัติในประเทศตาง ๆ ในลาตินอเมริกา
ตลอดจนถึงสังคมนิยมแบบ โฮจิมินห ซึ่งเชื่อในความเปนอิสระแหงนโยบายของตนทั้งในระดับภายในและภายนอกประเทศ
ขณะเดียวกันก็มีศรัทธาในยุทธวิธีเอาชนะศัตรูดวยการรบแบบกองโจรเพราะเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและงบประมาณ
ตลอดจนขีดความสามารถทางกําลังทหารของตน ปจจุบันนี้สังคมนิยมแบบปฏิรูปที่สําคัญไดแก
ก. สังคมนิยมแบบยุโรปตะวันออก
ไดแกการที่ยุโรปตะวันออกทุกประเทศตองการแกไข
ปญหาเศรษฐกิจภายในประเทศของตนตามวิถีทงและกลไกแบบสังคมนิยมโดยไมจําเปนตองเอามาจากหลักมารกซิสม
หรือเลนิน หรือสตาลิน แตเปนวิธีการที่รัฐจะสรางความเสมอภาคใหแกชนสวนใหญในประเทศของตน
เชนมีการปฏิรูปที่ดินเพื่อความเปนธรรมแตที่ดินทุกแปลงไมจําเปนตองตกเปนของรัฐทั้งหมด
ในดานนโยบายการผลิตรัฐยังคงควบคุมนโยบายสวนกลางในการผลิต
ฉะนั้นจึงเกิดการปฏิรูปขึ้นในบางประเทศเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจ ภายในประเทศ เชนในยูโกสลาเวีย
เชคโกสโลวาเกีย บัลกาเรีย
ฮังการีเยอรมันตะวันออกแตในบางประเทศก็ถูกโซเวียตปราบเพราะกระทําเกินขั้นตอนของสังคมนิยมเกินกวาโซเวียตจะรับได
ระบบสังคมนิยมของยุโรปตะวันออกจึงเปนระบบของตนเองเปน สังคมนิยมที่ปราศจากการบังคับบัญชาของโซเวียต
และมีหลายประเทศไดปฏิบัติเปนผลสําเร็จ เชน สาธารณเชค (ยูโก- สลาเวียเมื่อกอน) รูมาเนีย
และอัลบาเนียข. สังคมนิยมคอมมิวนิสตแบบยุโรปหรือยูโรคอมมิสนิสต ไดแก
แนวทางของพรรคคอมมิวนิสตในยุโรปตะวันตก
๓ พรรคใหญ ๆ คือ อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน หลักการของยูโรคอมมิวนิสตซึ่งเพิ่มจะแพรหลายภายในเวลาไมกี่ปมานี้เอง
พอสรุปไดคือ ตอง การมีวิถีทางสังคมนิยมของตนเองโดยไมจําเปนตองยอมรับแบบอยางหรือประสบการณของ
โซเวียต เปนเครื่องชี้นํา และไมตองการจะเปนกลุมการเมืองเดียวที่มีอํานาจในประเทศ
ไมเห็นความจําเปนที่ ตองมีเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ
มีความเชื่อในการกาวขึ้นสูอํานาจตามวิถีทางแหงประชาธิปไตย และยินดีจะเปนแนวรวมหรือรัฐบาลผสมรวมกับพรรคที่ไมใชคอมมิวนิสต
นอกจากนั้นตองการขจัดสภาพความไมเปนธรรมในสังคมทุกรูปแบบ โดยที่ประชาชนไมจําเปนจะตองมีกรรมสิทธิ์ในทรัพยสินเทาเทียมกัน
แตผูใชแรงงานทุกคนจะตองมีสวนในกิจการที่ตนกระทําอยูโดยวิถีทางแหงประชาธิปไตย
อันไดแกการมีสิทธิที่จะไดรับประโยชนจากปจจัยการผลิตเทาเทียมกันไมใชเปนการผูกขาดอยูในกํามือของนายทุนกลุมนอย
หรือกลุมบุคคลที่มีอํานาจในการปกครองเพียง ๒-๓ คนที่เรียกตนเองวาเปนรัฐ
ขณะเดียวกันผูใชแรงงานก็จะไดรับสวัสดิการเหมาะสมแกภาวะการครองชีพในประเทศ
และมีสิทธิหยุดงานเพื่อเรียกรองความเปนธรรมจากหัวหนางาน
สังคมนิยมในประเทศดอยพัฒนา ไดแกสังคมนิยมที่ปฏิบัติกันในหมูประเทศอาหรับ
เชน อียิปต อัลจีเรีย ลิเบีย อิรัค ซีเรีย เยแมน
และประเทศในอาฟริกาและเอเซียซึ่งเคยมีอดีตเปนอาณานิยม เชน แทนซาเนีย แซมเบีย
เอธิโอเปย มาดกัสการมาลี แองโกลา โมซัมบิก พมา ฯลฯ ประเทศเหลานี้อาจกลาวถึงอุดมการณมารกซิสม
