วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย


  1. ความหมายของกฎหมายมหาชน  

ในระบบกฎหมาย (Legal System) บางระบบหรือในบางประเทศ มีการแบ่งประเภท หรือสาขาของกฎหมายออกเป็นสองประเภทคือ กฎหมายมหาชน (Public Law) และกฎหมายเอกชน (Private Law) ทั้งนี้ โดยอาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อประโยชน์หรือความสะดวกในการเรียนการสอน เพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติหรือเพื่อประโยชน์ในการแบ่งเขตอํานาจศาล (ในกรณีที่ประเทศนั้นมีหลายศาลหรือหลายระบบศาล ซึ่งแบ่งเขตอํานาจกันตามประเภทหรือ สาขาของกฎหมาย) แต่ในระบบกฎหมายบางระบบหรือในบางประเทศก็ไม่มีหรือไม่ยอมรับการแบ่ง ประเภทหรือสาขาของกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ในระบบกฎหมายหรือในประเทศที่มีการแบ่งประเภทหรือสาขาของกฎหมาย ดังกล่าวก็ยังมีความเข้าใจหรือมีการให้ความหมายของคำว่า กฎหมายมหาชนที่แตกต่างกัน ออกไปแล้วแต่ยุคสมัย หรือแล้วแต่ความเห็นของนักกฎหมาย ดังนั้น จึงขอนำเอาความเห็นเกี่ยวกับ ความหมายของ กฎหมายมหาชนมาเสนอเพียงบางความเห็นเท่านั้น
อัลเปียน (Uplian) เป็นนักกฎหมายคนสำคัญในยุคโรมัน ได้ให้ความหมายของ กฎหมายมหาชน” (Jus Publicum) และ กฎหมายเอกชน” (Jus Privatum) เอาไว้ว่า กฎหมาย มหาชน คือ กฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐโรมัน ในขณะที่กฎหมายเอกชนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของ เอกชนแต่ละคน”  
ศาสตราจารย์โมวิซ  ดูแวร์เซ (Maurice Duverger) แห่งมหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้อธิบายไว้ว่า กฎหมายมหาชน คือกฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่เกี่ยวกับสถานะและ อํานาจของผู้ปกครองรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้อํานาจปกครอง ส่วน กฎหมายเอกชน คือกฎหมายที่กล่าวถึงกฎเกณฑ์ทั้งหลายที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกฎหมาย ระหว่างผู้อยู่ใต้อํานาจปกครองด้วยกันเอง  (ชาญชัย แสวงศักดิ์. 2528)
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้อธิบายไว้ว่า กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่ กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎรในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองราษฎร กล่าวคือ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร” 
ศาสตราจารย์ ไพโรจน์ ชัยนาม ได้ให้ความหมายของกฎหมายมหาชน (ภายใน) เอาไว้ว่า เป็นกฎหมาย ซึ่งบัญญัติถึงความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวพันระหว่างรัฐกับพลเมืองของรัฐ กำหนด ฐานะของนิติบุคคลหรือสถาบันในกฎหมายมหาชนกับเอกชน” 
ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้ให้คำอธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนเอาไว้ว่า กฎหมาย มหาชน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชนหรือระหว่างเจ้าหน้าที่ หรือผู้ใช้อํานาจของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างองค์กรของรัฐกับเอกชน ในฐานะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ใช้ อํานาจปกครองและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้อยู่ใต้อํานาจการปกครอง (หยุด แสงอุทัย, 2518)
หากศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยย้อนไปในอดีต เราจะพบการแบ่งแยกประเภท กฎหมายเป็น 3 ระยะ ตามสภาพพัฒนาการของระบบกฎหมายไทยในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมาย มหาชน คือ  
1. ช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475  
2. ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2540  
3. ช่วยหลัง พ.ศ. 2540 โดยมีรายละเอียดดังนี้  

2. พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475  

จากการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองและประวัติศาสตร์กฎหมายพบว่ากฎหมายได้พัฒนาควบคู่มากับการพัฒนาของระบบการเมืองการปกครอง สำหรับประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน กฎหมายของไทยได้พัฒนามาพร้อมกับความเจริญของ ระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งสามารถลำดับถึงความเจริญและพัฒนาการของกฎหมายได้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยาจนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

2.1 สมัยกรุงสุโขทัย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ท่านทรงประดิษฐ์อักษรไทยและได้จารึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้กับหลักศิลาจารึกซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดของไทย เนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสภาพสังคมไทยในยุคสมัยนั้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการปกครองและในเรื่องของกฎหมาย หลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชดังกล่าวนี้ ได้บันทึกเหตุการณ์ในสมัยนั้นไว้หลายประการ อาทิเช่น พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชรวมทั้งเหตุการณ์สำคัญ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น แต่ส่วนที่จะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย แม้ว่าในหลักศิลาจารึกดังกล่าวจะมิได้กล่าวไว้ว่าเป็นกฎหมายก็ตามที แต่ข้อความที่จารึกไว้นั้นสามารถที่จะเทียบเคียงได้กับบทบัญญัติของกฎหมายปัจจุบัน เช่น
"... ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่อเอาจะกอบในไพร่ลู่ทาง ..."
ซึ่งแปลได้ความว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองไม่เก็บภาษีประชาชน คำว่า "จะกอบ" แปลว่า "ภาษี" เมื่อนำมาเทียบเคียงกับกฎหมายในปัจจุบันจะเห็นว่าเป็นเรื่อง ของกฎหมายภาษีอากร หรือในเรื่องกฎหมายมรดกหลักศิลาจารึกก็ได้จารึกข้อความที่เกี่ยวข้องไว้ว่า
"ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้า ลูกขุน ผู้ใดแล้ว ล้มหายตายกว่าเย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อค้ามัน ช้างขอลูกเมียเยี่ยงข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมัน ........."
ซึ่งข้อความดังกล่าวหมายความว่า ทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ให้ตกทอดแก่ลูกเมื่อพ่อแม่เสียชีวิต  จากข้อความต่าง ๆ ที่จารึกบนศิลาจารึกดังตัวอย่างข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่า หลักเกณฑ์ของสังคมที่มีลักษณะ เป็นกฎหมายนั้นมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและน่าเชื่อได้ว่า หลักเกณฑ์ที่จารึกในหลักศิลาจารึกนั้นน่าที่จะได้มีการพัฒนามาก่อนหน้านั้นเป็นเวลานานพอสมควร แต่ไม่อาจจะชี้ชัดได้ว่าเป็นเวลานานเท่าใด ทั้งนี้เพราะขาดหลักฐานที่จะสามารถนำมาอ้างอิงได้ แต่อย่างไรก็ดีนักประวัติศาสตร์กฎหมายได้ทำการวิเคราะห์จากข้อความที่ปรากฏบนศิลาจารึก และเชื่อกันว่าการที่กฎเกณฑ์ของสังคมจะเป็นรูปร่างและมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาดังเช่นนี้ได้นั้น จะต้องใช้เวลาในการพัฒนามาแล้วหลายร้อยปี
เมื่อกาลเวลาผ่านพ้นไปกรุงสุโขทัยเริ่มมีการอ่อนแอในขณะที่กรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นและเมื่อกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงกรุงศรีอยุธยาก็ได้สถาปนาเป็นราชธานีในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 1893 และล่มสลายจากการเผาทำลายของพม่าในปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่กรุงอยุธยาเป็นราชธานีนานถึง 417 ปี  ระยะเวลาอันยาวนานนี้ระบบกฎหมายของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปมากตามลำดับและระยะเวลา ซึ่งกฎหมายนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระบบการเมืองการปกครองดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น ฉะนั้นเมื่อระบบการปกครองเปลี่ยนแปลงไป ระบบกฎหมายย่อมที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จากหลักการดังกล่าวสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ถึงระบบการปกครองในสมัยสุโขทัยว่า ถึงแม้จะเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจ แต่ก็เป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มีการปกครองที่ใกล้ชิดแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือประชาชนสามารถที่จะเข้าพบหรือขอความเป็นธรรมได้โดยตรงจากพระมหากษัตริย์ ซึ่งในสมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองลักษณะดังกล่าวเพราะประชาชนหรือผู้ใต้ปกครองยังมีไม่มาก พระราชภารกิจของพระมหากษัตริย์ก็มีไม่มากเช่นกัน ฉะนั้นพระองค์จึงสามารถที่จะ ดำเนินพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประชาชนได้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งกล่าวได้ว่าสังคมในสมัยนั้นยังไม่มีความสลับซับซ้อนมากนัก จึงทำให้การปกครองไม่มีความยุ่งยาก ฉะนั้นกฎหมายจึงยังมีความเรียบง่ายอยู่ดังที่กล่าวในตอนต้น คือยังไม่มีการแบ่งระบบและไม่มีการแบ่งประเภทของกฎหมาย