–เลนิน และอาจมองเห็นโซเวียตหรือจีนเปนแบบอยางของการปฏิวัติก็ตาม แตการเปนสังคมนิยมของประเทศเหลานั้นเกิดจากประเทศเหลานี้เคยตกเปนอาณานิคมจึงมองเห็นวาประเทศมหาอํานาจฝายตะวันตกเปนจักรวรรดิ์นิยมทั้งในอดีตและปจจุบัน
ฉะนั้นผูนําของประเทศจึง รังเกียจระบบเศรษฐกิจทุนนิยม เพราะเขาใจวาระบบนี้เปนเครื่องมือของลัทธิจักรวรรดิ์นิยมและสภาพเศรษฐกิจของประเทศเหลานั้นไมเอื้อตอระบบทุนนิยม
เชน ขาดแคลนเงินทุน ขาดผูชํานาญทางการจัดการ ขาดความรูทางดานเทคโนโลยี
มีการยึดครองที่ดินไมเปนธรรม มีการกระจายรายไดอยางไมเปนธรรม ฉะนั้นรัฐจึงเขามามีบทบาทบริหารกิจการตาง
ๆภายในประเทศ ระบบการปกครองภายในประเทศมีลักษณะรวมศูนยอํานาจเชนเดียวกับระบบเศรษฐกิจ
และผูนําจะพัฒนาประเทศตามนโยบายของตนจะเห็นไดวาการจัดการศึกษาในประเทศสังคมตางๆ
ในกลุมประเทศเอเซีย ซึ่งมีบางประเทศก็มีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย
และบางประเทศก็มีรูปแบบการปกครองแบบสังคมนิยม แตพัฒนามาเปนประเทศสาธารณรัฐ
เนื้อหาสาระที่ปรากฎในตําราเลมจะสะทอนมุมมองซึ่งจะทําใหทราบถึงประวัติการศึกษา
ระบบการศึกษาวาจะมีความเหมือน หรือแตก ตางไปจากประเทศที่เปนประชาธิปไตยอยางไรในกลุมประเทศเอเซียดวยกัน
วาระแห่งการหารือพูดคุยของขบวนการสังคมนิยมสากลในปัจจุบัน
เต็มไปด้วยความหลากหลายทางสังคมในแง่มุมต่างๆ มีเวทีสากลมากมาย
ถกเถียงกันตั้งแต่หัวข้อเรื่องการพัฒนาสังคม-ประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ การต่อสู้กับเผด็จการทหาร
ภัยจากโลกาภิวัฒน์ ไปจนกระทั่งประเด็นทางวัฒนธรรม อย่าง ความเท่าเทียมหญิง-ชาย
สิทธิเพศที่สาม ผู้อพยพ แรงงานข้ามชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
โดยสรุปแล้วสังคมนิยมพื้นฐาน ก็คือ
ความคิดที่รัฐเอาประโยชน์ของสังคมเป็นศูนย์กลาง
มีเป้าหมายและวิถีทางเพื่อความเท่าเทียมกันของประชาชน
มีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคมที่แท้จริง
ประชาชนทุกคนมีสิทธิ-เสรีภาพโดยรัฐเป็นตัวแทนพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
Socialist จึงมีความหมายกว้างกว่า “สังคมนิยม”
ที่เป็นความหมายที่คนไทยได้รับรู้โดยการใส่ร้าย
เบี่ยงเบนสร้างภาพให้เป็นปิศาจร้าย
โดยฝีมือของชนชั้นปกครองที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของตนเองไว้
ดังนั้นการผูกขาดอำนาจทางการเมืองเฉพาะชนชั้นนำ
ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ของไทย
จึงไม่เคยมีนโยบายสังคมนิยมเพื่อประโยชน์แก่สังคมใดๆ หรือการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างใดๆ
ที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์แก่คนชั้นล่าง กรรกร ชาวนา ชาวไร่
ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศได้ลืมตา อ้าปาก
หรือแม้แต่จะแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนเชิงโครงสร้างได้อย่างแท้จริงเลยที่ผ่านมารัฐบาลแทบทุกชุดมีนโยบายประชาธิปไตยแบบทุนนิยม
ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม จะเห็นได้จากพื้นที่ทางการเมืองส่วนใหญ่