2.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา

เนื่องจากกรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า ดังนั้นความสลับซับซ้อนของสังคมจึงมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ฉะนั้นการปกครองและ การบริหารประเทศจึงต้องมีความแตกต่างกันเพราะหากจะยังคงการปกครองรูปแบบเดียวกับสมัยกรุงสุโขทัยก็คงจะไม่เหมาะสมและอาจจะเกิดความยุ่งยากและความวุ่นวายในสังคม อีกทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ความเชื่อในเรื่องของศาสนาที่มาจากอินเดียมีอิทธิพลสูงมากในกรุงศรีอยุธยา อันเป็นผลทำให้ระบบการปกครองประเทศต้องเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือพระมหากษัตริย์หรือที่เรียกกันว่า พ่อเมือง หรือพ่อขุนในสมัยกรุงสุโขทัยที่ทรงเปรียบเสมือนพ่อที่คอยปกครองลูกอย่างใกล้ชิดได้แปรเปลี่ยนไปเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพคือเป็นผู้ที่เทพเจ้าส่งมาจุติในโลกเพื่อปกครองประชาชน ฉะนั้นจึงมีความเชื่อกันว่าพระมหากษัตริย์เป็นผู้ซึ่งมีความแตกต่างจากประชาชนคน ธรรมดาโดยทั่วๆ ไปทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์ไม่มีความใกล้ชิดและผูกพันดังเช่นในสมัยสุโขทัยพระราชภารกิจต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ก็เริ่มที่จะมีขุนนางและข้าราชการบริพารทำหน้าที่แทนองค์พระมหากษัตริย์
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทาง ด้านการปกครองดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายตามไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่ากฎหมายหรือระเบียบของสังคมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันกับสภาพของสังคมที่แปรเปลี่ยนไปแต่อย่างไรก็ดีบทบาทของพระมหากษัตริย์ยังคงมีมากและศูนย์กลางของอำนาจยัง คงอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ เพียงแต่ว่ารูปแบบของการปกครองประชาชนของพระมหากษัตริย์นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังมีการเพิ่มบทบาทของขุนนางอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้สาเหตุใหญ่ก็เป็นเพราะ พระมหากษัตริย์ทรงไม่สามารถจะควบคุมดูแลประชาชนที่มากขึ้นได้ทั่วถึงนั่นเอง
กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีความเปลี่ยนแปลงไปมากจากลักษณะของกฎหมายในสมัยกรุงสุโขทัย แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จะให้อนุชนรุ่นหลังหรือนักประวัติศาสตร์กฎหมายได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีเหลืออยู่น้อยมาก ทั้งนี้เพราะการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาจากการเผาทำลายจนสูญสิ้นไปด้วย และอีกประการหนึ่งก็เนื่องจากเอกสารที่ยังพอจะมีเหลืออยู่บ้างก็เป็นเอกสารที่เขียนไว้เป็นลายมือบนใบลานหรือกระดาษข่อยซึ่งชำรุดและเสียหายง่ายอีกทั้งไม่มีความคงทนถาวร จึงเป็นสาเหตุให้เอกสารและหลักฐาน สำคัญและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาสูญหายและสูญเสียไป อย่างน่าเสียดายเป็นจำนวนมากแต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่สงครามสงบลงแล้วได้มีการรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ที่ยังคงมีหลงเหลืออยู่ไม่ให้กระจัดกระจายและสูญหายไป ทั้งนี้รวมทั้งตัวบทกฎหมายที่ใช้กันในสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วยและเมื่อหลังจากกรุงรัตโกสินทร์ได้สถาปนาเป็นราชธานีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงมีพระราชดำริว่า  เนื่องจากตัวบทกฎหมายที่เคยใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายและเมื่อทรงก่อตั้งกรุงรัตโกสินทร์แล้วยังไม่มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายประกอบกับความเจริญและความสลับซับซ้อนของสังคมก็มีมากขึ้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่ยังคงหลงเหลืออยู่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจัดการ ชำระกฎหมายและจัดทำกฎหมายขึ้นมาใหม่ โดยยึดหลักการและแนวทางเดิมที่ใช้กันอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาประกอบกับได้มีการตรากฎหมายขึ้นมาใหม่และได้ทำการรวบรวมจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์เพื่อใช้เป็นกฎหมายสำหรับการดำเนินกระบวนการยุติธรรมในกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อปี พ.ศ. 2347 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนั้นมีทั้งสิ้น 3 ฉบับ โดยแต่ละฉบับนั้นจะประทับตราราชสีห์  คชสีห์ และบัวแก้ว ซึ่งเป็นเหตุให้เรียกกฎหมาย 3ฉบับนั้นว่า กฎหมายตรา 3 ดวง
แต่อย่างไรก็ตามในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการแบ่งกฎหมายออกเป็นหลายประเภท แต่ยังไม่มีกฎหมายมหาชนในความหมายปัจจุบัน เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยายังไม่สามา รถควบคุมหรือตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครองได้

2.3  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

หลักฐานที่ใช้ประกอบการค้นคว้าเกี่ยวกับกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาก็คือกฎหมายที่รวบรวมไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และกฎหมายที่รวบรวมไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 นี้ได้ใช้จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แม้ว่าจะมีการปรับปรุง แก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายขึ้นมาใหม่บ้าง แต่ก็ไม่ถือว่ามีการ เปลี่ยนแปลงกฎหมายไปจากเดิมมากมายนักจนกระทั่งรัชสมัยพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตโกสินทร์

2.3.1 กฎหมายของไทยในสมัย รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตโกสินทร์

ในรัชสมัยพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตโกสินทร์ เป็นยุคที่สถานการณ์ของประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากลัทธิล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก ทำให้ในสมัยดังกล่าว ประเทศไทยจึงต้องจัดรวบรวมกฎหมายขึ้นใหม่ เพื่อให้รอดพ้นจากการคุกคามของลัทธิดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส โดยกฎหมายที่ได้รวบรวมและ จัดระบบขึ้นใหม่นี้มีชื่อว่า "ประชุมประกาศรัชการที่ 4" และเมื่อลัทธิล่าอาณานิคมได้ทวีความรุนแรง ขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ทำให้ไทยต้องยอมทำสนธิสัญญากับประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2398 ที่เรียกว่า "สนธิสัญญาบาวริ่ง" เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับอังกฤษที่ยกข้ออ้าง ในการรุกรานประเทศไทยว่า
กฎหมายของไทยมีความล้าหลังและป่าเถื่อน ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดของประเทศจาก การล่าอาณานิคมดังกล่าว โดยความในสนธิสัญญาบาวริ่งนั้นมีสาระสำคัญคือ ประเทศไทยต้องยอมให้คนในบังคับ ของอังกฤษที่กระทำความผิดในประเทศไทยไม่ต้องขึ้นศาลไทย โดยไทยต้องยอมให้ผู้กระทำความผิดดังกล่าวขึ้นศาลกงสุลของอังกฤษคือ อังกฤษจะเป็นผู้ตัดสินคดีความเอง กล่าวคือสนธิสัญญาบาวริ่งนี้ถือได้ว่าเป็นสัญญาที่ ทำให้ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตไปและหลังจากการทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษดังกล่าว เป็นผลทำให้ประเทศไทยต้องลงนามในสนธิสัญญาประเภทเดียวกันนี้กับอีกหลายประเทศ นั่นคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1856 ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1856 เดนมาร์ก ปี ค.ศ. 1858โปรตุเกส ปี ค.ศ. 1859 เนเธอร์แลนด์ ปี ค.ศ. 1860 เยอรมนี ปี ค.ศ.1862 สวีเดน ปี ค.ศ. 1868 นอร์เวย์ ปี ค.ศ. 1868 เบลเยี่ยม ปี ค.ศ.1868 อิตาลี ปี ค.ศ. 1868 ออสเตรีย-ฮังการี ปี ค.ศ. 1869 สเปน ปี ค.ศ.1870 ญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1898 และรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1899
ซึ่งอย่างไรก็ตาม ในขณะนั้นประเทศไทยไม่มีทางเลือกที่ดีไปกว่านี้เพราะจะต้องพยายามรักษาเอกราชของชาติไว้  แรงกดดันจากประเทศต่าง ๆ ที่ทำให้ไทยต้องสูญเสียสิทธิเสรีภาพนอกอาณาเขต ซึ่งทำให้ไทยต้องเสียเปรียบในทางศาลนั้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเร่ง ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายขึ้นมาอีกหลายฉบับ และการปรับปรุงกฎหมายนี้ได้ดำเนินการต่อเนื่องกันมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าเจ้าอยู่หัว  โดยการปรับปรุงและ แก้ไขกฎหมายของไทยให้ทันสมัยในยุคนั้นได้มีการจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาช่วยปรับปรุงแก้ไขด้วย และขณะเดียวกันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยคือ รัชกาลที่ 5 ท่านทรงมีพระปรีชาชาญทรงโปรดเกล้าฯ ส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษายังต่างประเทศเพื่อนำ วิชาความรู้มาพัฒนาประเทศไทยในศาสตร์ต่าง ๆ อีกทางหนึ่งด้วย

2.3.2 กฎหมายในยุคปฏิรูประบบศาลและระบบกฎหมายไทยในรัชกาลที่ 5  

ก่อนการปฏิรูประบบศาลและกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ประเทศไทยใช้กฎหมายจารีต ประเพณีและกฎหมายตามสามดวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ชำระขึ้นจากกฎหมายที่ตกทอดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กฎหมายตามสาม ดวงจึงไม่ใช่กฎหมายที่รัชกาลที่ 1 ทรงตราขึ้น แต่ทรงรวบรวมและชำระกฎหมายเดิมให้ถูกต้อง ยิ่งขึ้น ความต่อเนื่องของกฎหมายตั้งแต่กรุงศรีอยุธยามาจนถึงกฎหมายตราสามดวงจึงเป็นที่ ยอมรับทั่วไป    สำหรับกฎหมายที่ใช้มาแต่โบราณก่อนการรับอิทธิพลของกฎหมายธรรมสัตถัม ของมอญเข้ามาเพิ่มเติมนั้น คือ จารีตประเพณีเดิมของไทย ซึ่งเป็นกฎหมายที่มิได้บัญญัติเป็นลาย ลักษณ์อักษร แต่เกิดขึ้นโดยอาศัยความเคยชินของบรรดาสมาชิกในชุมชนไทยที่ปฏิบัติสืบเนื่องกัน มานานจนอาจไม่สามารถบอกเวลากำเนิดได้ อาทิ การให้ผู้ละเมิดจารีตประเพณีหรือกฎหมายทำให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องได้รับการแก้แค้นจากผู้เสียหายได้ เว้นแต่ผู้เสียหายไม่ติดใจเพราะได้ เงินค่าทำขวัญแล้ว แต้ต่อมาจารีตประเพณีก็เปลี่ยนไปตามอํานาจของรัฐที่เพิ่มขึ้น กล่าวคือ รัฐจะ เข้ามาเป็นผู้บังคับให้ผู้ละเมิดต้องชดให้ความเสียหายเอง แทนที่จะปล่อยให้ผู้เสียหายแก้แค้นเอาเอง เมื่อเป็นเช่นนี้เงินค้าเสียหายต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งยังคงให้เป็นของผู้เสียหายเรียกว่า  สินไหมอีกส่วนหนึ่งคงต้องส่งเข้ารัฐที่เป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อยเรียกว่า พินัยซึ่งแตกต่าง จากแนวจารีตประเพณีของมอญและพม่า อย่างไรก็ตาม แม้พระมหากษัตริย์ไทยได้รับธรรมสัตถัม ในฐานะคัมภีร์กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ฝ่ายพุทธศาสนาเข้ามาเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร หากแต่ กฎหมายลายลักษณ์อักษรไทยที่เรียกว่าธรรมศาสตร์นี้ ไม่ใช่กฎหมายที่กษัตริย์ใช้อํานาจของตน บัญญัติขึ้นไม่ แต่เป็นกฎหมายที่เป็นหลักยุติธรรมตามหลักศาสนาที่กษัตริย์ต้องเคารพ กล่าวคือ แม้ กษัตริย์จะทรงใช้อํานาจกำหนดกฎเกณฑ์ให้ขัดต่อธรรมศาสตร์ได้ก็ตาม แต่กฎเกณฑ์นั้นก็ไม่ใช่ กฎหมายและเมื่อสิ้นรัชกาลกฎเกณฑ์นั้นก็สิ้นผลไป แต่หากกฎเกณฑ์ที่ตราขึ้นสอคล้องกับ ธรรมศาสตร์ และ จารีตประเพณีกฎเกณฑ์นั้นก็จะมีผลเป็น ราชศาสตร์ อันหมายความถึงการ ใช้พระราชอํานาจที่ถูกต้องและกษัตริย์องค์ต่อไปก็ต้องเคารพและบังคับตามนั้นด้วย  หากพิเคราะห์ เช่นนี้จะเห็นด้วยว่าจารีตประเพณี ธรรมศาสตร์ และราชศาสตร์จะไม่อาจขัดแย้งกันได้เลย หากแต่จะ ส่งเสริมเพิ่มเติมรายละเอียดและเกื้อหนุนกันให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น  สภาพเช่นนี้มีมาตั้งแต่กรุง สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงการปฏิรูปศาลและกฎหมายให้เป็นแบบตะวันตก   สำหรับการแบ่งแยกกฎหมายนั้น ในยุคนี้กฎหมายไทยมีวิธีการแบ่งประเภทกฎหมาย แตกต่างไปจากปัจจุบันมาก กล่าวคือ ใช้ลักษณะข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในสังคมเป็นเกณฑ์อันเป็นอิทธิพลโดยตรงของธรรมสัตถัม โดยมูลเหตุที่ทำให้เกิดข้อพิพาทและต้องใช้อํานาจ พระมหากษัตริย์ตัดสินนี้เรียกเป็นภาษาไทยในกฎหมายเก่าว่า มูลอรรถหรือ มูลคดีและการ แบ่งประเภทของกฎหมายก็ใช้ระบบมูลคดีนี้เองเป็นหลัก โดยจัดแบ่งข้อพิพาทที่มีที่มา สาเหตุหรือ ทางแก้ประเภทเดียวกันไว้ด้วยกัน อย่างไรก็ตาม แม้ในยุคนี้จะไม่มีการแบ่งแยกกฎหมายเป็น กฎหมายเอกชนกฎหมายมหาชนอย่างในปัจจุบันก็จริง แต่กฎเกณฑ์ที่ปัจจุบันถือว่าเป็นกฎหมายมหาชนก็มีอยู่แต่กระจัดกระจายกันอยู่ในกฎหมายลักษณะต่างๆ และมูลคดีต่างๆ ดังจะเห็นได้ว้า กฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ว่าจะเรื่องการสืบราชสมบัติ พระราชวงศ์หรือกิจการใน พระราชสำนักก็รวมไว้ในกฎมณเฑียรบาล เรื่องที่เกี่ยวกับพระราชอํานาจพระบรมเดชานุภาพ และ การละเมิดพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ก็รวมไว้ในกฎหมายลักษณะอาญาหลวง ในขณะ ที่เรื่องเกี่ยวกับราษฎรด้วยกันก็แยกไว้ในกฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ เรื่องที่เกี่ยวกับขุนนางก็ รวมไว้ในกฎหมายตำแหน่งนาพลเรือนและตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ฯลฯ  อนึ่ง พึงสังเกตว่า ในยุคนี้เราอาจจะจัดกฎหมายที่มีลักษณะเป็นกฎหมายมหาชนในปัจจุบัน ฉบับสำคัญก็คงมี 4 ลักษณะ คือ กฎมณเฑียรบาลซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการในพระองค์ของ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์โดยแท้  กฎหมายลักษณะที่สองที่จัดเป็นกฎหมายมหาชน ที่รองรับพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์เหนือขุนนางและราษฎรทั้งหลายมิให้ล่วงละเมิดพระ ราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ก็คือ พระอัยการอาญาหลวงซึ่งถือเสมือนหนึ่งสภาพบังคับของ พระราชอํานาจนั่นเอง กฎหมายลักษณะที่สามที่จัดเป็นกฎหมายมหาชนรองรับการใช้อํานาจ ปกครองคือ พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน ตำแหน่งนาทหารหัวเมืองซึ่งเป็นกฎหมายกำหนด สถานะของข้าราชการหรือขุนนาง และกฎหมายลักษณะที่สำคัญที่จัดเป็นกฎหมายมหาชนปัจจุบันที่ รองรับการใช้พระราชอํานาจตุลาการของพระมหากษัตริย์คือ พระธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมาย กำหนดอํานาจศาลต่างๆ และวิธีพิจารณาคดีในศาล  การแบ่งประเภทในกฎหมายดังกล่าว คงมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งอิทธิพลของตะวันตกได้แผ่เข้ามากดดันการปกครองของไทย โดยเฉพาะการที่ไทยต้องยอมทำสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในปี 2398 อันก่อสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และในปี 2410 ไทยต้องยอมให้กัมพูชาซึ่งเป็นประเทศราชตกอยู่ใต้อารักขาของฝรั่งเศสซึ่งในรัชสมัย รัชกาลที่ 4 นี้ทรงใช้พระราชอํานาจเชิงนิติบัญญัติในการวางกฎเกณฑ์ทั่วไปโดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน การตัดสินคดีเหมือนบูรพกษัตริย์โดยการออกประกาศต่าง ๆ ที่มีผลเป็นกฎหมายมากมายอย่างที่ไม่ เคยปรากฏมาก่อน ทั้งนี้เนื่องจากทรงต้องการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ทันการณ์และสามารถตั้งรับ กับความกดดันทางการเมืองเศรษฐกิจของมหาอำนาจจักรวรรดินิยมได้นั่นเอง  
เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติตอจากสมเด็จพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจาอยู่หัวก็ทรงดำเนินรัฐประศาสตร์นโยบายตามแนวทางที่สมเด็จพระราชบิดาไดทรงวางไว้ คือ การ ปรับปรุงประเทศในทุกทางไมว่าจะเปนการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ สังคม หรือกฎหมายและการ ศาล ครั้งเมื่อปรับระบบได้ชวงระยะหนึ่งแลว ก็ทรงเริ่มปรับปรุงศาลก่อนโดยการตั้งกระทรวง ยุติธรรมขึ้นใน พ.ศ. 2434 และรวมศาลที่เคยกระจัดกระจายตามกระทรวงทั้งหลายเขามาอยู่ที่เดียวกัน แลวดำเนินการปฏิรูปศาลให้เปนระบบสมัยใหม่ขึ้น ครั้งเสร็จแลวก็โปรดเกล้าฯ ใหจัดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายโดยยึดแบบอยางตะวันตก ซึ่งส่งผลใหแนวความคิดรากฐานทาง กฎหมายเปลี่ยนไปหลายประการ กล่าวคือ
ประการแรก กฎหมายที่เปนมิติของความศักดิ์สิทธิ์ (ธรรมศาสตร์) มีมิติของประเพณี และมิติของการใชอํานาจที่เป็นธรรม (ราชศาสตร์) เปลี่ยนไปมาก ตามแนวความคิดแบบปฏิฐานนิยมของตะวันตกวกฎหมายนั้นคือคำสั่งทั้งหลายของผูปกครองว่า การแผนดินต้อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไมทำตามแล้วตามธรรมดาตองลงโทษ” 
ประการที่สอง ศาลไทย โดยเฉพาะศาลฎีกานั้นประกอบดวยผู้พิพากษาที่ไดรับการศึกษาจากอังกฤษละยุโรป จึงใช้กฎหมาย ไทยและกฎหมายตางประเทศผสมกันในการตัดสินคดี
ประการที่สาม ในการจัดทำกฎหมายไดมี พระบรมราชโองการให้มีการแกไขกฎหมายจนเมื่อปี 2446 ไดมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจชำระ และร่างประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทยและประกาศใชใน ร.ศ. 129 (พ.ศ.2451) คือ กฎหมาย ลักษณะอาญา ร.ศ. 127 พรอมทั้งปรับปรุงกฎหมายอื่นๆ ไปดวย อาทิ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความอาญา ร.ศ. 126 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพง ร.ศ.127 และพระธรรมนูญศาล ยุติธรรม ร.ศ. 127 และโปรดเกลาฯ ให้ยกรางประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชยต่อมาจนสำเร็จเสร็จสิ้นในรัชกาลตอๆ มา  พัฒนาการดังกลาวแสดงให้เห็นวาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจาอยู่หัวและนัก กฎหมายในเวลานั้น ใหความสำคัญแก่การแกไขปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตโดยการปรับปรุง กฎหมายตาง ๆ และต่อมาการแบงประเภทกฎหมายเป็นกฎหมายแพงและอาญาก็ชัดขึ้น ดังคำอธิบายกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ในปีตอมาวา    กฎหมายแบงออกเป็น 3 แผนก คือ  
1. แพง   คือ ราษฎรเป็นโจทย์ ราษฎรเป็นจำเลย ในการที่ทำผิดต่อบุคคล แพ่งนั้น คือ ตามธรรมดามีโทษเพียงปรับไหมเท่านั้นเอง    
2. อาญา   คือ รัฐบาลเป็นโจทย์ บุคคลเป็นจำเลย ในการที่ทำผิดต่อประชุมชน ฤาทำผิดต่อรัฐบาล การอาญานั้น คือ มีโทษถึงประหารชีวิตแลจำคุก ฤาปรับเป็นพินัย  
3. ระหวางประเทศ คือ รัฐบาลเป็นโจทย์ รัฐบาลเป็นจำเลยในการที่ทำผิดในทางราชการแก่กัน ในการระหว่างประเทศๆ นั้น คือ โทษตามแต่จะทำกันเอง”    
ความชัดเจนนี้ยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อมีการประกาศใชกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 เพราะ กฎหมายลักษณะอาญาไดยกเลิกกฎหมายเก่าของไทยที่ปนกันทั้งแพงและอาญาที่สำคัญ เช่น กฎหมายลักษณะโจร ลักษณะอาญาหลวง ลักษณะวิวาท ลักษณะอาญาราษฎรพระราชกำหนดลักษณะ ข่มขืนประเวณี พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาท ประกาศลักษณะฉอ พร้อมทั้งบัญญัติไวด้วยวา กฎหมายอื่นๆ ที่บัญญัติว่าตองมีโทษ หรือยกเว้นโทษก็ใหใช้กฎหมายลักษณะอาญาแทน ทั้งยกเลิก กฎหมายอื่นที่ขัดกับกฎหมายลักษณะอาญาดวย นับแต่นั้นมาการจะพิจารณาวาสิ่งใดเป็นกฎหมาย อาญาตองขึ้นศาลอาญา ใช้วิธีพิจารณาความอาญาก็ชัดขึ้นเพราะอาศัยกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 เปนหลักได้ และมีความหมายในตัววาคดีความอื่นๆ ทุกประเภทที่ไม่ใชคดีอาญาที่ต้องใชกฎหมายอาญาบังคับ ถือเป็นความแพงต้องขึ้นศาลสวนแพ่งใชวิธีพิจารณาความแพ่งบังคับ    นับแตนั้นมาระบบกฎหมายไทยก็ยึดแนวการแบ่งแยกลักษณะนี้มาโดยตลอด ไมว่าจะเปน ในการสอนกฎหมายหรือในการใช้กฎหมายจริง 
จากการที่ประเทศไทย ได้พยายามปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายนั้นก็เนื่องมาจากการแก้ไขในข้ออ้างของชาติตะวันตกที่มุ่งหมายจะให้ประเทศไทยตกเป็นอาณานิคมของประเทศตนที่ว่ากฎหมายของ ไทยนั้นป่าเถื่อนและล้าหลังให้เป็นอันตกไป ทั้งนี้ก็เพื่อจะให้ชาติรอดพ้นจากการสูญเสียเอกราชให้แก่ชาติตะวันตกและจากการชำระ กฎหมายของไทยในช่วงนี้ ไทยได้ใช้แนวทางแก้ไขปัญหาของประเทศญี่ปุ่นซึ่งครั้งหนึ่งเคยเสียสิทธิสภาพนอกอาณา เขตเช่นเดียวกับประเทศไทยมาใช้คือการจัดระเบียบศาลยุติธรรม และจัดทำรวมทั้งแก้ไขกฎหมายให้เป็นระบบโดยการจัดทำประมวลกฎหมายทำให้ไทย ได้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตกลับคืนมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 ซึ่งตรงกับรับสมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ว่าด้วยกฎหมายทั่วไป และบรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ ในปี พ.ศ. 2467 มีการประกาศใช้ บรรพ 3 ว่าด้วยสัญญา ในปี พ.ศ. 2475 ประกาศใช้ บรรพ 3 ว่าด้วยสัญญา ในปี พ.ศ. 2475 ประกาศใช้บรรพ 4 ว่าด้วยลักษณะทรัพย์สินและต่อมาปี พ.ศ. 2477 มีการประกาศใช้บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว โดยรวมเรียกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเหตุที่เรียกว่าประมวลกฎหมายนั้น ก็เพราะเป็นการนำกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมารวบรวม เอาบทบัญญัติที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมไว้ด้วยกัน โดยให้มีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้และการศึกษาอาทิเช่น เรื่องของสัญญา ก็จะรวบรวมในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาทั้งหมดมาอยู่ในส่วนเดียวกัน หรือเช่นในเรื่องของครอบครัวก็จะจัดหมวดหมู่ของเรื่องที่มีความสัมพันธ์และเกี่ยวเนื่อง กันมาอยู่ด้วยกัน
การยกร่างประมวลกฎหมายของไทยในยุคเริ่มแรกนี้ ได้มีการนำเอากฎหมายของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในภาคพื้นยุโรปมาประกอบการยกร่าง อีกทั้งได้มีการว่าจ้างชาวต่างประเทศซึ่งโดยมากจะเป็นชาวยุโรปเข้ามาเป็นที่ปรึกษาด้วย ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบกฎหมายของไทยนั้นเป็นไปตามระบบที่ใช้กันอยู่ในทวีปยุโรป คือระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบ Civil Lawอย่างไรก็ดีในประวัติศาสตร์ของความเป็นมาของกฎหมายไทยนับได้ว่ามีการปฏิรูปทางกฎหมายหลายครั้ง
ในปี พ.ศ. 2451 ซึ่งไทยได้บัญญัติกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ขึ้นใช้ ซึ่งถือว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย และประมวลกฎหมายของไทยในสมัยแรกเริ่มนั้น เป็นเพียงการรวบรวมบทบัญญัติที่เป็น เรื่องเดียวกันที่กระจัดกระจายอยู่คนละแห่งมารวมไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งต่อมาจึงได้มีการปฏิรูปกฎหมายให้ทันสมัย โดยการยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อนำมา ใช้ตามแบบอย่างของประเทศในยุโรป ประกอบกับในขณะนั้นเป็นช่วงที่นักเรียนไทยซึ่งทางราชการได้ส่งไปศึกษายังต่างประ เทศได้สำเร็จการศึกษาและกลับเข้ามารับราชการ โดยนักเรียนไทยเหล่านั้นได้นำเอาแบบอย่างกฎหมายของต่างประเทศในภาคพื้นยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษมาพัฒนากฎหมายของไทย ซึ่งเป็นที่มาของการปฏิรูปกฎหมายไทย
นักเรียนไทยที่ทางราช การได้ส่งไปศึกษายังต่างประเทศนั้น มีทั้งที่ไปศึกษาในประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบCommon Law หรือระบบไม่มีประมวลกฎหมาย และที่ไปศึกษายังประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบ Civil Law หรือระบบประมวลกฎหมายเช่น ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี ฯลฯ โดยในยุคเริ่ม แรกของการสอนกฎหมายในโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมนั้น ได้มีการนำหลักเกณฑ์ของกฎหมายอังกฤษมาใช้เสมือนกับเป็นกฎหมายของประเทศไทย และในสมัยต่อมานักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษก็ได้นำเอาหลักกฎหมาย ของประเทศอังกฤษมาใช้ ซึ่งแม้ว่าประเทศไทยจะมีการตรากฎหมายออกมาใช้เป็นระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบ Civil Law แต่ผู้สอนและผู้ใช้กฎหมายในช่วงดังกล่าวก็ยังคงนำหลักกฎหมาย ของอังกฤษมาใช้และมาสอนตามความเคยชินอยู่ แต่หลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายจนครบถ้วนแล้ว การนำหลัก กฎหมายของอังกฤษมาใช้จึงค่อยลดน้อยลง และได้มีการใช้ระบบประมวลกฎหมายหรือระบบ Civil Law อย่างจริงจังเพียงระบบเดียว ทั้งนี้เนื่องจากแนวคิดและกระบวนการพิจารณาคดีระหว่างระบบ Common Law ของอังกฤษกับระบบ Civil Law ของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ภาคพื้นทวีปนั้นมีความแตกต่างกันมากและ หากจะนำหลักเกณฑ์ของระบบ Common Law มาใช้กับระบบ Civil Law ก็อาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งและเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะระบบกฎหมายทั้งสองระบบ ดังกล่าวต่างมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนของที่มา การใช้ การตีความ การพิจารณาและวิธีการพิพากษาคดีที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงดังที่กล่าวมาแล้ว แต่อย่างไรก็ดีในแง่ของการใช้กฎหมายแล้ว ประเทศไทยก็มีการนำเอาหลักการของ ระบบกฎหมายทั้งสองระบบดังกล่าวมาใช้ในลักษณะของการผสมผสานกันจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ดังจะเห็นได้จากการใช้คำพิพากษาฎีกามาเป็นบรรทัดฐานอย่างหนึ่งที่ใช้ประกอบในการ พิจารณาและพิพากษาคดีเช่นในประเทศที่ใช้ระบบ Common Law ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ถือว่าคำพิพากษาฎีกาเป็นกฎหมายดังเช่นใน ประเทศดังกล่าวก็ตาม
จากสมัยต้นกรุงรัตโกสินทร์จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยได้มีการพัฒนากฎหมายมากก็จริงแต่เป็นการพัฒนากฎหมายแพ่งกฎหมาย อาญาเป็นหลัก ส่วนกฎหมายมหาชนยังไม่มีการนำมาใช้เพราะกฎหมายมหาชนจะต้องเริ่มจากการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยขณะนั้นประเทศไทยยังปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จึงไม่มีการนำหลักกฎหมายมหาชนมาใช้