ตกเป็นของชนชั้นนำทางสังคมและมีอำนาจทางเศรษฐกิจเข้ามามีบทบาทอย่างสูง
โดยแทบไม่เหลือพื้นที่ให้ชนชั้นล่าง กรรมกร ชาวนา ชาวประมง ฯลฯ
กระทั่งกีดกันอย่างเป็นตัวบทกฎหมาย เห็นชัดเจนแม้ในรัฐธรรมนูญที่นับว่าดีที่สุด
๒๕๔๐
ที่ห้ามประชาชนที่ไม่จบปริญญาตรีเข้าสู่การเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและหลังจากการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
(พคท.) ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างหยุดชะงักลง อุดมคติของชาวสังคมนิยม
ก็อ่อนแอกลายสภาพเป็นเพียงผู้ดื่มกินมายาและเสพความฝันใฝ่ ความหวังในแต่ละวันคืน อย่างไรก็ตาม
อุดมการณ์สังคมนิยมไม่ตาย ตราบใดที่ขบวนการคนยากจน คนใช้แรงงานยังคงเคลื่อนไหว
มีความขัดแย้งทางชนชั้น หรือมีการเอารัดเอาเปรียบในเชิงโครงสร้างอยู่
เพียงแต่ว่าในสถานการณ์นี้ ขบวนการต่อสู้อาจจะอ่อนแรงหรือยังไม่เข้มแข็งพอที่จะเป็นขบวนการใหญ่ในเชิงอุดมการณ์ร่วมกัน
เท่านั้นเอง
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว แนวคิด “สังคมนิยม” เป็นการแสใหญ่ที่นักปฏิวัติทั่วโลกใช้ในการต่อสู้
ด้วยหมายที่จะสร้างสังคมที่เท่าเทียม แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป กระแส “ทุน” ที่ถั่งโถมเข้ามาทุกทิศทุกทาง ทำให้อุดมการณ์สังคมนิยมอ่อนล้า
และดูเหมือนจะเลือนหายไป โดยเฉพาะในประเทศไทย
ในประเทศไทย
แนวคิดสังคมนิยมที่เข้ามามี ๒ สายใหญ่ สายหนึ่งมาจากยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศส
เมื่อพูดถึงฝรั่งเศส ก็คงเป็นที่เข้าใจกันดีว่าหมายถึงท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์
ซึ่งมีนักคิดสังคมนิยมหลายท่านซึ่งอยู่ในสายนี้(สังคมนิยมจากยุโรป)
ท่านเหล่านี้เป็นนักสังคมนิยมปฏิรูป ไม่ใช่นักสังคมนิยมปฏิวัติ
กลุ่มที่แนวคิดคล้ายๆท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์มีหลายคนในสังคมไทย เช่น
คนในขบวนการเสรีไทย แม้แต่ลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ปรีดี คือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ก็มีแนวความคิดคล้ายๆกัน
คือเป็นสังคมนิยมกลุ่มหนึ่งซึ่งเชื่อในแง่ของการเคลื่อนไหวสังคมโดยไม่ใช้ความรุนแรง
แนวความคิดสังคมนิยมจากยุโรปเมื่อมาถึงประเทศไทย
ก็มีกระบวนการในการปรับวิธีคิดสังคมนิยมให้สอดคล้องเข้ากับสังคมและวัฒนธรรมไทย
เป็นที่มาของคำว่า “พุทธสังคมนิยม” ส่วนอีกสายหนึ่งเป็นสังคมนิยมที่เรียกว่า เหมาอิสต์ (Maoist) ซึ่งนักคิดในแนวนี้ได้แก่ คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์
ซึ่งก็เป็นพุทธสังคมนิยมคนหนึ่ง เขาปฏิเสธการใช้ความรุนแรง
นักคิดสังคมนิยมอีกท่านหนึ่ง คือ พุทธทาสภิกขุ
ซึ่งเสนอแนวคิดหลักทางการเมืองที่เรียกว่า “ธรรมิกสังคมนิยม”
ท่านเชื่อในแนวทางสังคมนิยมว่า ถึงที่สุดแล้วมนุษย์ต้องเสมอภาคกัน กรณีที่ประเทศรัฐคอมมิวนิสต์หลายประเทศได้แตกสลายลงไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ไม่ใช่ข้อสรุปว่าสังคมนิยมได้ล่มสลายแล้ว แต่เป็นเครื่องทดสอบระบบสังคมนิยม
ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสังคมนิยมไม่สามารถใช้ในขอบเขตทั่วโลกได้
ตัวอย่างที่ล้มเหลวในประเทศรัสเซียนั้น หลักจากที่ทำการปฏิวัติเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๑๗
แล้ว กลุ่มชนชั้นนำในการปฏิวัติที่ขึ้นมาบริหารปกครองประเทศนั้น ฟุ้งเฟ้อ
หลงติดกับดักการใช้ชีวิต ที่มีศัพท์เรียกว่า “ศักดินาแดง”
พวกนี้กระทำตนเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ของพรรค
สิ่งเหล่านี้ต่างหากทำให้กระแสสังคมนิยมถูกบั่นทอนอย่างรุนแรง
ประกอบกับทุนนิยมมีคำขวัญโฆษณาชวนเชื่ออย่างดีที่เรียกว่า “ต้องใช้แนวทางเศรษฐกิจ
การตลาดเท่านั้น ระบอบเศรษฐกิจจึงจะไปได้”
การที่ประเทศสังคมนิยมล่มสลาย
ไม่ได้เกิดจากโครงสร้างของแกนหลักคิดแบบสังคมนิยม
แต่เกิดจากการปฏิบัติงานของชนชั้นผู้นำที่บริหารประเทศ บริหารพรรคอยู่ในขณะนั้น
สำหรับประเทศไทย การต่อสู้ของพี่น้องประชาชนจำนวนหนึ่งที่เคยต้องไปใช้ชีวิตในชนบท
ก็ถูกอิทธิพลความหลงการใช้ชีวิตนี้เช่นกัน
แต่แกนอุดมการณ์สังคมนิยมก็ยังมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
คนมีความคิดในเชิงลึกซึ้งยังมีอยู่มาก สังเกตจากเอกสาร บทความ
กระทั่งในหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีออกมาบ่อยภายใต้สภาพสังคมไทยปัจจุบันนี้
ความคิดสังคมนิยมสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้ จากประชาชน นักคิด คนใช้แรงงาน
นักต่อสู้ ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องลอกต่างประเทศมาทั้งหมดเช่นในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้
ความคิดด้านนี้มีมาก และกำลังเป็นกระแสหลัก
จุดแข็งของเขาคืออาศัยพลังมวลชนและปัญหาของประเทศเขาที่ระบบเศรษฐกิจถูกรุกรานโดยตรงจากจักรวรรดินิยม
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำมัน หรือทรัพยากรอื่นๆ
จะเห็นได้ว่าความคิดสังคมนิยมยังสามารถเกิดขึ้นได้และเป็นได้
แต่ในเงื่อนไขของประเทศไทยจะเป็นได้อย่างไร
ก็ต้องมาศึกษาปัญหาต่างๆที่เกิดจากระบอบทุนนิยมกระทำต่อเศรษฐกิจไทยว่ามีข้อบกพร่องด้านไหน
สำหรับแนวทางแบบพรรคกรีน
น่าจะเป็นแนวทางด้านหนึ่งของพรรคสังคมนิยมในอนาคต
ซึ่งเราต้องประยุกต์ตามความเป็นจริงของสังคมไทย
รูปแบบวิธีการก็ยึดหลักการเปลี่ยนแปลงโดยระบอบรัฐสภาเป็นหลัก
บนพื้นฐานที่ผลประโยชน์ของประเทศต้องเป็นของประชาชนโดยแท้จริง กิจการหลักๆ
ต้องเป็นของรัฐ ซึ่งตัวแทนที่เข้ามาทำหน้าที่รัฐบาลต้องมาจากวิธีที่ถูกต้อง
ไม่ใช่ด้วยอำนาจเงิน หากเป็นเช่นนั้นเราก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธโดยสิ้นเชิง
สำหรับแนวคิดสังคมนิยม มีดังนี้
๑.
ต้องนำกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานกลับมาเป็นของรัฐ
(ที่มาจากการเลือกตั้งที่ถูกต้องยุติธรรม)
๒. กฎหมาย ระเบียบ
คำสั่ง ต้องอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ระบบเศรษฐกิจต้องเอื้อต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ
ไม่ใช้เสรีนิยมการตลาดอย่างเดียว
๓.