3. พัฒนาการของกฎหมายมหาชนหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2540 

การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปก ครองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 7 และได้มีการ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญขึ้นใช้เป็นฉบับแรกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 ซึ่งถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและใช้เป็นแนว ทางในการบริหารและการปกครองประเทศ โดยรัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดไว้ถึงวิธีการและขั้นตอนในการบัญญัติกฎหมาย ด้วยหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยแล้ว ระบบการเมืองและการปกครองของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงไป อันมีผลต่อการ บัญญัติกฎหมายของไทยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 
 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 นั้น ระบบกฎหมายไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของ การใช้ระบบกฎหมายอย่างตะวันตกอย่างเต็มรูปแบบโดยเฉพาะในปี 2478 ได้มีการประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บรรพ 6 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และได้มีการปรับปรุงกฎหมายวิธีพิจารณาความทั้งหลาย อาทิ มีการ ประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ใน ปี 2477 รวมทั้งจัดทำประมวลกฎหมายอาญาแทนกฎหมายลักษณะอาญาเดิมและประกาศใช้ในปี 2499 เป็นรากฐานของระบบกฎหมายไทยมาจนทุกวันนี้   ซึ่งมีข้อสังเกตว่า ผลของ การปรับปรุงกฎหมายและศาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงดำเนินพระบรมราโชบายดุลและคานอํานาจ ตะวันตกสำคัญสองชาติในเวลานั้น อันได้แก่ ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส โดยทรงเลือกปฏิรูป ระบบกฎหมายให้เป็นแบบฝรั่งเศสและภาคพื้นยุโรป ด้วยการจัดทำประมวลกฎหมายแทนการใช้ คอมมอนลอว์ และทรงเลือกการผลิตบุคลากรที่ใช้ในฐานะผู้พิพากษาในศาลทั้งหลาย โดยการส่งไป ศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษโดยเฉพาะ  พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์และขุนนางใน
กล่าวคือการแบ่ง ประเภทกฎหมายของไทยในสมัยหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น จะเน้นในระบบประมวลกฎหมายหรือระบบ Civil Law ทั้งนี้เนื่อง จากประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรกอันมา จากการวางรากฐานกฎหมายของชาวตะวันตกในยุโรปภาคพื้นทวีป แต่อย่างไรก็ดีการแบ่งประเภทกฎหมายของไทยดังกล่าวนั้นยังมีปัญหาอยู่บ้าง ทั้งนี้เนื่องจากระบบศาลของไทยและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของไทยนั้น มีความแตกต่างไปจากประเทศตะวันตกที่เป็นรากฐานของระบบ Civil Law อีกทั้งความเจริญและพัฒนาการทางด้านกฎหมายของไทยนั้นยังมี ไม่เท่ากันกับการพัฒนาทางด้านกฎหมายของประเทศที่เป็นต้นแบบ ประกอบกับการผสมผสานในการใช้กฎหมายของระบบกฎหมายแบบ Civil Law  และ Common Law  จากการที่นักเรียนไทยได้นำระบบกฎหมายที่ตนได้ไปศึกษากลับมาใช้ใน ประเทศไทยตามความเคยชินของตนดังกล่าว เป็นผลทำให้เกิดปัญหาในการใช้กฎหมายของไทย
หลังจากที่มีการ เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ได้มีการเปลี่ยนแปลงการกำหนดอำนาจในการปกครองประเทศใหม่ตามหลักการ ของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งยึดหลักการในการแบ่งอำนาจออกเป็น 3 อำนาจ เพื่อให้เกิดการควบคุมและ ตรวจสอบการใช้อำนาจซึ่งกันและกันคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
หลักการแบ่งแยก อำนาจในการปกครองประเทศออกเป็น 3 อำนาจดังกล่าวเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจทั้งสามดังที่กล่าว ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของกฎหมายมหาชนของไทย เพราะสาเหตุของการแบ่ง แยกอำนาจในการปกครองประเทศตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ก็เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจทั้งสามดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อไม่ให้อำนาจ หนึ่งอำนาจใดใช้อำนาจที่มีอยู่มากเกินไปจนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและ ไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งหลักการดังกล่าวเพื่อต้องการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจ ถือได้ว่าเป็น หัวใจสำคัญของกฎหมายมหาชน และจากหลักการของกฎหมายมหาชนนี้เอง ทำให้เกิดการพัฒนาองค์กร และการ พัฒนาหลักการที่ใช้อำนาจ รวมตลอดทั้งวิธีการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ของหน่วยงานของรัฐ และของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ขึ้นมาตามลำดับจนกระทั่งกลายมาเป็นกฎหมายมหาชน ในปัจจุบันไปในที่สุด
ดังนั้นการแบ่งประเภท ของกฎหมายในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้เกิดประเภทของกฎหมายขึ้นมาอีกประเภทหนึ่งที่แตกต่างไป จากการแบ่งประเภทของกฎหมายที่เคยมีมาในประเทศไทยคือ เป็นการแบ่งแยกกฎหมายอันมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของผู้ปกครอง ซึ่งได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ที่จะควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ปกครอง ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชน

3.1 การแบ่งประเภทของกฎหมาย

สมัยนั้น พระบรมราโชบายดังกล่าวต่อพัฒนาการในระบบกฎหมายและศาลไทยมีมากมหาศาล กล่าวคือ ทำให้ระบบกฎหมายไทยมีลักษณะพิเศษตรงที่ระบบกฎหมายเป็นระบบแบบภาคพื้นยุโรป คือ ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบศาลและระบบการศึกษากฎหมายยังคงมีลักษณะที่ต่อ เนื่องมาจากระบบการเรียนการสอนที่กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงวางไว้ คือ ได้รับอิทธิพลจาก กฎหมายอังกฤษ สภาพเช่นนี้ย่อมส่งผลโดยตรงต่อทัศนะในการแบ่งกฎหมายด้วย กล่าวคือ  
(1) ในทางวิชาการมีการแบ่งประเภทกฎหมายเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนขึ้น แต่ความสำคัญของกฎหมายมหาชนมิได้มีมากนัก 
(2) แต่ในระบบศาลและระบบการศึกษากฎหมายยังคงให้ความสำคัญกับการแบ่งประเภท เป็นกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญาเช่นเดิม
ในทางวิชาการมีการแบงประเภทกฎหมายเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมาย มหาชนขึ้น แตความสำคัญของกฎหมายมหาชนมิได้มีมากนัก   การแบงกฎหมายเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนในทางวิชาการภายหลังการ เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ยังแยกออกเปนยุคย่อยได3 ยุค คือ  

3.1.1 ยุคสภานิติศึกษาและมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตรและการเมือง (พ.ศ.2460-2494)

การกำเนิดกฎหมายมหาชนไทย   ครั้นมีการจัดทำประมวลกฎหมายสำเร็จไปบางส่วนแล้ว ที่ปรึกษากฎหมายชาวฝรั่งเศสที่ รัฐบาลจ้างมายกร่างประมวลกฎหมายโดยเฉพาะนายปาดูซ์ (George Padoux) ได้ให้ความเห็นต่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์ อธิบดีศาลฎีกาว่า สมควรเปลี่ยนระบบการศึกษากฎหมายแบบอังกฤษแต่เดิมที่เริ่มโดยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มาเป็นการศึกษากฎหมายแบบ ภาคพื้นยุโรป เพื่อให้สอดคล้องกับระบบประมวลกฎหมายที่ใช้ ซึ่งองค์อธิบดีศาลฎีกาก็เห็นด้วย การ เปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น 2 ทางคือ
ประการแรก คือ การเปลี่ยนครูสอนกฎหมายในโรงเรียนกฎหมาย ซึ่งจบการศึกษาแบบอังกฤษตลอดจนการใหทุนศึกษากฎหมายไปศึกษาเนติบัณฑิตอังกฤษ มาเป็น การใหทุนการศึกษาไปศึกษาที่ยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาแทน และ
ประการที่สอง คือ การเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษากฎหมายในประเทศไทย โดยทรงตั้งสภานิติศึกษาใหทำหน้าที่จัด ระเบียบและวางหลักสูตรการศึกษากฎหมายใหสอดคล้องกับระบบกฎหมายของประเทศ มีการปรับปรุงหลักสูตรเพิ่มการศึกษากฎหมายวาด้วยการปกครอง กฎหมายวาด้วยการเงินและเศรษฐกิจวิทยาเขาไป ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการเรียนการสอนกฎหมายมหาชนขึ้นในประเทศไทย ผลที่สำคัญ ที่สุดในสวนที่เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนซึ่งไม่เปนที่รู้จักกันของนักกฎหมายไทยกอนตั้งสภานิติศึกษาก็คือ การที่นักวิชาการฝรั่งเศสได้นำวิธีการแบงประเภทกฎหมายแบบยุโรป คือ กฎหมาย เอกชนและกฎหมายมหาชนเข้ามาเผยแพรโดยเขียนตำราและสอนในหลักสูตรการศึกษากฎหมาย
อยางไรก็ตาม นักวิชาการผู้ไดชื่อว่าบุกเบิกเขียนตำรากฎหมายมหาชนเลมแรกในประเทศไทย คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค) ซึ่งเขียนคำอธิบายกฎหมายปกครองเพื่อใช้สอนใน โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม ตามหลักสูตรที่ปรับปรุงใหมในคำอธิบายดังกล่าวไดนำเสนอ แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายปกครองไว้ที่นาสนใจหลายประการ คือ  
ประการแรก ความหมายของกฎหมายปกครอง ซึ่งนายปรีดีให้ความหมายวหลักและ ขอบังคับซึ่งว่าดวยระเบียบและวิธีดำเนินการของราชการฝ่ายบริหารหรือฝายธุรการ และว่าดวย ความเกี่ยวข้องซึ่งเอกชนจะพึงมีแกราชการ และขยายความต่อไปถึงความแตกตางระหว่างกฎหมายปกครองกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว“...กฎหมายปกครองนี้ตางกับกฎหมายธรรมนูญการปกครอง แผ่นดิน กลาวคือ กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดินเปนกฎหมายที่บัญญัติถึงระเบียบแห่ง อํานาจสูงสุดในแผนดินทั้งหลาย และวิธีดำเนินการทั่วไปแห่งอํานาจเหลานี้ หรือจะกล่าวอีกอยาง หนึ่งว่า กฎหมายธรรมนูญการปกครองวางหลักทั่วไปแหงอํานาจสูงสุดในประเทศ และกฎหมาย ปกครองจำแนกระเบียบแห่งอํานาจบริหารหรืออํานาจธุรการใหพิสดารออกไป และว่าดวยการใช้ อํานาจนี้ แตอย่างไรก็ตาม กฎหมายทั้งสองนี้ก็เปนสาขาอันแยกมาจากกฎหมายมหาชนด้วยกัน เหตุฉะนั้นในบางเรื่องจึงแยกออกจากกันใหเด็ดขาดไม่ได้  
ประการที่สอง นายปรีดีได้นำแนวความคิดวาด้วยสิทธิของมนุษยชน (droit de I’homme) ซึ่งยังไมมีกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับใดรองรับไวโดยตรง ดังที่ปรากฏในหมวดว่าดวยสิทธิ เสรีภาพของประชาชนในรัฐธรรมนูญที่ออกภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เข้ามาสอนเปน ส่วนหนึ่งในวิชากฎหมายปกครอง โดยถือวาเป็นหลักกฎหมายปกครองทั่วไป 
ประการที่สาม แมในสาระของตำราเล่มนี้จะไมได้พยายามสรางสำนักประชาธิปไตยโดยตรง ใหเกิดขึ้นกับผู้ศึกษา แตผู้เขียนก็ไดสอดแทรกข้อความหลายตอนที่กระตุนให้ผูศึกษาเริ่มตั้งคำถาม เกี่ยวกับระบอบการปกครองของประเทศ อาทิ การสอนถึงประเภทรัฐบาลว่ามี 4 ชนิด คือ 
 1. รัฐบาลซึ่งราษฎรไดใช้อํานาจสูงสุดเองโดยตรง  
2. รัฐบาลซึ่งราษฎรไดใช้อํานาจสูงสุดนั้น โดยมีผูแทนอันจะเพิกถอนไม่ไดจนกว่าจะพน ระยะเวลาที่แต่งตั้งไว้  
3. รัฐบาลซึ่งราษฎรไดใช้อํานาจสูงสุดนั้น โดยมีผูแทนอันจะเพิกถอนได้ตามความพอใจ  
4. รัฐบาลซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจาอยู่หัวทรงอํานาจเต็มที่ในการที่จะใชอํานาจสูงสุดของรัฐ   และตอมาได้อธิบายความแตกตางระหว่างรัฐบาลราชาธิปไตยกับรัฐบาลประชาธิปไตย และ ไดใส่หมวดเพิ่มเติมวาด้วยระเบียบการปกครองโดยสามัคคีธรรมในสมัยพุทธกาลเขามา โดยอ้าง หนังสือพุทธประวัติ เล1 ซึ่งนิพนธโดยสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส วา กรุงกบิลพัสด์ ปกครองโดยสามัคคีธรรม คือ ไมมีพระเจ้าแผนดิน เมื่อมีกิจการแผ่นดินที่จะตองวินิจฉัย ผู้เปนหัวหน้าก็ประชุมกันปรึกษาแลวช่วยกันจัดตามสมควร
ลักษณะเชนนี้ย่อมแสดงใหเห็นว่าการสอนกฎหมายปกครองในยุคนั้น นอกจากมีวัตถุประสงคทางวิชาการแล้ว ยังมีวัตถุประสงคทางการเมืองในการกระตุนสำนึกในสิทธิเสรีภาพของบุคคล และระบอบการปกครองที่ผู้เสนอตองการให้ เกิดขึ้นในประเทศดวย  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 และไดมีการตราพระราชบัญญัติธรรมนูญการ ปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 และรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ออกใชบังคับแล้วและมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรและการเมืองขึ้น ใน ยุคนี้มีการเรียนการสอนกฎหมายมหาชนกันอย่างเปดเผย จนกล่าวไดว่าในทางวิชาการนั้น การแยก กฎหมายเปนกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ที่สำคัญคือการนำเอา
แนวคิดและทฤษฎีตาง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนมาปรับปรุงระบบการปกครอง และกฎหมาย ไทยก็เริ่มขึ้นโดยใช้กฎหมายที่ออกโดยผานสภาผู้แทนราษฎรเปนเครื่องมือที่มีบทบาท ทั้งการ ยกเลิกกลไกทางการเมืองและองค์กรทางการเมืองแบบสมบูรณายาสิทธิราชยพร้อมทั้งตรา กฎหมายเชื่อมโยงระบบการเมืองแบบใหมเข้ากับโครงสรางอํานาจทางการบริหารในระบบราชการ ซึ่งสืบทอดมาจากระบบเดิม อันแสดงให้เห็นความพยายามของคณะผูปกครองประเทศที่ต้องการจัด ความสัมพันธทางอํานาจบริหารที่เป็นกลสำคัญของอํานาจรัฐใหอยู่ภายใตอํานาจทางการเมือง ของระบอบการเมืองใหม่ 

3.1.2 ยุคสถาปนาระบอบปฏิวัติ (พ.ศ.2490-2517)

ความตกต่ำของกฎหมายมหาชนไทย   จุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางการเมืองไทย คือ การรัฐประหารระหวางปี 2490-2495 ซึ่งทำใหระบอบรัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรพยายามสถาปนาขึ้น พร้อมดวยพัฒนาการของกฎหมายมหาชน ในฐานะที่เป็นกฎหมายที่พยายามจำกัดอํานาจรัฐและระบบราชการตองปิดฉากลง พรอมทั้งทำให้ ระบบราชการเขามาครอบงำระบอบการเมืองเกิดขึ้นได้เต็มที่ในป2495 ซึ่งมีการยอมใหข้าราชการ ประจำดำรงตำแหนงการเมืองได้ มีขอน่าสังเกตวาในช่วงดังกลาวได้เกิดเหตุการณทางกฎหมายที่ กระทบต่อพัฒนาการของกฎหมายมหาชนโดยตรงอยางน้อย 3 ประการ คือ  
ประการแรก มีการตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรพ.ศ. 2495 ขึ้นเปลี่ยนชื่อ มหาวิทยาลัยตลอดจนการบริหารมหาวิทยาลัย เปลี่ยนสภาพมหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยเปดเป็น มหาวิทยาลัยปด ฯลฯ นั้น มีผลกระทบต่อการเรียนการสอนกฎหมายโดยตรง กลาวคือ หลักสูตร ธรรมศาสตร์บัณฑิตเดิมที่ใหความสำคัญกับการเรียนการสอนกฎหมายเอกชนในฐานะที่เป็น กฎหมายใหมมากกว่ากฎหมายมหาชนบางก็จริง แต่การเรียนการสอนก็มีลักษณะทางวิชาการ มากกวาปฏิบัติมาเป็นการศึกษาเนนหนักทางปฏิบัติเหมือนเมื่อครั้งโรงเรียนกฎหมายกระทรวง ยุติธรรมเพิ่มวิชากฎหมายแพง กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา ลดวิชากฎหมายมหาชนและวิชาที่เปนหลักทางนิติศาสตร์ลง ทำใหกฎหมาย กลายเป็นเพียง เทคนิคมากขึ้น มิติเชิงคุณคาของกฎหมายและคุณธรรมของกฎหมายลดลงเปน ลำดับ 
ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลงในวงการใช้บังคับกฎหมาย โดยเฉพาะบทบาทของศาลและ นักนิติศาสตรมายอมรับการใช้อํานาจอันเกิดจากการรัฐประหาร ทั้งๆ ที่กอนหน้านั้นศาลเปนองค์กร ที่ดูจะใหความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนโดยการใชอํานาจรัฐที่ไม่ถูกตองได้  ดังกรณีการ พิพากษาวากฎหมายที่กำหนดโทษทางอาญาย้อนหลังนั้นขัดรัฐธรรมนูญ ในคดีอาชญากรสงครามที่ 1/1489 แตหลังจากการรัฐประหารปี 2490 เรื่อยมา ศาลและนักนิติศาสตรไทยก็ดูเหมือนจะให้การ ยอมรับการรัฐประหารสำเร็จเปนอย่างดี โดยวินิจฉัยเสมอมาจนปจจุบันว่า คณะรัฐประหารเปนรัฐฐาธิปัตยคำสั่งของคณะรัฐประหารจึงเป็นกฎหมายและเปนได้แมรัฐธรรมนูญ
  ประการที่สาม หลังการรัฐประหารในป2490 ก็มีการรัฐประหารและการพยายามรัฐประหาร ที่ไมสำเร็จอีก 17 ครั้ง ทำใหรัฐธรรมนูญซึ่งเคยมีเสถียรภาพพอสมควรในอดีต โดยเฉพาะ รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งใชอยู่ถึง 14เต็ม กลายเป็นกฎหมายที่ ถูกยกเลิกเปลี่ยนแปลงบอยที่สุดจนหาความมั่นคงมิได้ สภาพของความไรเสถียรภาพของ รัฐธรรมนูญนี้เองที่ทำให้การใหความสำคัญต่อกฎหมายมหาชนโดยภาพรวมลดลงไปในทางวิชาการ และสภาพที่ รัฐธรรมนูญเปนกติกาอํานาจที่ผู้รัฐประหารวางขึ้น และองคกรที่มีหน้าที่พิทักษความ ศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ คือ ตุลาการรัฐธรรมนูญ ไม่ไดรับความเชื่อถือว่าจะคุมครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนได้จริงนี้เอง ทำใหรัฐธรรมนูญหมดความสำคัญและสิ้นความหมายเชิงคุณค่าลง สงผล ให้กฎหมายมหาชนทั้งหลายหมดความสำคัญในสายตาคนทั่วไปลง รัฐธรรมนูญไทยจึงมีลักษณะ ทาง รูปแบบและ เทคนิคมากกวาจะมี อุดมการณ และ คุณคอยางที่ปรากฏในต่างประเทศ  
ประการที่สี่ กฎหมายมหาชนแบบเสรีนิยมประชาธิปไตยตะวันตกโดยเฉพาะ กฎหมาย ปกครอง ซึ่งมีวัตถุประสงคหลักในการจำกัดอํานาจและคุ้มครองเสรีภาพประชาชน โดยใหประชาชน มีทางเยียวยาการละเมิดสิทธิโดยรัฐและเจ้าหนาที่ของรัฐ ได้กลับกลายเปเครื่องมือของรัฐโดยผูมีอํานาจตรากฎหมายดังกล่าวออกมาลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนไดเต็มที่ในประเทศไทย ดังนั้น มิติของกฎหมายมหาชนไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2490 เปนต้นมา จึงเนนที่องค์กรของรัฐและอํานาจขององคกรเหล่านั้น หาไดเน้นที่ระบบการควบคุมการใชดุลพินิจและอํานาจขององค์กรตลอดจน เจาหน้าที่ขององคกรดังกล่าวไม่ 
กล่าวโดยสรุปคือ ในชวงระยะเวลาของการก่อตัวของกฎหมายมหาชนในฐานะที่เปน ประเภทของกฎหมายที่แยกออกจากกฎหมายเอกชนนี้ ทำให้การแยกประเภทกฎหมายออกเปน กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนในประเทศไทยในทางวิชาการเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป หากแตมิติเชิงคุณค่าของกฎหมายมหาชนในฐานะที่เปนกฎหมายที่จำกัดอํานาจรัฐทุกระดับ กลับถูกระบอบ ปฏิวัติที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเลาทำลายลงโดยสิ้นเชิง รัฐธรรมนูญและ กฎหมายปกครองในยุคนี้ จึงเปเครื่องมือทางเทคนิคของผูมีอํานาจรัฐที่ใช้เพื่อปกครองประเทศมากกวาที่จะเป็น กติกาที่ สังคมยอมรับสภาพเชนนี้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2490 และทวีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแตพ.ศ. 2500 มา จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญขึ้นในระบบการเมืองและกฎหมายมหาชน  