อำนาจหรือองค์กรปกครองทุกระดับต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
เพราะฉะนั้น
ปมเงื่อนของปัญหาตอนนี้จึงอยู่ที่วิธีการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ตัวแทนองค์กรปกครองทุกระดับ
สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเสนอที่เป็นไปได้กับสังคมไทย เพียงแต่ว่าสังคมไทย
ที่ผ่านมาถูกครอบงำด้วยมายาคติ เมื่อพูดถึงความคิดสังคมนิยม
ก็ถูกมองว่าเป็นความคิดฝ่ายซ้าย ไม่เหมาะกับสังคมไทย จริงๆแล้วไม่ใช่เช่นนั้น (ณรงค์
เพ็ชรประเสริฐ,๒๕๔๖: ๒๒-๒๔) ถ้าเรามีหลักคิดแบบสังคมนิยมเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้ง
เราต้องก้าวไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองของประชาชนอย่างแท้จริงด้วย
ถ้าเราสามารถสร้างความคิดสังคมนิยมที่เหมาะสมกับประเทศไทย
เราควรจะตั้งพรรคการเมืองที่มีแนวความคิดนี้ขึ้นมาเป็นตัวแทนของประชาชน
เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นโดยสันติวิธีต่อไปได้
ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีพรรคการเมืองทางเลือกจริงๆ
เพราะตอนนี้มีไม่กี่ตัวเลือกซึ่งล้วนแต่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม
พรรคการเมืองในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ผ่านมามีพรรคเดียวที่มีรากฐานจากมวลชนคือ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) แต่การตกต่ำของขบวนการคอมมิวนิสต์ไทยคือ
ไปรับเอาแนวทางเหมาอิสต์มา ทั้งที่ปัจจัยของไทยไม่เหมือนจีน
ของไทยไปเน้นการต่อสู้ของชาวนาโดยไม่มีคนเข้ามาทำงานกับคนชั้นกลาง
ในขณะที่ฝ่ายขวาเข้ามาครอบงำกรรมกร ผ่านระบบทหารเช่น
กอ.รมน.พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงสูญเสียการนำของคนจนในเมืองและเสียกรรมกรไป
จึงไม่สามารถนำพวกนี้มาเป็นกองหน้าของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ดังนั้น พรรคที่จะเติบโตในอนาคตได้จะต้อง
๑.
มีพลังความคิดที่จะนำมาสู่การจัดตั้งการเคลื่อนไหวที่มีเอกภาพ
และต้องเป็นความคิดที่สามารถยอมรับความคิดที่แตกต่างได้
ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาจุดนี้เป็นจุดอ่อนของฝ่ายซ้ายที่ไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นแตกต่าง
จึงติดกับดักตัวเอง
ทำอย่างไรจึงจะทำให้เกิดสังคมนิยมที่รับฟังความเห็นที่หลากหลายได้
๒.
พลังทางเศรษฐกิจต้องมีฐานการเงินที่สามารถพึ่งตัวเองได้
เพื่อต่อสู้ในสนามการเมืองของโลกยุคปัจจุบัน และ
๓.
การจัดตั้งภาคประชาชน ซึ่งคนจนจะเป็นกำลังหลักที่จะสร้างพรรคการเมืองก้าวหน้าได้
สรุปอุปสรรคสำคัญของการต่อสู้เพื่อสังคมนิยม
คือ
๑)ความคิดและวัฒนธรรมแบบไพร่ฟ้า
ระบบอุปถัมภ์-ข้าราชการ-จารีตนิยม ซึ่งแม้แต่สมาชิกในองค์กรฝ่ายซ้าย และนักวิชาการของไทยก็ยังติดกับดักทางความคิดของระบบอุปถัมภ์-จารีตนิยม
เชิดชูชนชั้นปกครองที่มากล้นบารมี ไม่เชื่อมั่นประชาชนและประชาธิปไตย
สิ่งสำคัญในการสร้างพรรคการเมืองของประชาชนในขณะนี้คือการปฏิวัติทางความคิด
และองค์กรที่จะปลดปล่อยคนออกจากสังคมไพร่ฟ้า-อุปถัมภ์ให้ได้ต้องท้าทายทางความคิด
๒) งานจัดตั้ง งานรวมกลุ่มประชาชน
การสร้างแนวร่วมประชาชน ถึงแม้จะทำได้ยาก เพราะเราด่วนสรุปกันเร็ว
มีลักษณะเป็นพวกพ้องสูง แต่ก็ต้องทำงานกันต่อไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นประชาธิปไตย
เพราะไม่เช่นนั้นเราก็จะได้พรรคการเมืองแบบเดิม
๓)
นโยบายของพรรคต้องก่อรูปมาจากภาคประชาชนอย่างแท้จริงสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การแสดง “พลังเจตจำนง” โดยเฉพาะจากปัญญาชนก้าวหน้า
นักวิชาการฝ่ายซ้ายและไฟที่คุโชนจากคนหนุ่มสาวผสานกันอย่างเข้มแข็งกับ
พลังในการเปลี่ยนแปลงในขบวนการกรรมกร-ชาวนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น