3.2  พัฒนาการของกฎหมายมาหาชนของไทย พุทธศักราช 2517

การฟื้นฟูกฎหมายมหาชนไทย   ระบอบปฏิวัติที่สถาปนาขึ้นตั้งแตพ.ศ. 2500 จนถึง พ.ศ. 2511อด้วยระบอบปฏิวัติที่สถาปนาตอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2514-2516 ไดก่อใหเกิดสภาวะที่สังคมไทยในเวลานั้นไม่อาจรับไดต่อไปเพราะการขยายตัวของชนชั้นกลางในเมืองที่ตองการสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนรวมโดยตรงในการปกครองประเทศ จึงมีการรวมตัวกันเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เปนประชาธิปไตย และปฏิเสธการปกครองโดยคนกลุมเดียวภายใต้ธรรมนูญการปกครอง จนทายที่สุดก็นำไปสู่เหตุการณ14 ตุลาคม 2516 เปนเหตุให้รัฐบาลภายใตการนำของจอมพลถนอม กิตติขจร ต้องลาออก สภานิติบัญญัติแหงชาติซึ่งมาจากการเสนอแต่งตั้งโดยรัฐบาลนั้นก็ลาออกตามจนเกือบหมด พระมหากษัตริยทรงใช้ พระราชอํานาจในฐานะเปนศูนย์รวมของชาติตามธรรมนูญการปกครอง โปรดเกลาฯตั้งรัฐบาลใหม่ ภายใตการนำของนายสัญญา ธรรมศักดิ์และโปรดเกลาฯ ให้แตงตั้งสมัชชาแห่งชาติเพื่อเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติแหงชาติทำหน้าที่รางรัฐธรรมนูญให้เปนประชาธิปไตยเพื่อสนองความต้องการของมหาชนในสวนที่เกี่ยวกับพัฒนาการของกฎหมายมหาชนนั้น อาจกล่าวไดว่า มีเหตุการณสำคัญ 3 ประการที่กระทบตอพัฒนาการดังกลาวโดยตรง  
ประการแรก รัฐธรรมนูญซึ่งแต่เดิมโดยเฉพาะภายหลังการใชรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2475 แกไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 มีความหมายเพียงกติกาทางเทคนิคที่ผูรัฐประหารหยิบยื่นให้สังคมไทยกลับมีความหมายในเชิงการเมืองใหมกล่าวคือ กฎหมาย ที่จำกัดอํานาจรัฐ และคุมครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามคติลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism)  
ประการที่สอง ความตื่นตัวในกฎมายมหาชนมิไดจำกัดอยู่เพียงรัฐธรรมนูญแตได้ขยายไป ถึงกฎหมายมหาชนอื่นๆ ดวยโดยเฉพาะกฎหมายปกครองและกฎหมายมหาชนทางเศรษฐกิจและ สังคมอื่นๆ  
ประการที่สาม ความตื่นตัวในกฎหมายมหาชนในฐานะกฎหมายที่มีลักษณะเฉพาะทั้งที่เปน หลักกฎหมายสารบัญญัติของตนเอง ระบบวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่แยกจากระบบวินิจฉัยชี้ขาด กฎหมายเอกชนนั้นยังเลยไปถึงนักนิติศาสตรในมหาวิทยาลัยอีกด้วย โดยเฉพาะอยางยิ่งบทความ เรื่อง นักนิติศาสตรหลงทางหรือของศาสตราจารยดร.อมร จันทรสมบูรณ์ ซึ่งปลุกสำนึกใน ความสำคัญของกฎหมายมหาชนใหแก่นักกฎหมายไทยนับเปนบทความประวัติศาสตร์ที่เปดยุค ใหม่ของการฟื้นตัวของกฎหมายมหาชนในประเทศไทยหลังปี 2490 โดยบทความนี้ไดกระตุนให้ วงการนิติศาสตรไทยหันมาให้ความสนใจกับกฎหมายมหาชนอีกครั้งหนึ่งและกอให้เกิดผลในวง วิชาการนิติศาสตรไทยอย่างนอย 3 ทางคือ  
ทางแรก มีการปรับปรุงระบบการศึกษานิติศาสตรในมหาวิทยาลัย โดยการส่งคนไปศึกษา กฎหมายมหาชนในประเทศตางๆ โดยเฉพาะในภาคพื้นยุโรป อันไดแก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ออสเตรีย เบลเยี่ยม ฯลฯ ซึ่งภายหลังเมื่อสำเร็จการศึกษาแลวนักกฎหมายเหล่านี้ตางแยกย้ายกัน เปนอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัยตางๆโดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตรและมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการศึกษา กฎหมายมหาชนในประเทศไทยตอมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังมีการปรับปรุงหลักสูตรนิติศาสตรใน มหาวิทยาลัย 
ทางที่สอง คือ การปรับปรุงกฎหมายวาด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาเสียใหมให้มีลักษณะ คลายคลึงกับศาลปกครองฝรั่งเศสโดยเฉพาะสภาแห่งรัฐ (Conseil d’Etat) ในคริสตศตวรรษที่ 19 (ค.ศ.1800-1872) 
ทางที่สาม บรรดานักกฎหมายโดยทั่วไปก็มีความตื่นตัวในกฎหมายมหาชนขึ้น จนมีการ จัดตั้ง สมาคมนักกฎหมายมหาชนแหงประเทศไทยขึ้นเพื่อเปนที่รวมของนักกฎหมายมหาชน และได้มีการดำเนินการหลายประการที่เปนการเสริมสร้างและเผยแพรผลงานทางกฎหมายมหาชน แกนักกฎหมายและประชาชนโดยทั่วไปมาตลอดจนถึงปัจจุบัน  
สำหรับการแบงประเภทกฎหมายนั้น ภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 แลว การแบ่งประเภทกฎหมายเปกฎหมายเอกชน-กฎหมายมหาชนในทาง วิชาการก็หันกลับไปยึดหลักที่ปรากฏในยุคสภานิติศึกษาและมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตรและ การเมืองเช่นเดิม ดังปรากฏในการนำเสนอของ ศาสตราจารยดร.หยุด แสงอุทัย ว่า  กฎหมายแบงแยกตามข้อความของกฎหมายไดเป็น 3 ประเภท กลาวคือ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน และกฎหมายระหว่างประเทศ    ดังจะไดอธิบายความหมายของกฎหมายทั้ง 3 นี้ตามลำดับ  
1. กฎหมายมหาชน ไดแก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธระหว่างรัฐหรือหนวยของรัฐกับ ราษฎร ในฐานะที่เป็นฝายปกครองราษฎรกล่าวคือ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร  
2. กฎหมายเอกชน ไดแก่ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธระหว่างเอกชนตอเอกชนด้วยกัน ในฐานะที่เทาเทียมกัน เช่น ก. ทำสัญญาซื้อขายกับ ข. ก. กับ ข. ตางก็อยู่ในฐานะเทาเทียมกัน ก. จะบังคับ ข. ให้ตกลงกับ ก. อยางใดๆ โดย ข. ไม่สมัครใจไมได้ มีขอที่ควรสังเกตว่า ในบางกรณีรัฐก็ ไดถ่อมตัวมาทำสัญญากับราษฎรในฐานะที่รัฐเปนราษฎรคนหนึ่ง เช่น องคการผลิตอาหารสำเร็จรูป (อสร.) ของกระทรวงกลาโหม ได้ทำสัญญาขายของแกราษฎร ในฐานะที่ อสร. เป็นพอค้า เปนต้น ซึ่งก็เหมือนสัญญาซื้อขายระหวางบุคคลธรรมดา  
3. กฎหมายระหวางประเทศ หมายถึงกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธระหว่างรัฐตอรัฐ ด้วยกัน และแบงแยกออกตามความสัมพันธ์ได3 สาขาคือ  
ก. กฎหมายระหวางประเทศแผนกคดีเมือง ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหวางรัฐต่อรัฐดวยกัน ในฐานะที่รัฐเป็นบุคคลตามกฎหมายระหวางประเทศ เช่น กำหนดขอบังคับว่าดวยการทำสงคราม ระหวางกัน เป็นตน  
ข. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ซึ่งกำหนดถึงความสัมพันธระหว่างรัฐตอรัฐ ด้วยกันในทางคดีบุคคล คือ ในทางเอกชนหรือในทางแพง กฎหมายนี้จะกำหนดว่า ถาข้อเท็จจริง พัวพันกับตางประเทศในทางใดทางหนึ่ง เช่น การสมรสกับหญิงที่เปนคนต่างดาว หรือการซื้อขาย ของที่อยูในต่างประเทศ จะใชกฎหมายภายในประเทศ (คือกฎหมายไทย) หรือจะใช้กฎหมาย ตางประเทศบังคับแก่คดีนั้นๆ
ค. กฎหมายระหวางประเทศแผนกคดีอาญา ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ระหวางรัฐต่อรัฐ ดวยกันทางคดีอาญา เช่น กำหนดวาการกระทำความผิดนอกประเทศในลักษณะใดบางจะพึง ฟ้องรองในประเทศได้ตลอดจนวิธีการสงผู้รายข้ามแดน เปนต้น ตอไปนี้จะได้อธิบายกฎหมายสาขาตางๆ โดยลำดับ   กฎหมายมหาชน ได้กลาวมาแล้ววากฎหมายมหาชน ได้แกกฎหมายที่กำหนด ความสัมพันธ์ระหวางรัฐหรือหน่วยของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่รัฐเปนฝายปกครองราษฎร กล่าวคือ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือราษฎร  สาขากฎหมายมหาชนมีกฎหมาย ดังตอไปนี้ คือ รัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญา กฎหมายว่าดวยธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าดวยวิธี พิจารณาความอาญา (ตำราบางเล่มถือวาเป็นกฎหมายเอกชน) และกฎหมายวาด้วยวิธีพิจารณา ความแพ” 
 สำหรับ ศาสตราจารยดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ไดอธิบายแบ่งแยกประเภทกฎหมายมหาชน กับกฎหมายเอกชนเอาไวว่า    การแบงแยกที่สำคัญและเก่าแกที่สุด คือ การแยกออกเป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมาย เอกชน กฎหมายเอกชน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธระหว่างเอกชนกันเอกชน ใน ฐานะที่เทาเทียมกัน ส่วนกฎหมายมหาชน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธระหว่างรัฐ กับเอกชน หรือระหวางเจ้าหนาที่หรือผู้ใชอํานาจของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างองคกรของรัฐกับ เอกชนในฐานะที่ฝ่ายหนึ่งเปนผู้ใชอํานาจปกครอง และอีกฝ่ายหนึ่งเปนผูอยู่ใตอํานาจการปกครอง   การแยกกฎหมายเป็นกฎหมายมหาชนและเอกชน แยกมาตั้งแตสมัยโรมันเป็นเวลา 2,000 กวาปีแลว โดยถืองานหรือประโยชนเปนมาตรฐานในการแบงแยก Ulipian ไดอธิบายเรื่องกฎหมาย มหาชนและเอกชนไวา บทบัญญัติใดเกี่ยวกับกิจการสวนรวมของบานเมืองโรมันกฎหมายนั้นเปน กฎหมายมหาชน แตากฎหมายใดมีบทบัญญัติเกี่ยวกับประโยชนวนตัวของเอกชนแลวก็เปน กฎหมายเอกชน สวนอะไรเปนประโยชนวนตัว อะไรเปนประโยชนวนรวมเปนสิ่งที่ชี้ขาดได้ยาก แตเพื่อจะเปนแนวทางแบงแยกวากฎหมายใดเปนกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชน มีขอ พิเคราะหอยู3 ประการ คือ   
1. พิเคราะหถึงกิจการที่บัญญัติไวกฎหมายนั้นวาเปนเรื่องของเอกชนหรือสวนรวม         ถาเปนเรื่องผลประโยชนของสวนรวม เชน เรื่องการปกครองบานเมืองก็เปนกฎหมายมหาชน ถา เปนเรื่องกิจการสวนตัวของเอกชนก็เปนเรื่องกฎหมายเอกชน  
2. พิเคราะหถึงผูถืออํานาจหรือผูทรงสิทธิ คือ ตัวผูถือ (Subject) สิทธิหรืออํานาจนั้นวาเปน ใคร ถ้าเปนองคการของรัฐหรือเจาหนาที่ของรัฐก็เปนกฎหมายมหาชน ถาเปนบุคคลธรรมดาก็เปน กฎหมายเอกชน
3. พิเคราะหถึงสถานะหรือความสัมพันธของบุคคลในกฎหมายนั้น ถาเปนความสัมพันธซึ่ง ฝายหนึ่งมีอํานาจเหนืออีกฝายหนึ่ง เชน ในฐานะที่ฝายหนึ่งเปนผูใชอํานาจปกครอง อีกฝายหนึ่งอยูในฐานะอยูใตอํานาจปกครอง ความสัมพันธอยูในลักษณะไมเสมอภาคเชนนี้กฎหมายนั้นเปน กฎหมายมหาชน แตาความสัมพันธอยูในลักษณะเสมอภาค เชน ระหวางผูซื้อกับผูขายก็เปน กฎหมายเอกชน” 
  สำหรับนักนิติศาสตรที่ไดรับอิทธิพลการแบงประเภทกฎหมายมาจากฝรั่งเศสไดแกศาสตราจารยไพโรจนชัยนาม ซึ่งไดนำเสนอแนวทางการแบงแยกประเภทกฎหมายเอาไวอีก แนวหนึ่งวา   “...ในประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น มีกฎหมายเอกชนและกฎหมาย มหาชนแนนอน และแตละประเภทจะมีสาขาแบงแยกออกไปอีก ดังจะเห็นไดอไป...”   “กฎหมายมหาชนแบงออกเปน 
 1. กฎหมายมหาชนภายนอกหรือกฎหมายมหาชนระหวางประเทศ (Droit public international) หรือกฎหมายระหวางประเทศแผนกมหาชน ซึ่งบัญญัติถึงความสัมพันธหรือการเกี่ยวพันระหวางรัฐตอ รัฐนอกจากนี้ยังกำหนดฐานะของกลุมประเทศและขององคการระหวางประเทศบางจำพวกที่มิไดประกอบดวยรัฐ 
 2. กฎหมายมหาชนภายใน (Droit public interne) ซึ่งบัญญัติถึงความสัมพันธหรือความ เกี่ยวพันระหวางรัฐกับพลเมืองของรัฐ กำหนดฐานะของนิติบุคคลหรือสถาบันในกฎหมายมหาชนกับ เอกชน   ในที่นี้เราจะกลาวถึงแตกฎหมายมหาชนภายในโดยเฉพาะเทานั้น   กฎหมายมหาชนภายใน แบงแยกออกเปน  
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ (Droit constitutionnel) ซึ่งศึกษาถึงสถาบันทางรัฐธรรมนูญและ ทางการเมือง ความสัมพันธระหวางสถาบันเหลานี้กับบุคคลอื่นๆ  
2. กฎหมายปกครอง (Droit administrative) ซึ่งศึกษาถึงฐานะของสถาบันทางการปกครอง หรือการบริหาร ความสัมพันธของสถาบันนี้กับสถาบันทางการเมืองและกับเอกชน  
3. ตั้งแตอนมหาสงครามโลกครั้งที่สองมาแลว กฎหมายมหาชนของประเทศที่มีความ เจริญกาวหนามาก เชน ฝรั่งเศส ถือวากฎหมายวาการการเงินการคลัง (Droit financier แตอน เรียก Législation financiére) ซึ่งศึกษาถึงคลังมหาชน จัดเขาอยูในจำพวกกฎหมายมหาชนอยางชัด แจง และมีการสอนและบรรยายทั้งที่แยกออกตางหากหรือรวมกับการสอนวิชากฎหมายมหาชน...”    
กล่าวโดยสรุปถึงกฎหมายมหาชนในประเทศไทยนั้นมีการเปลี่ยนแปลง คือ ในระบบศาลและระบบการศึกษากฎหมายยังคงใหความสำคัญกับการแบง ประเภทเปนกฎหมายแพงและกฎหมายอาญาเชนเดิม   ระบบกฎหมายไทยในยุคการปฏิรูประบบศาลและระบบกฎหมายไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น นักกฎหมายไทยสวนใหญซึ่งเปนลูกศิษยของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ และไดรับอิทธิพลการแบง ประเภทกฎหมายเปกฎหมายแพงและกฎหมายอาญามาจากกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็ยังนำการแบงประเภทดังกลาวมาใชกำหนดหลักสูตรในการศึกษา ทั้งยังมีอิทธิพลไปถึงระบบศาลและ การใชกฎหมายอีกดวย ความจริงขอนี้สะทอนออกมาจากการที่นักกฎหมายไทยเรียกกฎหมาย รัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองวาเปกฎหมายมหาชนสวนแพซึ่งไมเคยปรากฏสำนวน ดังกลาวนี้ในประเทศตนแบบของกฎหมายมหาชนในยุโรปเลย ทั้งการเรียกดังกลาวก็ไมาจะ ถูกตองเพราะเรื่อง แพ” (Civil) นั้น เปนเรื่องระหวางเอกชนกับเอกชนโดยแทการเรียกกฎหมาย มหาชนสวนแพง (ซึ่งถาแปลเปนภาษาอังกฤษแลวก็ยิ่งแปลก เพราะจะตองแปลว“Civil” Public Law !) เพียงเพื่อใหแตกตางจากกฎหมายมหาชนสวนอาญาหรือกฎหมายอาญานั้น จึงไมองดวยรากศัพททางภาษาและสภาพของกฎหมาย อยางไรก็ตาม การใชสำนวนเชนนี้สะทอนใหเห็นถึงอิทธิพลของ กฎหมายแพงและกฎหมายอาญาในระบบกฎหมายไทยเปนอยางดี   นอกจากนั้น ระบบศาลไทยเองตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมก็ใหความสำคัญกับการแบง เขตอํานาจศาลโดยพิเคราะหจากการเปคดีแพเปคดีอาญาอพิพาทนั้นจะเปนขอพิพาท ในกฎหมายมหาชน เชน คดีภาษีอากร หรือการฟองขอใหเพิกถอนการกระทำหรือนิติกรรมทาง ปกครองของเจาหนาที่ของรัฐ เมื่อเปนเชนนี้คดีที่โดยสภาพเปนคดีปกครองในกฎหมายมหาชนก็ ตองฟองยังศาลแพง จึงไมองสงสัยวาเหตุใด แผนกคดีปกครองจึงตองอยูในศาลแพง   สำหรับวิธีพิจารณาความก็เชนกัน ถาไมใชคดีอาญาที่ตองใชประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ก็ตองใชประมวลกฎมายวิธีพิจารณาความแพงบังคับทั้งกับคดีแพงแทๆ ระหวาง เอกชนกับเอกชน และกับคดีในกฎหมายมหาชนอื่น เชน คดีภาษีอากร หรือคดีปกครอง ทั้ง ๆ ที่ แทจริงแลววิธีพิจารณาความแพงเปนวิธีพิจารณาในระบบกลาวหา คือ ศาลตองวางตนเปนกลาง คอยรับฟงแตการสืบพยานตามขออาวของโจทกจำเลย แลวตัดสินไปตามขออางและพยานแตละฝายแตโดยสภาพคดีในกฎหมายมหาชนนั้น ในประเทศตนแบบกฎหมายมหาชนทั้งหลายในยุโรป ตางก็ใชวิธีพิจารณาแบบไตสวน คือ ศาลตองลงไปเสาะหาขอเท็จจริงจากทุกฝาย โดยเฉพาะจาก ฝายปกครองใหมากที่สุด เพราะฝายปกครองมีเอกสิทธิ์ที่เปนความลับคุมครองอยูและฝายปกครอง เปนองคกรที่ใหญและมีอํานาจมากอาจทำใหการแสวงหาหลักฐานโดยเอกชนผูมาฟองคดีทำไดยาก หรือทำไมไดเลย การใชกฎหมายวิธีพิจารณาความแพงที่ใชกับการสืบพยานของเอกชนสองฝายที่กฎหมายถือวาเสมอภาคกันมาใชกับคดีในกฎหมายมหาชนที่รัฐและฝายปกครองมีฐานะเหนือกวา เอกชนจึงไมองดวยสภาพของคดีโดยแทนอกจากนั้น ความเคยชินในการแบงแยกกฎหมายเป
กฎหมายแพงและกฎหมายอาญาที่ฝงรากลึกมาแตครั้งโรงเรียนกฎหมายของกรมหลวงราชบุรีฯ ยัง แสดงออกในทางอื่นๆ อีกมาก 

บรรณานุกรม

หนังสือ   
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชนวาดวย รัฐ รัฐธรรมนูญ และ กฎหมาย.  สำนักพิมพวิญญูชน, 2550. 
โกสินทร์  วงศสุรวัฒน์. ความเขาใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย. วิทยานิพนธสถาบัน วิชาการทหารบกชั้นสูง, 2539. 
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2541) นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน. สำนักพิมพวิญญูชน, กรุงเทพฯ
ชาญชัย แสวงศักดิ์ และวนิดา นวลบุญเรือง.(2545)  หลักกฎหมายมหาชนกับการบริหารงาน ภาครัฐ. สถาบันมาตรฐานสากลแหงประเทศไทย,
ชัยอนันต์  สมุทวานิช. (2530)  รัฐ . จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ
นันทวัฒน์  บรมานนท์. ระบบการออกเสียงประชามติ (Referendum). สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2538.   
บวรศักดิ์ อุวรรณโน.(2538 ) กฎหมายมหาชน เล1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของ กฎหมายมหาชนยุคตาง ๆ. คณะนิติศาสตรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ
 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ.(2538) กฎหมายมหาชน เล่ม 2 การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชนและพัฒนาการ กฎหมายมหาชนในประเทศไทย. : สำนักพิมพ์นิติธรรม , กรุงเทพฯ
บวรศักดิ์ อุวรรณโน. (2538 ). กฎหมายมหาชน เล3 ที่มาและนิติวิธี. คณะนิติศาสตรจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ
ประยูร กาญจนดุล.(2538) คำบรรยายกฎหมายปกครอง. สำนักพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ 
วิษณุ  เครืองาม. (2530) กฎหมายรัฐธรรมนูญ . สำนักพิมพนิติบรรณาการ,กรุงเทพฯ  
สมยศ  เชื้อไทย. (2550).หลักกฎหมายมหาชนเบื้องตน. สำนักพิมพวิญูชน,กรุงเทพฯ    
อมร จันทรสมบูรณ์. (2513) กฎหมายปกครอง. คณะนิติศาสตรโรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตรกรุงเทพฯ 

ประเภทบทความ 
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2528) ความเปนมาและปรัชญาของกฎหมายมหาชน.วารสารกฎหมาย ปกครอง 3(ธันวาคม 2528) : 485-570. 
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ.(2537)  ระบบการควบคุมการใชอํานาจของเจาหนาที่ของรัฐ.วารสารกฎหมาย ปกครอง 13(สิงหาคม 2537) : 13-17. 
ปริญญา  เทวานฤมิตรกุล. (2541)  การมีสวนรวมทางการเมืองของประชาชนในรัฐธรรมนูญฉบับใหมกับความเปนประชาธิปไตยทางตรง.เอกสารประกอบการสัมมนาสิทธิเสรีภาพและการ มีสวนรวมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่, 10 ธันวาคม 2541.  
โภคิน พลกุล. รูปแบบและวิธีควบคุมฝายปกครอง.วารสารนิติศาสตร1(มีนาคม 2524):   38-85. 

วรเจตน์  ภาคีรัตน(2524) เงื่อนไขการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน: มาตรในการควบคุมตรวจสอบความชอบดวยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย.วารสารนิติศาสตร30(มิถุนายน 2543):184-194.    

2 ความคิดเห็น: